โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

“ฮุน เซน”ไม่น่าไว้วางใจ

สยามรัฐ

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“กต.”จี้กัมพูชา เคารพ-ยึดพันธกรณีแก้ไขข้อพิพาท ยัน “ไทย” ไม่ใช่ฝ่ายทำ JBC หยุดชะงัก ด้าน“นิด้าโพล”ชี้ “ฮุน เซน” ไม่น่าไว้วางใจ ทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว แทรกแซงและปลุกปั่นความแตกแยก

เมื่อวันที่ 6 ก.ค.68 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงข้อมูล ข้อคิดเห็น และท่าทีเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา โดยยืนยันและย้ำว่า รัฐบาลไทยยึดมั่นในการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ตามพันธกรณีที่ทั้งสองฝ่ายได้มีต่อกันตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) พ.ศ. 2543 มาโดยตลอด ซึ่งได้ระบุไว้ชัดเจนว่าทั้งสองฝ่ายจะต้องเจรจาหารือกันในกรอบทวิภาคี โดยใช้กลไกคณะกรรมาธิการร่วมชายแดน (JBC) อันเป็นไปตามแนวทางที่สอดคล้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติทุกประการ ซึ่งตามกฎหมายระหว่างประเทศ ภาคีของความตกลงที่เป็นสนธิสัญญา จะต้องปฏิบัติตามสิ่งที่ได้ลงนามไว้ ซึ่งประเทศไทยได้ยึดมั่นในพันธกรณีของความตกลงไทย-กัมพูชาอย่างเคร่งครัด ดังนั้น ประเทศไทยจึงไม่ได้เป็นฝ่ายละเมิดพันธกรณีที่มีต่อกัน

ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ประเทศไทยได้ใช้แนวทางการเจรจาทวิภาคีโดยกลไก JBC หรือกลไกที่เทียบเคียงได้กับ JBC เช่นเดียวกัน ซึ่งล้วนแต่มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพึงพอใจ โดยการเจรจาเขตแดนทางบกระหว่างกับมาเลเซียและลาวได้สำเร็จไปแล้วกว่าร้อยละ 90 ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลไทยจึงเรียกร้องให้กัมพูชาปฏิบัติตามพันธกรณีที่ให้ไว้ อันเป็นการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสนธิสัญญาอันเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐอย่างเคร่งครัด เพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดนทั้งหมดตลอดแนว รวมถึงพื้นที่ขัดแย้ง 4 จุด ที่ฝ่ายกัมพูชายังไม่ยินยอมนำเข้าหารือการเจรจาในกรอบดังกล่าวด้วย อันถือได้ว่าเป็นการละเมิดข้อตกลงตาม MOU 2543 อย่างชัดเจน

ประเทศไทย ขอปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ไม่ถูกต้องว่า ไทยเป็นฝ่ายที่ทำให้กระบวนการ JBC ต้องหยุดชะงัก เนื่องจากไทยไม่เคยถอนตัวจากกระบวนการดังกล่าว แต่เรียกร้องและเฝ้ารอให้กัมพูชาซึ่งมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม JBC มานานกว่า 12 ปี และได้เรียกร้องให้มีการประชุมฯ อยู่เสมอ ก่อนที่การประชุมครั้งล่าสุดจะเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 14 - 15 มิถุนายนที่ผ่านมา ดังนั้น ไทยขอเรียกร้องให้กัมพูชาเคารพในพันธกรณีที่มีระหว่างกัน ที่จะเจรจาหารือกันโดยสันติวิธี ก่อนจะพึ่งพากลไกอื่นซึ่งอยู่นอกเหนือไปจากวิธีการที่ได้ตกลงกัน เพื่อยุติปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ตลอดแนวตลอดไป และป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำซากในอนาคต กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และประชาชนทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนที่อยู่ตามแนวชายแดนทั้งสองฝั่ง

ด้าน ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ เรื่อง “ฮุน เซน” กรณีปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา โดยพบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 67.63 ระบุว่า ฮุน เซน ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง รองลงมา ร้อยละ 57.25 ระบุว่า ฮุน เซน เป็นบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจ ร้อยละ 44.66 ระบุว่า คำพูดของฮุน เซน ไม่มีความน่าเชื่อถือ ร้อยละ 40.53 ระบุว่า ฮุน เซน กำลังยุให้คนไทยแตกแยกกัน ร้อยละ 25.34 ระบุว่า ฮุน เซน ต้องการยึดครองดินแดนของไทย ร้อยละ 18.85 ระบุว่า ฮุน เซน กำลังแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทย ร้อยละ 14.12 ระบุว่า ฮุน เซน กำลังเปิดเผยความลับเกี่ยวกับการเมืองไทย ร้อยละ 9.31 ระบุว่า ฮุน เซน ทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศกัมพูชา ร้อยละ 3.36 ระบุว่า ฮุน เซน ทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนชาวกัมพูชา ร้อยละ 1.30 ระบุว่า คำพูดของฮุน เซน มีความน่าเชื่อถือ และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ฮุน เซน ทำเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนต่อคำทำนายของฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา ที่บอกว่าประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีภายในสามเดือนและรู้ด้วยว่าใครจะเป็นนายกฯ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 43.05 ระบุว่า ไม่น่าเชื่อ รองลงมา ร้อยละ 34.12 ระบุว่า ฮุน เซน ทำนายมั่ว ๆ ร้อยละ 33.97 ระบุว่า เป็นความพยายามยุให้คนไทยตีกัน ร้อยละ 30.31 ระบุว่า การเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีเป็นไปได้ แต่เป็นไปไม่ได้ ที่จะรู้ว่าใครจะได้เป็นนายกฯ ร้อยละ 25.34 ระบุว่า เป็นการวิเคราะห์ตามสถานการณ์ทางการเมืองไทย ร้อยละ 19.01 ระบุว่า เป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทย ร้อยละ 14.66 ระบุว่า ฮุน เซน พูดตามข่าวกรองที่ได้มา ร้อยละ 10.69 ระบุว่า เป็นการเตือนนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร และร้อยละ 7.25 ระบุว่า น่าเชื่อ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

กมธ.การกฎหมายฯ วุฒิสภา ศึกษาดูงาน ณ สภาแห่งชาติลาว แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านยุติธรรม

17 นาทีที่แล้ว

"เลขาฯกฤษฎีกา" แจงชัด "รักษาการนายกฯ" ไม่มีอำนาจ "ยุบสภา-ตั้งรมต." ชี้เป็นอำนาจเฉพาะตัว "นายกฯ" เท่านั้น

17 นาทีที่แล้ว

"จตุพร" เข้า ก.พาณิชย์วันแรก แบ่งงาน "สุชาติ-ฉันทวิชญ์" เร่งเจรจาภาษีทรัมป์-ดันราคาสินค้าเกษตร

21 นาทีที่แล้ว

"ธรรมศาสตร์" ผนึก "ท้องถิ่น" 39 แห่ง ปั้นโมเดลจัดบริการผู้สูงอายุในชุมชน ลุย "สมองเสื่อม-โภชนาการ-ช่องปาก-ภัยพิบัติ"

22 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม