โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

หนี้ครัวเรือนไทย.!?

ข่าวหุ้นธุรกิจ

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา “หนี้ครัวเรือน” ได้กลายเป็นหนึ่งในโจทย์ใหญ่ของเศรษฐกิจไทย ด้วยตัวเลขสัดส่วนหนี้ต่อ GDP ที่พุ่งสูงถึง 94.6% ในช่วงโควิด-19 และแม้จะลดลงเหลือ 87.4% ในไตรมาส 1 ของปีนี้ แต่สถานการณ์ก็ยังอยู่ในระดับ “เปราะบาง” และ “น่ากังวล”

โดยหนี้ครัวเรือนที่ปรับลดลงนั้น มาจากฐาน GDP ในไตรมาส 1/2568 ที่กลับมาขยายตัวได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ไม่ได้เกิดจากมูลหนี้ที่ลดลง โดยปัจจุบันหนี้ครัวเรือนรวมอยู่ที่ 16.4 ล้านล้านบาท

เบื้องหลังตัวเลขเหล่านี้ ซ่อนปัญหาซับซ้อนหลายชั้น ทั้งหนี้ที่เริ่มตั้งแต่วัยเริ่มทำงาน หนี้ที่เกิดจากเหตุฉุกเฉิน การเป็นหนี้นอกระบบ หนี้เรื้อรัง และหนี้เสียที่ยังคงรอการเยียวยา คำถามคือจะ “ปลดล็อก” วงจรนี้อย่างไร?

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนในไทยไม่ใช่เพียงตัวเลข แต่คือ “พฤติกรรม” และ “โครงสร้าง” ที่ฝังรากลึก เริ่มตั้งแต่คนไทยจำนวนมากเริ่มเป็นหนี้เร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเริ่มทำงาน (25-29 ปี) ที่กว่าครึ่งมีหนี้แล้ว และมักเริ่มจาก “บัตรเครดิต”

จากนั้นความเสี่ยงจะขยายตัวเมื่อเป็นหนี้เกินตัว ขาดข้อมูล หรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เช่น เจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือภัยธรรมชาติ เมื่อเข้าสู่วงจรนี้ หลายคนติดกับดักหนี้เรื้อรังโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะหนี้ที่ต้องจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย เช่น บัตรกดเงินสด ที่ต้นไม่ลดแต่ดอกเบี้ยไม่หยุด

ที่น่าห่วงยิ่งกว่าคือ “หนี้นอกระบบ”ซึ่งไม่ได้อยู่ในการคำนวณทางการเงินอย่างเป็นทางการ แต่กลับเป็นหนึ่งในตัวการที่สร้างความกดดันให้กับเศรษฐกิจไทย กลายเป็นโจทย์หินของรัฐบาลและ ธปท. ในการดึงหนี้นอกระบบกลับเข้าสู่ในระบบ และการหาแนวทางแก้หนี้อย่างยั่งยืน

หนึ่งในมาตรการแก้หนี้ที่ ธปท. พยายามผลักดันนั่นคือ โครงการ “คุณสู้เราช่วย”ซึ่งเป็นมาตรการเฉพาะกิจ ที่มุ่งเน้นช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางที่มีโอกาสรอด เป็นการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเจ้าหนี้ โดยเจ้าหนี้จะร่วมรับผิดชอบครึ่งหนึ่งของดอกเบี้ยหรือยอดหนี้ที่ลดลง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งมาจากเงินนำส่งที่เจ้าหนี้ปกติส่งให้กับรัฐ ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือ

โครงการ “คุณสู้เราช่วย” เปิดเฟสแรกไปช่วงเดือนธันวาคม 2567 ถึงมิถุนายน 2568 และขยายเป็นเฟส 2 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2568 นี้ โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) จ่ายตรง คงทรัพย์ : เน้นช่วยเหลือลูกหนี้ให้สามารถจ่ายชำระหนี้ตรงเวลาเพื่อรักษาทรัพย์สินไว้ เหมาะกับลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือธุรกิจขนาดเล็ก (SME)

หากเป็นสินเชื่อบ้าน วงเงินกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท, สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์/จำนำทะเบียนรถยนต์ วงเงินไม่เกิน 8 แสนบาท, สินเชื่อเช่าซื้อ/จำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนสินเชื่อ SME และสินเชื่อส่วนบุคคล (มีหรือไม่มีหลักประกัน) วงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท ต้องเป็นหนี้ที่ทำก่อน 1 มกราคม 2567 มีสถานะหนี้ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ไม่ค้างชำระเลย (หนี้ดี) หรือหากค้างชำระไม่เกิน 30 วันนับจากวันครบกำหนดชำระ

