โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“สมเด็จย่า” ไม่เพียงเป็นแม่ของกษัตริย์ หากแต่เป็น ‘แม่ฟ้าหลวง’ ในดวงใจปวงชนชาวไทย

THE POINT

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • THE POINT
“สมเด็จย่า” ไม่เพียงเป็นแม่ของกษัตริย์ หากแต่เป็น ‘แม่ฟ้าหลวง’ ในดวงใจปวงชนชาวไทย

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือที่ประชาชนเรียกกันด้วยความเคารพรักว่า “สมเด็จย่า” ซึ่งทรงเป็นพระราชชนนีของในหลวงรัชกาลที่ 8และ ในหลวงรัชกาลที่ 9

สิ่งที่ประจักษ์ต่อสายตาและประทับในดวงใจของชาวไทยทั้งชาตินั้นคือการแสดงออกต่อความรักทางพระจริยวัตรอันงดงามของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ประชาชนชาวไทยพบเห็นอยู่เสมอ รวมไปถึงเรื่่องเล่ากล่าวขวัญถึงการเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนในทุกๆด้าน อย่างเช่นความมัธยัสถ์ ดังที่สมเด็จพระพี่นางฯ ได้เล่าไว้ว่า “ในการประหยัดก็ได้จัดให้มีเงินค่าขนม สัปดาห์ละครั้งตามอายุ และก็ได้ไม่มากนัก แต่ถ้าจะซื้อหนังสือหรือของเล่น ท่านก็บอกว่าถึงวันเกิดจะซื้อให้ จะไม่ซื้อพร่ำเพรื่อ” หากจะยกเป็นความดีให้ผู้ใดได้ ก็คงจะเป็น “สมเด็จย่า”

เนื่องจาก วันที่ 18 ก.ค. ของทุกปี เป็นการรำลึกถึงวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระศรีนครินทราบรามราชชนนี ผู้เขียนถึงขอท้าวความเพื่อให้ประชาชนได้รำลึกถึงคุณงามความดีของสมเด็จย่าอีกครั้ง

สมัยที่พระองค์ยังเป็นสามัญชน เดิมทีสมเด็จย่านั้นเกิดในตระกูลช่างทอง โดยมีพระนามเดิมว่า ‘สังวาลย์’ (สมัยนั้นยังไม่มีนามสกุล) ก่อนที่พระชนนีจะนำพระองค์ไปถวายตัวเป็นข้าหลวงเมื่อมีพระชนมายุเพียง 7-8 พรรษา จึงได้ศึกษาที่โรงเรียนศึกษานารี โรงเรียนสตรีวิทยา และตัดสินพระทัยเข้าโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช จากนั้นยังได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนเพื่อคัดเลือกไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด รัฐแมสสาชูแสตต์ สหรัฐอเมริกา อันเป็นเหตุให้ได้เข้าเฝ้าฯ เป็นครั้งแรกในฐานะนักเรียนทุนของพระราชมารดา จนกลายเป็นที่สนิทเสน่หาในเวลาต่อมา

ขณะที่กำลังทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีที่ 1 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ (พระราชบิดาในหลวงรัชกาลที่ 8 และในหลวงรัชกาลที่ 9) ทรงพบและพอพระทัยกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จนได้มีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เพื่อขอพระราชทานพระราชานุญาตหมั้น ความว่า “สังวาลย์เป็นกำพร้า…แต่งงานแล้วก็มาใช้นามสกุลหม่อมฉัน หม่อมฉันไม่ได้เลือกเมียด้วยสกุลรุนชาติ ต้องเกิดเป็นอย่างนั้น ต้องเกิดเป็นอย่างนี้ คนเราเลือกเกิดไม่ได้ หม่อมฉันเลือกคนดี ทุกข์สุขเป็นเรื่องของหม่อมฉันเอง” เนื้อความในพระหัตถเลขาที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ (พระราชบิดาของในหลวงรัชกาลที่ 9)

ดังนั้นหลังได้เข้าพิธีอภิเสกสมรสกับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ มีศักดิ์เป็นหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา ประสูติพระราชธิดา 1 พระองค์ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พระราชโอรสองค์แรกที่สาธารณรัฐไวมาร์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศเยอรมนี) และพระราชโอรสองค์ที่สอง ณ เมืองเคมบริดจ์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (ร.8) และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (ร.9)

ผลงานหลักของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) มีมากมายและล้วนมีคุณูปการอย่างลึกซึ้งต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะในด้าน การแพทย์ การศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในถิ่นทุรกันดาร

1. การแพทย์และสาธารณสุข

ก่อตั้ง “มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” (พอ.สว.)
– พระราชดำริให้จัดตั้งทีมแพทย์อาสาออกไปดูแลรักษาประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ปี พ.ศ. 2512
– เป็นต้นแบบของ “หน่วยแพทย์เคลื่อนที่” ที่ให้บริการฟรีโดยไม่เลือกชนชั้นฐานะ

