โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

เสพติดคลิปสั้นๆ อันตรายกว่าที่คิด ผลวิจัยเตือนภัย "สมอง TikTok" ที่ไม่ได้พังแค่สมอง!

sanook.com

เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Sanook
ติดวิดีโอสั้นเหมือนถูก “มนต์สะกด” สไลด์ไม่หยุดเป็นภาวะ “สมอง TikTok” แล้วมันคืออะไร ใครคือกลุ่มเสี่ยงสูงสุด? ผู้เชี่ยวชาญแนะวิธีเลิก!

ติดการดูคลิปสั้นๆ อยู่หรือเปล่า? หยุดเลื่อนดูไม่ได้เลยใช่ไหม? ผู้เชี่ยวชาญเผยความจริงทางวิทยาศาสตร์เบื้องหลัง "สมอง TikTok" เหมือนถูกมนต์สะกดสไลด์ไม่หยุด

ดูวิดีโอสั้นติดลมจนหยุดไม่ได้? อาการติดคลิปสั้นๆ หรือที่เรียกว่า"สมอง TikTok" (TikTok brain) กำลังถูกนักวิชาการให้ความสำคัญ เพราะมันไม่ได้แค่แย่งเวลา แต่งานวิจัยใหม่หลายชิ้นออกมาเตือนชัดว่า อาจเป็นภัยเงียบที่ส่งผลต่อการทำงานของสมอง สุขภาพจิต และการควบคุมพฤติกรรมอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและวัยมหาวิทยาลัย

“คลิปสั้น” เปลี่ยนสมองคุณอย่างไร? จากรายงานของนิตยสาร Forbes และการศึกษาในวารสาร NeuroImage ปี 2025 พบว่า ภาวะ "Short Video Addiction" หรือ "SVA" จะทำให้สมองตอบสนองกับ ระบบรางวัล (Reward System) มากขึ้น นั่นหมายถึงผู้ใช้งานจะรู้สึกพึงพอใจทุกครั้งที่เลื่อนคลิป และสมองจะกระตุ้นให้เลื่อนดูต่อไปเรื่อยๆ เพื่อรับความสุขแบบสั้น ๆ เหมือนเล่นตู้สล็อตในคาสิโน

แต่ผลข้างเคียงคือ… สมองส่วนที่ควบคุมเหตุผลและการยับยั้งพฤติกรรมจะทำงานน้อยลง จึงทำให้ควบคุมตนเองได้ยากขึ้น เกิดอาการเสพติด ส่งผลให้หลุดโฟกัสจากสิ่งที่ควรทำ เช่น เรียนหนังสือ พักผ่อน หรือทำงานบ้าน จนกลายเป็นวงจรที่ยากจะถอนตัว

กลุ่มเสี่ยงที่สุดคือ “วัยรุ่นและนักศึกษา” โดยงานวิจัยจากวารสาร Frontiers in Human Neuroscience และ Frontiers in Psychology (ปี 2025) ระบุว่า กลุ่มคนอายุ 18–25 ปี มีความไวต่อการกระตุ้นจากวิดีโอสั้นมากเป็นพิเศษ มีแนวโน้ม “เสี่ยงติด” และแสดงพฤติกรรมใจร้อน เสพติดความพึงพอใจทันที และขาดสมาธิ ได้ชัดเจนกว่ากลุ่มอายุอื่น

นอกจากนี้ ยังพบความเชื่อมโยงกับภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และการเสพติดเทคโนโลยีแบบแฝง โดยผู้ที่ดูคลิปสั้นวันละมากกว่า 1 ชั่วโมง จะมีแนวโน้มเผชิญอาการเหล่านี้สูงขึ้น

อีกหนึ่งปัญหาที่มาพร้อมกับคลิปสั้นคือ ข้อมูลเท็จ (Fake News) งานวิจัยของมหาวิทยาลัย Capitol Technology University (2023) พบว่า กว่า 20% ของคลิปใน TikTok มีเนื้อหาบิดเบือนหรือไม่ถูกต้อง เนื่องจากอัลกอริธึมของแพลตฟอร์มเน้น "ความน่าสนใจ" มากกว่าความจริง จึงเสี่ยงเป็นแหล่งข้อมูลผิด ทำให้เนื้อหาช็อกโลกหรือข่าวปลอมแพร่กระจายได้ง่ายมาก

ที่น่ากังวลยิ่งกว่าคือ วัยรุ่นจำนวนมากมักเข้าใจผิดว่าตนเองสามารถแยกแยะข่าวจริงกับข่าวปลอมได้ ทั้งที่ในการทดสอบจริง กลับไม่สามารถตัดสินข้อมูลที่ถูกต้องได้แม่นยำ

วิธีลดเสี่ยง “ติดคลิปสั้น” ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ!