มาตรการนี้ไม่ได้ช่วยคนที่เป็นหนี้เสีย (NPL) โดยตรง แต่ช่วยคนที่มีประวัติตำหนิหรือเคยมีปัญหาการชำระหนี้ โดยกำหนดชำระหนี้ภายใน 3 ปี แบ่งเป็นปีที่ 1 ชำระ 50% ของค่างวดเดิม เช่น หนี้บ้านค่างวดเดิม 15,000 บาท จะลดเหลือ 7,500 บาทต่อเดือน ถัดมาปีที่ 2 ชำระ 70% ของค่างวดเดิมและปีที่ 3 ชำระ 90% ของค่างวดเดิม โดยเงินที่จ่ายเข้ามาใน 3 ปีนี้จะถูกนำไปตัดเงินต้นทั้งหมด ดอกเบี้ยจะถูกพักไว้ หากจ่ายได้ครบ 3 ปี ดอกเบี้ยที่พักไว้จะถูกยกเลิกทั้งหมด โดยมีเงื่อนไขในช่วง 12 เดือนแรก ต้องไม่ก่อหนี้อุปโภคบริโภคใหม่

2) จ่าย ปิด จบ : เน้นช่วยเหลือผู้ที่มีหนี้ค้างชำระจำนวนไม่มาก ให้สามารถปิดบัญชีได้ง่ายขึ้น เหมาะกับคนที่เป็นหนี้ NPL (ค้างชำระเกิน 90 วัน) ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 แบ่งเป็นกลุ่มแรก มียอดหนี้ไม่เกิน 5,000 บาท (สำหรับสินเชื่อทุกประเภท) กลุ่มที่สอง ยอดหนี้ไม่เกิน 10,000 บาท สำหรับสินเชื่อไม่มีหลักประกัน เช่น บัตรเครดิต, สินเชื่อส่วนบุคคล และกลุ่มที่สาม ยอดหนี้ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับสินเชื่อมีหลักประกันที่ถูกบังคับหลักประกันแล้ว เช่น บ้าน, รถ การชำระหนี้ ลูกหนี้เจรจากับเจ้าหนี้เพื่อชำระเพียงบางส่วนของยอดหนี้เพื่อปิดบัญชี โดยมาตรการนี้ไม่มีเงื่อนไขห้ามก่อหนี้ใหม่ หรือการรายงานประวัติในเครดิตบูโร

3) จ่าย ตัด ต้นเป็นมาตรการใหม่ในเฟส 2 เพื่อช่วยเหลือกลุ่มที่กู้แบบไม่มีหลักประกัน แต่ยอดหนี้สูงกว่าที่จะเข้ามาตรการ “จ่าย ปิด จบ” ซึ่งเหมาะกับลูกหนี้ NPL ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดย ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ยอดหนี้ต้องไม่เกิน 50,000 บาทต่อบัญชี เป็นสินเชื่อไม่มีหลักประกัน เช่น บัตรเครดิต, สินเชื่อส่วนบุคคล

วิธีชำระจะผ่อนต่อเดือนที่ 2% ของยอดเงินต้นคงค้างเป็นเวลา 3 ปี โดยเงินทุกบาทที่จ่ายจะตัดเงินต้นทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยที่พักไว้จะถูกยกเลิกทั้งหมดหากจ่ายได้ครบ 3 ปี ทำให้ภาระหนี้ลดลงและสามารถปิดบัญชีได้ โดยมีเงื่อนไขต้องไม่ก่อหนี้ใหม่ เหมือนมาตรการนี้ "จ่ายตรง คงทรัพย์" และมีการรายงานสถานะในเครดิตบูโร (สถานะบัญชีจะเปลี่ยนเป็น 10 หากจ่ายงวดแรกสำเร็จ) ถือเป็นโครงการที่ดี แต่ไม่รู้ว่าอ่อนประชาสัมพันธ์หรือไม่ เลยทำให้ยอดการลงทะเบียนยังไม่เข้าเป้า

โดยพบว่าตั้งแต่ 12 ธันวาคม 2567-15 กรกฎาคม 2568 มีลูกหนี้ลงทะเบียนทั้งหมดประมาณ 2 ล้านบัญชี คิดเป็น 1.5 ล้านคน จากจำนวนผู้มีคุณสมบัติที่คาดการณ์ไว้ 1.9 ล้านคน หรือ 8.9 แสนล้านบาท โดยมีผู้ที่เข้าเกณฑ์จริง 650,000 ราย คิดเป็น 34% ของผู้มีคุณสมบัติ และเป็นมูลหนี้ 4.8 แสนล้านบาท คิดเป็น 54% ของมูลหนี้ทั้งหมดในจำนวนผู้ที่เข้าเกณฑ์ 650,000 คน ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือครบทุกคน เนื่องจากยังมีขั้นตอนการทำสัญญา

