ลุ้นต่อรองภาษีสหรัฐฯ จบอย่างไร เหลือไทยยังต้องรอลุ้น | ห้องข่าวภาคเที่ยง
4 ดูห้องข่าวภาคเที่ยง - อินโดนีเซียเจรจาต่อรองกับสหรัฐฯ ได้ลดภาษีไปแล้ว เหลือไทยยังต้องรอลุ้น เมื่ออินโดนีเซีย ซึ่งนับเป็นประเทศที่ 2 ในอาเซียนที่สหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการเจรจา ให้ดีล 19 หลังจากเวียดนามได้รับดีล 20 ถือ Great Deal และเป็นตัวอย่างของดีลที่เรียบง่าย เข้าใจง่าย มุมของ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มองว่า จากนี้ต้องมาลุ้นกันว่าไทยจะจบที่ตรงไหน ซึ่งหากดูแล้วจะเห็นว่ามีไม่กี่ประเทศในอาเซียน ที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีสูงกว่า 30 ไล่เรียงในกลุ่มชาติอาเซียนจากประเทศที่เสียภาษีน้อยที่สุด ในเวลานี้ คือ สิงค์โปรที่ต้องจ่ายภาษีให้สหรัฐฯ เพียง 10 ส่วนไทยยังถือว่า รับบทหนักถูกเรียกเก็บ 36 และถูกบีบทั้งจากจีน สหรัฐฯ และยังต้องเผชิญแรงกดดันจากคู่แข่งในกลุ่มอาเซียน ซึ่งหลายประเทศถูกเรียกเก็บภาษีต่ำกว่าไทย ซึ่งอินโดนีเซีย ก่อนหน้านี้สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีในอัตรา 32 ล่าสุดบรรลุข้อตกลงการค้า โดยสหรัฐฯ จะเรียกเก็บภาษีนำเข้ากับอินโดนีเซีย 19 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมนี้ และหากมีการขนถ่ายสินค้าจากประเทศที่มีอัตราภาษีนำเข้าสูงกว่าผ่านทางอินโดนีเซีย ภาษีนำเข้านั้น จะถูกบวกเข้าไปในอัตราภาษีที่อินโดนีเซียต้องจ่าย โดยการเจรจาลดภาษีครั้งนี้ อินโดนีเซียยอมเปิดทางให้สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าในอัตรา 0 หรือปลอดภาษี และให้คำมั่นว่าจะซื้อเครื่องบินโบอิง 50 ลำ, นำเข้าพลังงานจากสหรัฐฯ มูลค่า 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเกือบ 490,000 ล้านบาท และจะนำเข้าสินค้าเกษตรมูลค่า 4,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือกว่า 146,000 ล้านบาท แต่ยังไม่มีการกำหนดกรอบระยะเวลา ที่ชัดเจน เรื่องการเจรจาขอลดภาษี ถูกจับโยงกับกระแสข่าวว่า จะมีการสอดไส้ข้อเสนอที่จะยอมให้สหรัฐฯ เข้ามาใช้พื้นที่ในจังหวัดพังงา ตั้งฐานทัพเรือ ซึ่งเมื่อวานนี้ พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ก็ออกมาบอกว่า กระทรวงกลาโหมยังไม่ได้รับการติดต่อในเรื่องนี้ พร้อมกับยืนยันว่า เรื่องตั้งฐานทัพ ไม่อยู่ในเงื่อนไขของการเจรจา ย้ำอีกว่า ในฐานะที่รับราชการในกองทัพบก เป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ถ้าสหรัฐฯ ต้องการมาตั้งฐานทัพในไทย นโยบายที่ทุกรัฐบาลยึดถือมาตลอดในเรื่องความมั่นคง คือ นโยบายสมดุล พลเอกณัฐพล ไม่ได้อธิบายสมดุลในเรื่องความมั่นคง หมายถึงอะไร แต่เรื่องนี้มีความคิดเห็นจาก นายกสมาคมภูมิภาคศึกษา และอาจารย์ประจำสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การที่ไทยพยายามเลือกนโนบายสมดุล ไม่เลือกระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ข้างใดข้างหนึ่ง แบบสุดลิ่มทิ่มประตู แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เรื่องพันธมิตรการซ้อมรบทางทหาร หรือ การรับยุทโธปกรณ์ทางทหาร ทำให้ไทยเทน้ำหนักให้สหรัฐมากกว่า ดังนั้น ต้องมาดูว่าการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ถ้ามีเรื่องนี้อยู่ด้วย เราต้องมีวิเคราะห์มีความเสี่ยงอะไรบ้าง กดติดตามช่อง CH7HD News ได้ที่ : https://cutt.ly/YTch7hdnews ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ https://news.ch7.com #ห้องข่าวภาคเที่ยง #ข่าวช่อง7 #CH7HDNEWS ติดตาม CH7HD News และ TERO Digital ได้ที่ : https://linktr.ee/ch7hdnews_tero
เล่นอัตโนมัติ