โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

4 ประกาศใหม่คุมเข้มแพลตฟอร์มดิจิทัล สร้าง“ความปลอดภัย-เป็นธรรม”ผู้ใช้งาน

เดลินิวส์

อัพเดต 20 กรกฎาคม 2568 เวลา 19.17 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
ปัจจุบันคนไทยทำธุรกรรมผ่านออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ การชำระเงิน ส่งผลให้ปัญหาเรื่องในการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัล…

ปัจจุบันคนไทยทำธุรกรรมผ่านออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ การชำระเงิน ส่งผลให้ปัญหาเรื่องในการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลเกิดขึ้นตามมา

ไม่ว่าจะเป็น โฆษณาลวง ผิดกฎหมาย ของไม่ตรงปก โอนแล้วไม่ได้ของ หลอกลงทุน การใช้ภาพคนดังแอบอ้าง ไปจนถึงขายสินค้าปลอม หรือสร้างเพจปลอมเพื่อชักจูงเหยื่อ ฯลฯ ซึ่งจากข้อมูลสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า ระบุว่า ได้สร้างความเสียหายพุ่งทะลุกว่า 19,000 ล้านบาท ภายในเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น

ล่าสุดทาง เอ็ตด้า ได้จัดทำ ประกาศใหม่ ซึ่งเป็น 4 กฎหมายลูก ภายใต้พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือที่รู้จักกันในชื่อ "กฎหมาย DPS" ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

“ชัยชนะ มิตรพันธ์” ผู้อำนวยการ เอ็ตด้า บอกว่า ความสำคัญของประกาศฉบับใหม่เหล่านี้ ครอบคลุมทั้งบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลประเภทตลาดสินค้าออนไลน์ (Online Marketplace) และประเภทบริการรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์รับจ้างโดยสารสาธารณะ (Ride Sharing) ซึ่งเป็นบริการที่คนไทยนิยมใช้งานในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการยกระดับกลไกการกำกับดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลให้มีความโปร่งใส ปลอดภัย และเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น และสร้างมาตรการในการดูแลและเยียวยาผู้ใช้บริการ

สำหรับประกาศประกอบด้วย 1. ประกาศสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ ธพด. 4/2568 เรื่องกำหนดรายชื่อบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลประเภทตลาดสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 20 ของกฎหมาย DPS มีผลบังคับใช้ 9 ก.ค. 68 เป็นต้นไป ซึ่งมีกำหนดรายชื่อแพลตฟอร์มตลาดสินค้าออนไลน์ที่เข้าข่ายมีความเสี่ยงสูง และอาจส่งผลกระทบในวงกว้างต่อความมั่นคงทางการเงินและพาณิชย์ หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณชนในระดับสูง

ซึ่งรายชื่อที่ประกาศออกมานี้ล้วนเป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมที่คนไทยใช้งานเป็นประจำ อาทิ Shopee, Lazada, One2car.com, Grab, Kaidee.com, LINE SHOPPING, Alibaba, NocNoc, AliExpress, Thisshop, Rakmao, Taobao, SCGHome, Auction, TEMU และ eBay เป็นต้น

เนื่องจากมีมูลค่าธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มจากการให้บริการเกิน 100 ล้านบาทต่อปี หรือมีจำนวนผู้ประกอบการ/ผู้ใช้บริการในไทยจำนวนมาก ซึ่งอาจเกิดการกระทำที่ไม่เหมาะสมหากไม่มีการควบคุมดูแล ซึ่งทั้ง 19 แพลตฟอร์มนี้ จะมีหน้าที่เพิ่มเติมตามมาตรา 20 ได้แก่ การประเมินและบริหารความเสี่ยง, การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ขายก่อนอนุญาตให้มีการขายหรือโฆษณาสินค้าให้ได้มาตรฐาน, การตรวจสอบหลักฐานที่เกี่ยวข้องและแสดงข้อมูลบนหน้าร้านค้า, การจัดให้มีกลไกแจ้งเตือนและนำออกสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงการกำหนดบทลงโทษต่อผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนข้อกำหนด นอกจากนี้ เอ็ตด้าจะมีการ "ทบทวนรายชื่อ" แพลตฟอร์มเหล่านี้เป็นประจำทุกปีรายชื่ออาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต

ส่วน ประกาศฉบับที่ 2 คือ ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การดำเนินการอื่นสำหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลประเภทตลาดสินค้า ที่มีลักษณะเฉพาะตามมาตรา 18 (2) มีผลบังคับใช้ 31 ธ.ค. 68

ประกาศฉบับนี้ลงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน้าที่ที่แพลตฟอร์มตลาดสินค้าออนไลน์ซึ่งมีความเสี่ยงสูงตามมาตรา 18 (2) จะต้องปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างความโปร่งใสและตรวจสอบย้อนกลับได้มากขึ้น เช่น การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มอย่างครบถ้วนและชัดเจน, การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ, การตรวจสอบการขายหรือการโฆษณาสินค้าที่ต้องมีมาตรฐาน, การแจ้งเตือนผู้ประกอบการที่ขายสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน และลบ ระงับ หรือปิดกั้นสินค้าเหล่านั้น เป็นต้น

นอกจากนี้ยังกำหนดให้ แสดงข้อมูลสินค้าอย่างละเอียด พร้อมทั้งใบการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น สมอ. อย.) และรายงานผลการดำเนินการต่อหน่วยงานรัฐ ที่สำคัญคือต้อง จัดให้มีการแจ้งเตือนและนำออก (Notice and Take down) ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการตรวจสอบข้อมูลและแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใน 3 วัน และมีมาตรการดูแลเยียวยาผู้เสียหายและบทลงโทษในกรณีที่แพลตฟอร์มฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข

มาต่อที่ ประกาศฉบับที่ 3 ที่เกี่ยวข้องกับแอป เรียกรถ คือ ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การดำเนินการอื่นสำหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ประเภทบริการรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์รับจ้างโดยสารสาธารณะ ที่มีลักษณะเฉพาะตามมาตรา 18 (3) ของกฎหมาย DPSมีผลบังคับใช้ 2 ต..68

ประกาศฉบับนี้ได้กำหนดหน้าที่เพิ่มเติมที่ต้องปฏิบัตินอกเหนือจากหน้าที่ทั่วไปตามกฎหมาย เพื่อยกระดับความปลอดภัยและคุณภาพการบริการให้แก่ผู้โดยสาร โดยมีประเด็นสำคัญ เช่น แพลตฟอร์มต้องจัดให้ผู้ขับรถบริการด้วยรถที่จดทะเบียนเป็นรถสาธารณะ และต้องมีใบอนุญาตขับรถสาธารณะ ตามเงื่อนไขของกรมการขนส่งทางบกอย่างเคร่งครัด การจัดเก็บค่าบริการต้องเป็นไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนด, แพลตฟอร์มจะต้องมีระบบ การตรวจสอบผู้ขับ, จัดเก็บข้อมูล, และพิสูจน์ยืนยันตัวตนผู้ขับรถบริการ (เช่น ชื่อ-นามสกุล, เลขประจำตัว, หมายเลขใบอนุญาตขับรถสาธารณะ, เลขทะเบียนรถ

นอกจากนี้ แพลตฟอร์มต้องมีการยืนยันตัวตนคนขับทุกครั้งที่ใช้งาน เมื่อให้บริการต้องแสดงข้อมูล เช่น ชื่อคนขับ, เลขใบอนุญาตขับรถสาธารณะ, ข้อมูลรถ, ตำแหน่ง GPS ของรถที่ให้บริการ เมื่อผู้ใช้เรียกรถ แพลตฟอร์มต้องแสดงข้อมูล ตำแหน่งสถานที่รับส่ง, ระยะทาง, เส้นทาง, ระยะเวลาเดินทาง และอัตราค่าโดยสาร อย่างชัดเจน ผู้ขับต้องสามารถเลือกรับงาน ยกเลิกงาน และต้องมี ช่องทางในการขอความช่วยเหลือหรือแจ้งเหตุฉุกเฉินไปยังแพลตฟอร์มได้ทันที