ขณะที่ภาพรวมการช่วยเหลือลูกหนี้ของ ธปท. รวมทุกมาตรการ ยอดสะสมตั้งแต่ 1 มกราคม 2568–31 มีนาคม2568 มีการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ประมาณ 1.5 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดภาระหนี้ 880,000 ล้านบาท สะท้อนว่ายังมีคนไทยที่เป็นหนี้อีกมากที่รอการช่วยเหลือจากภาครัฐ ในขณะที่การก่อหนี้ ไม่ใช่เรื่องผิด หากหนี้ก้อนนั้นเป็นหนี้ที่ดี เช่น หนี้บ้าน เพียงแค่ต้องบริหารจัดการอย่างมีความรับผิดชอบและรู้เท่าทันเท่านั้น

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ข่าวหุ้นธุรกิจ

TTB ยอดสะสมซื้อหุ้นคืน 2.29 พันล้านหุ้น มูลค่า 4.34 พันลบ. ก่อนครบกำหนด 1 ส.ค.นี้

20 นาทีที่แล้ว

KKPS จับตา “วิทัย” ผู้ว่า.ธปท. สายภาครัฐ หั่นดอกเบี้ย 1% ช่วง 12 เดือนข้างหน้า

22 นาทีที่แล้ว

“บลจ.-ต่างชาติ” กวาดซื้อตราสารหนี้ไทย 1.8 หมื่นล้าน “ประกัน” เทขาย 142 ลบ.

54 นาทีที่แล้ว

“คลัง” จ่อชงแผนใหม่ 4.2 หมื่นล้าน กระตุ้นเศรษฐกิจ-บรรเทาภาษีสหรัฐ พรุ่งนี้

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความหุ้น การลงทุนอื่น ๆ

ไพบูลย์ -ธนพิศาล รับเลือกบอร์ดตลท. โควต้าจากฝั่งโบรกเกอร์ มีผล 5 ส.ค.

กรุงเทพธุรกิจ

WP ทุ่มงบ 60 ล้านบาท ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป 2,060 kW ส่งมอบพลังงานสะอาดฟรี 200 แห่งใน 5 ปี แย้มครึ่งปีหลังฟื้น หนุนผลงานปี 68 สดใส

Wealthy Thai

PTT ตัดขายหุ้น 2% ใน Lotus ผ่านตลาดหุ้นไต้หวัน ปรับพอร์ตกลุ่มธุรกิจ Life Science

กรุงเทพธุรกิจ

ก.ล.ต. เตือนผู้ถือหุ้นกู้ CHAYO 5 รุ่น ใช้สิทธิออกเสียง 29 ก.ค. 68

หุ้นวิชั่น

AURA ไตรมาส 3/2568 แนวโน้มกำไรแกร่ง แม้เข้าสู่ Low Season

หุ้นวิชั่น

ค่าเงินบาท ปิดวันนี้ 23 ก.ค. ที่ 32.15 บาท แข็งค่าตามตลาดโลก-ภูมิภาค

The Bangkok Insight

คปภ.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ ร่วมกับอุตสาหกรรมประกันภัย และธนาคารกรุงเทพ จัดกิจกรรม “รวมพลังประกันภัยให้โลหิต ปี2” ได้โลหิต 22,950 ซีซี

สยามรัฐ

หุ้นวันนี้ปิดพุ่งแรงเฉียด 28 จุด ต่างชาติซื้อเก็บ 4.4 พันล้าน หวังดีล ‘ภาษีทรัมป์’ แฮปปี้

The Bangkok Insight

ข่าวและบทความยอดนิยม

“พิชัย” ย้ำ ครม. เคาะ “วิทัย” นั่งผู้ว่าแบงก์ชาติ หวังเร่งแก้หนี้ – ปัดตอบเหตุผลเลือก

ข่าวหุ้นธุรกิจ

“กสิกร” แนะหุ้น 3 กลุ่มเด่น “วิทัย” นั่งผู้ว่าธปท. หนุน “ดอกเบี้ยขาลง–ปลดล็อกหนี้”

ข่าวหุ้นธุรกิจ

“หุ้นอสังหา” กอดคอวิ่ง! รับข่าว “วิทัย” ขึ้นผู้ว่า ธปท. หนุนสินเชื่อง่าย-ดอกเบี้ยต่ำ

ข่าวหุ้นธุรกิจ
ดูเพิ่ม
Loading...