โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

KTC ผลงานดี กำไรครึ่งปีแรก 3,755 ล้านบาท เติบโตทุกผลิตภัณฑ์

Amarin TV

เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา
เศรษฐกิจไทยที่ยังเต็มไปด้วยแรงกดดันและความไม่แน่นอน แต่ เคทีซี หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ยังคงรักษาความแข็งแกร่งทั้งในแง่ผลประกอบการ

ท่ามกลางเศรษฐกิจไทยที่ยังเต็มไปด้วยแรงกดดันและความไม่แน่นอน แต่ เคทีซี หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ยังคงรักษาความแข็งแกร่งทั้งในแง่ผลประกอบการ กำไร พอร์ตสินเชื่อ และคุณภาพสินทรัพย์ โดยครึ่งแรกของปี 2568 กลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิ 3,755 ล้านบาท เติบโต 3.5% จากปีก่อนหน้า และในไตรมาส 2/2568 เพียงไตรมาสเดียว ทำกำไรได้ถึง 1,895 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.8% จากการบริหารต้นทุนได้ดีและรายได้รวมที่ยังขยายตัว

ภาพรวมธุรกิจยังเติบโตในทุกมิติ

KTC รายงานว่า พอร์ตสินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2568 อยู่ที่ 107,104 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2% จากปีก่อนหน้า แบ่งเป็น

  • สินเชื่อบัตรเครดิต 69,925 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 1.0%)
  • สินเชื่อบุคคล 35,396 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 4.0%)
  • สินเชื่อรถแลกเงิน “พี่เบิ้ม” มียอดใหม่ 1,048 ล้านบาท
  • สินเชื่อเช่าซื้อ (KTBL) อยู่ที่ 1,782 ล้านบาท (ลดลง 29.4%) หลังยุติการปล่อยสินเชื่อตั้งแต่ ส.ค. 2566

ขณะที่ฐานลูกค้ายังแข็งแรงโตต่อเนื่องด้วยฐานสมาชิก 3,508,827 บัญชี

  • สมาชิกบัตรเครดิตรวม 2.81 ล้านบัตร เพิ่มขึ้น 3.5%
  • สมาชิกสินเชื่อบุคคล 695,200 บัญชี ลดลงเล็กน้อย 5.1%
  • ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรในครึ่งปีแรกอยู่ที่ 146,584 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.4%

ด้านคุณภาพสินทรัพย์ เคทีซียังรักษา NPL ได้ดี:

  • อัตราหนี้ NPL รวมอยู่ที่ 1.83%
  • NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.14%
  • NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 2.32%
  • อัตรา NPL Coverage สูงถึง 419.9%

โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ กระจายตัวมากขึ้น เพิ่มความเชื่อมั่นในระยะยาว

ความเคลื่อนไหวสำคัญในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2568 คือการซื้อขายหุ้นขนาดใหญ่ (Big Lot) ของบริษัท เคทีซี ซึ่งเกิดขึ้นถึงสองรอบ โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน มีการซื้อขายจำนวน 129.2 ล้านหุ้น และอีกครั้งในวันที่ 30 มิถุนายน อีก 243.2 ล้านหุ้น รวมคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 14.46% ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นให้มีการกระจายตัวมากขึ้น โดยมีสัดส่วนการถือครองของนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงได้รับความมั่นใจว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการบริหาร โดยธนาคารกรุงไทยยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เช่นเดิม ขณะเดียวกัน คณะกรรมการบริษัท โครงสร้างผู้บริหาร และนโยบายหลักของ KTC ก็ยังคงดำเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล โปร่งใส และมุ่งสู่การเติบโตระยะยาว

กลยุทธ์การเติบโตอย่างรับผิดชอบ เดินหน้าช่วยเหลือลูกหนี้

ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่ยังคงกดดันผู้บริโภค เคทีซีได้แสดงบทบาทในฐานะผู้ให้บริการสินเชื่อที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ โดยยึดแนวทาง "Responsible Lending" ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เพื่อให้การปล่อยสินเชื่อไม่เป็นภาระเกินสมควรต่อผู้กู้ และไม่ผลักให้ลูกหนี้เข้าสู่วงจรหนี้ซ้ำซ้อน

บริษัทได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การเปลี่ยนประเภทหนี้จากบัตรเครดิตเป็นสินเชื่อบุคคลระยะยาว เพื่อให้มีโครงสร้างการชำระหนี้ที่เหมาะสมขึ้น รวมถึงการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ และปรับลดค่างวดให้สอดคล้องกับรายได้ของลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มเปราะบางที่มีรายได้ลดลงชั่วคราว

