โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

จี้รัฐเร่งแก้ปัญหา ‘ผู้ลี้ภัย’ ในค่าย ก่อนจะอดตาย-พังค่ายหนีออกมาทำงานผิดกฎหมาย

เดลินิวส์

อัพเดต 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
สุรพงษ์ กองจันทึก อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ จี้รัฐบาลเร่งมีมาตรการจัดหาอาหารให้ผู้ลี้ภัยหรือให้ผู้ลี้ภัยได้ทำงาน หลังองค์กรระหว่างประเทศยุติการช่วยเหลือ

จากกรณีที่ องค์กร The Border Consortium (TBC) และ International Rescue Committee (IRC) 2 องค์กรสาธารณกุศลระหว่างประเทศ กำลังจะยุติการให้ความช่วยเหลือด้านงบประมาณในค่ายผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ(ศูนย์พักพิงชั่วคราว) 9 แห่งบริเวณชายแดนไทย-พม่า ในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ ว่าส่งผลกระทบกับคนในค่ายทั้งด้านอาหารและด้านรักษาพยาบาล

นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก กล่าวว่า ที่น่าหนักใจน่าจะเรื่องอาหาร ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ เพราะไม่กินก็ไม่ได้ ต้องช่วยผลักดันให้พวกเขาได้มีงานทำและมีรายได้ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เรื่องนี้เป็นเรื่องชีวิตของชาวบ้านในค่ายที่ต้องจัดการอย่างรวดเร็ว ปกติคนในค่าย ก็มีโภชนาการที่ไม่ได้ดีอยู่แล้ว หญิงตั้งครรภ์ ได้รับเงินค่าอาหารเพียงเดือนละ 80 บาท หรือตกวันละ 2 บาทกว่าซึ่งน้อยมากอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อถูกตัดค่าอาหารอีก ไม่รู้ว่าพวกเขาจะดำรงชีวิตได้อย่างไร

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า มนุษย์จำเป็นต้องได้รับอาหารเพื่อดำรงชีพ ดังนั้นหากไม่มีการสนับสนุนให้อาหารแก่ผู้ลี้ภัย ก็ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ลี้ภัยได้ทำงานเพื่อแสวงหาอาหารมาเลี้ยงชีพและครอบครัว การไม่ให้ผู้ลี้ภัยมีอาหารกินก็ไม่ต่างจากการฆาตกรรมผู้ลี้ภัยโดยเจตนา และผู้ลี้ภัยเองคงไม่ยอมอดตาย อาจมีการหลบหนีหรือพังค่ายผู้ลี้ภัย เพื่ออกมาทำงานและหาอาหารจากภายนอก ซึ่งจะเป็นปัญหาของสังคมเพิ่มขึ้น

ดังนั้นรัฐบาลต้องนำคนเหล่านี้เข้าสู่ระบบการทำงานอย่างถูกต้อง ซึ่งผู้ลี้ภัยซึ่งอยู่มากว่า 40 ปี มีจำนวนกว่า 80,000 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กและคนชรา ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานน่าจะราวเพียง 30,000 คน ซึ่งคิดเป็นจำนวนไม่ถึง 1% ของแรงงานข้ามชาติ

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีนโยบายและการปฏิบัติให้ผู้ลี้ภัยซึ่งไม่สามารถกลับประเทศต้นทางได้ สามารถมีสิทธิอาศัยอยู่ชั่วคราวและทำงานในประเทศไทยได้ โดยไม่ให้ทำงานที่สงวนสำหรับผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเป็นผู้ลี้ภัยจากเมียนมา ลาว กัมพูชา มาเลเซีย เวียดนาม รวมถึงผู้ลี้ภัยจากจีนและเนปาล ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ อาทิ ไทยลื้อ ม้งถ้ำกระบอก มอแกน ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า ลาวอพยพ ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา อดีตโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา เวียดนามอพยพ จีนฮ่ออพยพพลเรือน เนปาลอพยพ นอกจากนี้ผู้ลี้ภัยโดยเฉพาะที่มาจากเมียนมาที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงหรือชาวเขา รัฐบาลจัดเป็นกลุ่มบุคคลบนพื้นที่สูงและกลุ่มชุมชนบนพื้นที่สูง