สนับสนุนการศึกษาด้านการแพทย์และพยาบาล
– ทรงส่งเสริมให้มีการผลิตแพทย์และพยาบาลจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ

2. การศึกษา

มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาบนพื้นที่สูง
– ทรงเห็นความสำคัญของการให้โอกาสเด็กในถิ่นทุรกันดารได้เรียนหนังสือ
– สนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนและหอพักนักเรียน เพื่อให้เด็กได้อยู่ใกล้สถานศึกษามากขึ้น

พระราชทานทุนการศึกษา
– แก่เยาวชนผู้ยากไร้ที่มีความสามารถ ทั้งระดับมัธยมและอุดมศึกษา

3. พัฒนาคุณภาพชีวิตและถิ่นทุรกันดาร

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และศูนย์พัฒนาอนามัยแม่และเด็ก
– ตั้งขึ้นในพื้นที่ห่างไกลเพื่อดูแลสุขภาพเด็กและหญิงตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด

โครงการพัฒนาบนพื้นที่สูง
– ส่งเสริมอาชีพทางเลือก เช่น การปลูกพืชเมืองหนาว แทนการปลูกฝิ่นในชุมชนชาวเขา

โดยเฉพาะยิ่ง ชาวบ้านในถิ่นทุรกันดารเรียกพระองค์ว่า “แม่ฟ้าหลวง” เนื่องมาจากเมื่อสมเด็จย่าได้พระราชทานความช่วยเหลือผ่านทางเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ราวกับเสด็จจากฟากฟ้าและช่วยให้ชาวบ้านมีชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนั้นยังได้เสด็จราชดำเนินไปยังที่ต่างๆพร้อมกับในหลวง เป็นที่มาของภาพอันตราตรึงใจขณะในหลวงประคองสมเด็จย่าไปทุกที่ ดังที่พระองค์รับสั่งว่า “ตอนเล็กๆ แม่ประคองเรา สอนเราเดิน หัดให้เราเดิน เพราะฉะนั้น ตอนนี้แม่แก่แล้ว เราต้องประคองแม่เดิน” อันเป็นคำสอนที่พสกนิกรชาวไทยต่างน้อมรับไว้เป็นเยี่ยงอย่างในเรื่องของการดูแลบุพการียามแก่เฒ่า

ไม่ว่าจะมองจากมุมใด ชีวิตของสมเด็จย่าก็เปี่ยมด้วยความงดงามและความประทับใจ ยิ่งกว่านิทานเรื่องใดในโลก ทุกบรรทัดของพระราชประวัติ ล้วนแฝงด้วยคำสอนและข้อคิดอันลึกซึ้ง หากเราตั้งใจอ่านอย่างแท้จริง สิ่งที่ผู้เขียนซึมซับได้มากที่สุด

ที่มา: หนังสือ “แม่เล่าให้ฟัง: พระประวัติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีระหว่างพ.ศ. 2443-2481” พระนิพนธ์สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, หนังสือ “เจ้านายเล็กๆ-ยุวกษัตริย์” พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, เว็บไซต์ www.fwc1954.org


#Thepoint #Newsthepoint

#สมเด็จย่า #แม่ฟ้าหลวง #แม่ของแผ่นดิน

#สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE POINT

3 หญิงแกร่งเครือข่ายสีส้ม พลังใหม่เมือง-นโยบาย-สนามจริง ที่อาจปั้นแต้มทะลุ 250 ที่นั่ง

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

อย่ากลัวการกิน ‘ไขมันดี’ กลัว ‘ไขมันเลว’ จะดีกว่า

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ผ่านเลือกตั้งปี 66 มา 2 ปี คนไทยเห็นตรงกัน “ดิ่งเหว” !!

TOJO NEWS

ม.เกษตรศาสตร์ จับมือกองทัพอากาศ ร่วมพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารภาษาจีน

สยามรัฐ

กรมอุตุนิยมวิทยา 7 วันข้างหน้า เตือนพายุวิภา ฝนตกหนัก 19-24 ก.ค.นี้

ประชาชาติธุรกิจ

SET Sustainability Forum:ตลาดหลักทรัพย์ฯ ผนึกพลังสร้างระบบนิเวศเอื้อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ

ไทยพับลิก้า

สลด! สาวปีนหนีลิฟต์ค้าง ถูกหนีบศีรษะเสียชีวิตคาอาคารพาณิชย์กลางกรุง

เดลินิวส์

ช็อก! เหยื่อ "เจ๊หงส์" ติดเชื้อ "เอชไพโลไร" หมอแล็บฯเตือน เชื้อแพร่ได้ทางน้ำลาย

Manager Online

หลวงพี่ต้อม จากคนเลี้ยงวัว สู่พระนักพัฒนา ผู้เป็นทั้งครูและพ่อของเด็กกำพร้า

TNews

กรมอุตุฯ เปิดรายชื่อ 32 จังหวัด พรุ่งนี้ฝนถล่ม เตือนพื้นที่สีเหลืองเจอหนักสุด

มุมข่าว

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...