รวมถึงช่องทางให้ความช่วยเหลือและระงับข้อพิพาทการให้บริการ และต้องมีมาตรการกำกับดูแลผู้ขับให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้รถสาธารณะ เช่น ให้บริการในพื้นที่กำหนด ไม่นำบัญชีผู้ใช้บริการไปให้ผู้อื่น และต้องมีการตรวจสอบ ติดตามผู้ขับที่กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย พร้อมมีมาตรการลงโทษที่ และป้องกันไม่ให้กระทำผิดซ้ำ ฯลฯ

ส่วนประกาศฉบับที่ 4 คือ ประกาศสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ ธพด. 2/2568 เรื่องกำหนดบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลประเภทบริการรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์รับจ้างโดยสารสาธารณะที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 21 ของ กฎหมาย DPS มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค. 68

ประกาศฉบับนี้ระบุให้แพลตฟอร์ม Ride Sharing ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ, สุขภาพอนามัย, สิ่งแวดล้อม, พลังงาน, การสื่อสารและโทรคมนาคม, การขนส่งและโลจิสติกส์, และสาธารณูปโภคต้องปฏิบัติตามหน้าที่เพิ่มเติมตามมาตรา 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประเมินความเสี่ยงและมีมาตรการบริหารความเสี่ยงดังกล่าว เป็นต้น

การประกาศใช้กฎหมายทั้ง 4 ฉบับนี้ เป็นการกำกับดูแล เพื่อให้ธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนและมีธรรมาภิบาล และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย

จิราวัฒน์ จารุพันธ์

ภาพ pixabay.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

เกรท วรินทร ยันสถานะ อแมนด้า แค่พี่น้อง ลั่นกองเชียร์ลุ้นไปต่อแต่ไม่ได้ไปต่อ!

30 นาทีที่แล้ว

จีนสร้างสรรค์ “เทคโนโลยีสีเขียว-คาร์บอนต่ำ” สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน

30 นาทีที่แล้ว

‘นันทิวัฒน์’ เตือนอย่าใช้อารมณ์ตอบโต้ ชี้เขมรละเมิดอนุสัญญาออตตาวา

35 นาทีที่แล้ว

‘ปลัด มท. สั่งการทุกจังหวัดRe X-ray กวาดล้างยาเสพติด

48 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอทีอื่น ๆ

ทุ่นสำหรับ “นักดำน้ำ” รู้ได้อยู่ที่ไหน แถมส่งข้อความหากันได้

TNN ช่อง16

เกิดขึ้นแล้ว หุ่นยนต์ผ่าตัดถุงน้ำดี อัตราสำเร็จ 100%

TNN ช่อง16

แมวดำฟลอริดา ค้นพบ “ไวรัส” ใหม่ 2 ชนิด แพร่สู่มนุษย์ได้ !?

TNN ช่อง16

เปิดตัว Redmi Pad 2 4G ชูโรงจอ 2.5K 90Hz ใส่ซิม 4G ได้ เคาะราคาเริ่มต้นสุดเร้าใจ 5,499 บาท

sanook.com

เตรียมว่างงาน ตำแหน่งงานระดับ Entry Level ในอังกฤษ ลดลงอย่างมีนัย หลังการมาของ ChatGPT

Thaiware

เช็กก่อนแชร์ภาพ AI วิธีตรวจสอบทำอย่างไร? ในยุคที่โซเชียลมีเดียเต็มไปด้วยการใช้ AI

TNN ช่อง16

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...