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็น กลุ่มชาติพันธุ์หรือชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงและคาเรนนี ซึ่งคนเหล่านี้ที่อาศัยอยู่ภายนอกค่ายผู้ลี้ภัย ได้รับการสำรวจและจัดทำประวัติเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ สามารถทำงานได้แล้วทั้งสิ้น และรัฐบาลได้มีนโยบายให้สิทธิอาศัยถาวรกับคนกลุ่มเหล่านี้มานานแล้ว ยังเหลือแต่ผู้ที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยที่ยังไม่มีนโยบายจัดทำประวัติอย่างชัดเจน

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่องค์กรระหว่างประเทศยุติการช่วยเหลือและรัฐบาลเองก็ไม่มีงบประมาณในการสนับสนุนจัดสรรอาหารให้ผู้ลี้ภัย จึงควรแก้ไขปัญหาดังเช่นเคยแก้ไขในผู้ลี้ภัยกลุ่มต่างๆ โดยจัดทำกลุ่มเฉพาะเพื่อควบคุมคนเหล่านี้ โดยอาจใช้ชื่อ “กลุ่มผู้พลัดถิ่นจากเมียนมา” อาศัยอำนาจตามมาตรา 17 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ให้คนเหล่านี้สามารถอาศัยอยู่ได้ชั่วคราว ตามเงื่อนไขที่กำหนด และสามารถทำงานเลี้ยงชีพได้ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยที่สั่งสมมาเนิ่นนานกว่า 40 ปีได้

ด้านนายถิรพัฒน์ เจตินัย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดการระบบแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การทำงานของคนเหล่านี้สามารถทำได้ตามกฎหมาย ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามนโยบายของฝ่ายความมั่นคง ซึ่งกระทรวงแรงงานพร้อมที่จะทำตามนโยบายที่กำหนดลงมา.

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

6 สัญญาณเตือน ป้องกันก่อนเกิดอัมพาต

54 นาทีที่แล้ว

“การ์นาโช” เนื้อหอมไม่เบา 3 ทีมผู้ดีรุมจีบร่วมทัพ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สมาคมผู้สื่อข่าวส่งเสริมเอสเอ็มอีฯ ชวนฟังเสวนา ‘ฝ่าวิกฤติสงครามการค้าเพื่อเอสเอ็มอีเติบโตยั่งยืน’

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

อุตุฯ เตือนทั่วไทยอ่วมฝน หนักสุด ‘เหนือ’ กทม.ไม่เบาฉ่ำถึงร้อยละ 70

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

คาดบ่าย 2 วันนี้ มวลน้ำปิงไหลเข้าสู่ สะพานนวรัฐ จ.เชียงใหม่

Thai PBS

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 17 ก.ค. 68

AEC10NEWs

อุตุฯ เตือนฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ-กลาง-ตะวันออก

สำนักข่าวไทย Online

เปิดรายชื่อ 27 จังหวัด เสี่ยงฝนถล่มหนัก! "กทม.ปริมณฑล" อ่วม 70 %

The Better

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ1 เตือน ฝนตกหนักถึงหนักมาก ให้ 16 จังหวัดระวัง

Khaosod

LIVE FM91 ข่าวเช้าจราจร : 17 กรกฎาคม 2568

สวพ.FM91

เช่าเงินโชว์นายทุน กลับยักยอก 5 ล้าน! สาวร้องถูกหลอก กลางโรงพักศรีราชา

เดลินิวส์

วันนี้ห้ามลืมร่ม! ฝนถล่ม 40-70%ของพื้นที่คลื่นสูงกว่า 2 เมตร

ไทยโพสต์

ข่าวและบทความยอดนิยม

มนุษย์ป้าปล่อยหมาถ่ายเกลื่อนเหม็นคลุ้งหมู่บ้าน ตร.เตือนไม่สน-วอนหน่วยงานจัดการด่วน

เดลินิวส์

“สีกากอล์ฟ”รับ “จ้ำจี้”กับอดีตเจ้าคณะจังหวัดบนรถ อ้างแลกศักดิ์ศรีเพื่อเลี้ยงลูก

เดลินิวส์

รองผู้ว่าฯ สงขลาเยี่ยมชายวัย 65 ถูกหัวคะแนน สส.”ชนนพัฒฐ์” ทำร้ายสาหัส สั่งเร่งล่าคนร้าย

เดลินิวส์
ดูเพิ่ม
Loading...