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การป้องกันภาวะ “ติดวิดีโอสั้น” หรือ SVA (Short Video Addiction) เริ่มต้นจากการสังเกตพฤติกรรมของตัวเอง เช่น ใช้เวลากับวิดีโอสั้นวันละเท่าไร และหลังดูแล้วรู้สึกอย่างไร หากมีอารมณ์ไม่สบายใจ วิตกกังวล หรือรู้สึกผิดบ่อยๆ ควรมองว่านี่คือสัญญาณเตือน

วิธีรับมือเบื้องต้นคือกำหนดเวลาในการดูอย่างมีวินัย หลีกเลี่ยงการไถหน้าจอโดยไม่ตั้งใจ พร้อมกับฝึกตนเองให้ตระหนักถึงความน่าเชื่อถือของเนื้อหาที่รับชม อีกทั้งควรแบ่งเวลาให้กับกิจกรรมในชีวิตจริง เช่น พบปะผู้คน ออกกำลังกาย หรือหางานอดิเรกทำ รวมถึงตรวจสอบแหล่งข้อมูลก่อนเชื่อหรือแชร์

สำหรับคนที่รู้สึกควบคุมตัวเองไม่ได้ แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ที่มีความรู้เฉพาะทางเรื่อง SVA ซึ่งจะช่วยให้กลับมาควบคุมชีวิตและจิตใจได้ดีขึ้นในระยะยาว.

การดูวิดีโอสั้นอาจฟังดูเป็นเรื่องสนุกและชิล ให้ความบันเทิงแบบรวดเร็วทันใจ แต่หากใช้อย่างไม่ระวัง ก็อาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพจิต สมาธิ และพฤติกรรมเสพติดได้อย่างไม่รู้ตัว ดังนั้น หากยังรู้ตัวว่ามักไถหน้าจอไม่หยุด ลองปรับพฤติกรรมตามคำแนะนำ เพื่อให้ชีวิตไม่ถูก “สมอง TikTok” ควบคุมและทำลายสมดุลชีวิตของคุณ!

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก sanook.com

"อ้วน รีเทิร์น" โพสต์รูปย้อนวันวาน เล่าความภูมิใจสมัยบวชเป็นพระ

54 นาทีที่แล้ว

ปภ. เตือน! 57 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำท่วม จากอิทธิพล "พายุวิภา" ช่วง 20-24 ก.ค.68

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ย้อนดูคลิปชัดๆ "ปาเกียว" โคตรกำปั้นชาวฟิลิปปินส์ในวัย 46 ปี ยืนสู้ครบ 12 ยก

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไม่ใช่มันหมู! "ราชาคอเลสเตอรอล" อาหารที่หลายบ้านคุ้นเคย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่รู้

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความต่างประเทศอื่น ๆ

กต.แถลงประณามกัมพูชาลอบวางทุ่นระเบิด-ผิดอนุสัญญาฯ

ข่าวเวิร์คพอยท์ 23

ไร้ปาฏิหาริย์ เจ้าชายนิทราซาอุฯ เสียชีวิตแล้ว หลังโคม่าจากอุบัติเหตุนาน 20 ปี

Thaiger

ไม่ใช่มันหมู! "ราชาคอเลสเตอรอล" อาหารที่หลายบ้านคุ้นเคย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่รู้

sanook.com

บริษัทจีนคว้าสัญญาสร้าง “เอ็นเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์” ในซาอุดีอาระเบีย

เดลินิวส์

สหรัฐเตรียมขึ้นค่าวีซ่าอีกอย่างน้อย 8,000 บาท คาดเริ่มใช้ 1 ต.ค. 2568

เดลินิวส์

‘จีน’ ควบคุม!! แม่น้ำพรหมบุตร ในรัฐอัสสัม ‘อินเดีย’ ถึงคราว!! หายใจติดเขื่อน

THE STATES TIMES

แฉเบื้องหลังโรงแรมผู้ลี้ภัย ถ่ายหนังโป๊ OnlyFans ชีวิตหรู หิ้ว Louis Vuitton

Thaiger

กัมพูชา ครองแชมป์อันดับ 1 ประเทศที่มีอาชญากรรมสูงสุดอาเซียน ปี 68

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

อินฟลูฯ มาเลเซียจัดฉากหายตัว ทิ้งรถเมียในแม่น้ำ ที่แท้หนีมาแต่งงานใหม่ที่ไทย

sanook.com

หมอเตือน! เคสมือถือ 3 แบบ เสี่ยงสารพิษสะสมในร่างกาย กระทบสมอง-ไตพัง–มะเร็งถามหา

sanook.com

พฤติกรรม "ดื่มน้ำ" ที่คิดว่าดี แต่กลับทำร้ายกระเพาะไม่รู้ตัว! หลายคนยังทำอยู่ทุกวัน

sanook.com
ดูเพิ่ม
Loading...