นอกจากนี้ เคทีซียังร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยในโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ระยะที่ 2 ซึ่งมุ่งช่วยลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพกลับมาฟื้นตัว และปลดหนี้ได้เมื่อสถานการณ์รายได้ดีขึ้น โดยเปิดให้ลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์สามารถลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2568 ทั้งนี้ เคทีซีประเมินว่า แม้จะมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จำนวนมาก แต่ด้วยการบริหารจัดการที่รอบคอบ และสำรองความเสี่ยงไว้ล่วงหน้า จึงจะไม่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญ

สถานะการเงินแข็งแกร่ง สภาพคล่องสูงพร้อมรองรับทุกความท้าทาย

KTC ยังแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงทางการเงินอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นไตรมาส 2/2568 กลุ่มบริษัทมีเงินกู้ยิมทั้งสิ้น 58,081 ล้านบาท ซึ่งประกอบเงินกู้ยืมระยะยาวสัดส่วน 59% และเงินกู้ยิมระยะสั้นอีก 41% ทั้งนี้ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเหลือ 1.64 เท่า จาก 1.97 เท่าในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับพันธะทางการเงินที่กำหนดเพดานไว้ถึง 10 เท่า

ขณะเดียวกัน KTC ยังมีวงเงินสินเชื่อคงเหลือจากสถาบันการเงินสูงถึง 22,780 ล้านบาท โดยบริษัทประเมินว่าในครึ่งหลังของปี 2568 จะมีภาระหนี้หุ้นกู้และเงินกู้ยืมระยะยาวครบกำหนดชำระรวมราว 10,000 ล้านบาท แต่ด้วยสภาพคล่องในมือที่สูงกว่าหนี้ครบกำหนดถึง 2.2 เท่า ทำให้บริษัทมีความพร้อมอย่างมากในการบริหารภาระทางการเงินและยังสามารถรองรับแผนการเติบโตในระยะถัดไปได้อย่างมั่นใจ

ที่มา: KTC

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Amarin TV

หมดยุคอเมริกามหาอำนาจเดียว สรุป 5 ไฮไลท์เศรษฐกิจโลกในSummer Davos 2025

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไทยเนื้อหอม กองถ่ายหนังต่างชาติ อัดฉีดเศรษฐกิจไทยโตเกือบ 3 พันล้าน

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ระทึก! คนร้ายขับรถกระบะยิงปะทะตำรวจ สภ.บัวลาย ด.ต. ได้รับบาดเจ็บ 1 นาย

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สลด! ผัวรับเมียคนที่3 เข้าบ้านคืนแรก ทะเลาะเดือดก่อนโป้งหัวดับคู่

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความหุ้น การลงทุนอื่น ๆ

เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมงาน “วันประกันชีวิตแห่งชาติ” ครั้งที่ 24คัดสรรผลิตภัณฑ์เด่น-โปรโมชันโดนใจ ตอบโจทย์ทุกความเป็นคุณ เพื่อความสุขที่ยั่งยืน

สยามรัฐ

คาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้าแกว่ง 1,125-1,255 จุด จับตาส่งออกไทย-เจรจาภาษีทรัมป์

The Bangkok Insight

ส่องพอร์ต “สารัชถ์ รัตนาวะดี” ครึ่งแรกปี 68 โละหุ้น ROCTEC พบ ราคาหุ้นดิ่ง 50.48 %

Share2Trade

ธอส.ครึ่งปีแรกปล่อยกู้ทะลุ 1.07 แสนล้าน หนุนคนไทย 9.5หมื่นบัญชีมีบ้าน

Amarin TV

หุ้นกลุ่มแบงก์ยังสดใส? ท่ามกลางความเสี่ยงรอบด้าน

Amarin TV

ธปท.ห่วง Financial Hub หลวมเกิน เสี่ยงฟอกเงิน-ก่อการร้าย กระทบเชื่อมั่นระบบการเงินไทย

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ไทยเสี่ยงวิกฤต'Twin Influx'สินค้าจีน-มะกันทะลัก หากลดภาษีสหรัฐฯเหลือ0%

Amarin TV

ลงทุนอย่างไร ? ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างประเทศ

Amarin TV

28 ปี วิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 สู่ วิกฤตหนี้ครัวเรือนท่วมคนไทย

Amarin TV
ดูเพิ่ม
Loading...