เกณฑ์วัดปริมาณน้ำฝน อันดับ 1 ยังคงอยู่ที่จังหวัดน่าน | ข่าวเย็นประเด็นร้อน
8 ดูข่าวเย็นประเด็นร้อน - เรามักได้ยินหน่วยวัดปริมาณน้ำฝน ว่ามีหน่วยเป็น มิลลิเมตร แต่หลายคนยังไม่รู้ว่า วิธีการวัดปริมาณน้ำเป็นอย่างไร วันนี้มีคำตอบ อุปกรณ์วัดน้ำฝน มีรูปทรงกระบอกขนาดมาตรฐาน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร หรือ 8 นิ้ว บนปากกระบอก จะมีกรวยรองรับน้ำฝนลงสู่กระบอก โดยจะวัดปริมาณฝนในรอบ 24 ชั่วโมง มาดูเกณฑ์มาตรฐานในการวัดปริมาณน้ำฝน แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ ฝนตกเล็กน้อย มีปริมาณ 0.1 - 10 มิลลิเมตร, ฝนตกปานกลาง มีปริมาณ 10.1 - 35 มิลลิเมตร, ฝนตกหนัก มีปริมาณ 35.1 - 90 มิลลิเมตร และฝนตกหนักมาก มีปริมาณ 90.1 มิลลิเมตรขึ้นไป สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้พัฒนาระบบการระบายน้ำมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการขุดลอกคูคลอง, อุโมงค์ยักษ์, ธนาคารน้ำ Water Bank บ่อรับน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้ดิน แต่หากพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีปริมาณน้ำฝนเกิน 60 มิลลิเมตร จะต้องใช้เวลาระบายน้ำประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง น้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว ที่ตลาดสายลมจอย จังหวัดเชียงราย ปริมาณน้ำฝนสะสมเกิน 200 มิลลิเมตร ยิ่งมีฝนตกติดต่อกันหลายวัน ดินบนภูเขาอุ้มน้ำไม่ไหว ไม่สามารถดูดซับน้ำได้ จึงหลากลงมา ประกอบกับฝนตกหนักในประเทศเมียนมา ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสายเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อมูลล่าสุดจาก คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ Thai Water เมื่อเวลา 15.00 น. เผยปริมาณน้ำฝนสะสมในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา สูงสุด 3 พื้นที่ อันดับ 3 ตำบลพญาแก้ว อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ปริมาณฝนสะสม 91.8 มิลลิเมตร อันดับ 2 ตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ปริมาณฝน 103.2 มิลลิเมตร อันดับ 1 ยังคงอยู่ที่จังหวัดน่าน พื้นที่ตำบลยอด อำเภอสองแคว ปริมาณฝนสะสมสูงถึง 105.6 มิลลิเมตร กดติดตามช่อง CH7HD News ได้ที่ : https://cutt.ly/YTch7hdnews ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : https://news.ch7.com #ข่าวเย็นประเด็นร้อน #ข่าวช่อง7 #CH7HDNEWS ติดตาม CH7HD News และ TERO Digital ได้ที่ : https://linktr.ee/ch7hdnews_tero
เล่นอัตโนมัติ