โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

นักวิจัยเผยพิธีกรรมสุดสยองจากหลุมศพชาวอียิปต์โบราณ

เดลินิวส์

อัพเดต 20 กรกฎาคม 2568 เวลา 3.23 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
การศึกษาหลุมศพหลายร้อยแห่งของทีมวิจัยได้เผยหลักฐานที่น่าสยดสยองเกี่ยวกับกรรมวิธีจัดการศพของชาวอียิปต์โบราณ

การศึกษาหลุมศพกว่า 500 แห่งในหุบเขาไนล์ของอียิปต์ได้เผยหลักฐานอันน่าตกตะลึงว่าชาวอียิปต์โบราณทำอะไรกับร่างของผู้เสียชีวิต นอกจากนี้ยังช่วยอธิบายได้ว่า ความเชื่อทางศาสนาของอียิปต์โบราณก่อกำเนิดขึ้นได้อย่างไร

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยตูลูส ภายใต้การนำของ อาเมลีน อัลคูฟฟ์ ได้ทำการขุดค้นและวิเคราะห์หลุมศพเหล่านี้ ซึ่งมีอายุย้อนไปก่อนการสร้างพีระมิดโบราณนานหลายศตวรรษ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมว่า พิธีกรรมและธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับความตายของชาวอียิปต์โบราณได้วิวัฒนาการมาเป็นแนวคิดทางศาสนาที่หล่อหลอมความเชื่อของอียิปต์โบราณได้อย่างไร ในยุคที่ฟาโรห์ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเพียงผู้ปกครองเท่านั้น แต่ยังมีสถานะเป็นเทพจำแลงอันศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย

นักวิจัยได้พบการฝังศพที่ผิดปกติอย่างยิ่งในหลุมศพหมายเลข S166 ซึ่งเป็นซากโครงกระดูกของเด็กสาววัยรุ่นที่แขนซ้ายถูกตัดออกตามพิธีกรรมและจัดวางอย่างระมัดระวังบนหน้าอกของเธอ ร่างของเด็กสาวถูกจัดวางให้หันหน้าไปทางพระอาทิตย์ตกในวันเหมายัน ขณะที่โลงศพของเธอถูกจัดวางให้ตรงกับแนวการขึ้นของดาวซิริอุสซึ่งเป็นดาวที่สว่างที่สุดในท้องฟ้า มีเกี่ยวข้องกับการท่วมของแม่น้ำไนล์ประจำปี

จากรายงานที่เผยแพร่ใน Archaeology News เมื่อต้นเดือนก.ค. นี้เอง นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าพิธีกรรมนี้ไม่ได้เป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น แต่ยังเป็นการเชื่อมโยงในยุคแรกเริ่มระหว่างวัฏจักรเกษตรกรรม เหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ และความเชื่อเกี่ยวกับความตายที่กำลังก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้น

ส่วนในหลุมศพหมายเลข S837 นักวิจัยพบว่า ศพของหญิงในหลุมนี้ถูกฝังพร้อมเครื่องประดับชั้นดีและภาชนะเซรามิกที่แตกหัก ซึ่งเป็นวัตถุที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่ปรากฏใน "ตำราพีระมิด" (Pyramid Texts) ซึ่งเป็นตำราการทำศพของอียิปต์โบราณที่เก่าแก่ที่สุด

ขณะเดียวกัน ใน หลุมศพหมายเลข S874 ซึ่งเป็นที่ฝังร่างของผู้หญิงคนหนึ่งพร้อมไม้เท้าและวิกผมที่ทำจากเส้นใยที่ทำจากพืช ร่างนี้ถูกจัดวางให้กับแนวดวงอาทิตย์ของวันครีษมายัน แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนว่าเริ่มมีการเน้นย้ำความเกี่ยวข้องกับตำแหน่งดวงดาว

นักวิจัยสรุปว่า ลักษณะของหลุมศพเหล่านี้เป็นจุดเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์และนำไปสู่แนวคิดใหม่ๆ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าพิธีกรรมบางอย่าง เช่น รูปแบบการตัดชิ้นส่วนของร่างกายออกในเชิงสัญลักษณ์ ได้กลายมาเป็นตำนานในภายหลัง เช่น ตำนานของเทพไอซิสและโอซิริส ซึ่งเป็นเทพที่สำคัญที่สุดในเทพนิยายอียิปต์โบราณ

ชาวอียิปต์โบราณนับถือโอซิริสว่าเป็นเทพแห่งความตาย พืชผล และความอุดมสมบูรณ์ ในขณะที่ไอซิสซึ่งเป็นทั้งน้องสาวและภรรยาของเขา ก็เป็นเทพีแห่งมารดาที่มีพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ ตามตำนานเล่าว่า โอซิริสถูกน้องชายล่อลวงไปสังหารและสับร่างเป็นชิ้นๆ เพื่อแย่งบัลลังก์ แต่ไอซิสเป็นผู้ตามเก็บกู้ซากร่างทั้งหมดของโอซิริสไว้ได้

อีกตัวอย่างหนึ่งคือดาวซิริอุส ซึ่งเดิมเคยเป็นดังสัญญาณเตือนให้ชาวนาเริ่มเพาะปลูก แต่ต่อมาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อมโยงกับการเกิดใหม่ ความอุดมสมบูรณ์ และสิทธิ์ในการปกครอง เมื่อฟาโรห์ก่อตั้งอาณาจักรขึ้น พวกเขาได้นำแนวปฏิบัติที่สืบทอดกันมายาวนานเหล่านี้มาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับเรื่องราวของราชวงศ์ เพื่อสร้างความเชื่อทางศาสนาตามที่ทราบกันในปัจจุบัน

ที่มา : ladbible.com

เครดิตภาพ : A. Alcouffe et al., J. Archaeol. Method Theory

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

‘พระธรรมวชิรธีรคุณ’ สึกแล้ว ยอมรับตกเป็นข่าวเสื่อมเสียต่อคณะสงฆ์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“อโมริม” ชมเปาะ “กุนญา” แสดงให้เห็นสิ่งที่ผีแดงต้องการ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

รวบ ‘สาวสอง’ กรรมการ 3 บริษัท ตุ๋นแรงงานไปแคนาดา เหยื่อเครียดสูญเงินจบชีวิต 2 ศพ!

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“แรชฟอร์ด” ฝันเป็นจริง “ผีแดง” ตกลงปล่อยซบ “บาร์ซา” เรียบร้อย

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความต่างประเทศอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

พระราชินี ทอดพระเนตรการแข่งขันฮอกกี้ คู่ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย และพระราชทานถ้วยรางวัล 4 รุ่น

เดลินิวส์

‘เพื่อไทย’ ขนแกนนำพรรคขึ้นเวทีปราศรัยใหญ่ 20 ก.ค.นี้ หาเสียงเลือกตั้งซ่อมศรีสะเกษ เขต 5

เดลินิวส์

สำนึกผิด! 2 มือปืนยิงอริดับคาสนามบอลมอบตัว อ้างชั่ววูบ ฉุนถูกเบิ้ลรถใส่ทุกวัน

เดลินิวส์
ดูเพิ่ม
Loading...