โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ผู้ว่าฯ สุรินทร์ หวังผลเจรจาจบโดยเร็ว หากยืดเยื้อเกินสัปดาห์ ต้องของบเพิ่ม

ข่าวช่องวัน 31

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นายชำนาญ ชื่นตา ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยถึงกรณีพื้นที่ศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยชั่วคราว ว่า ตอนนี้มีเพียง 1 อำเภอ จาก 17 อำเภอ ที่ยังไม่ได้มีการตั้งศูนย์พักพิง ซึ่งขณะนี้มีประชาชน 50,000 กว่ารายที่ไปอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราว และไปอยู่บ้านญาติใน จ.สุรินทร์ 30,000 กว่าราย นอกจากนี้ยังมีประชาชนไปอยู่บ้านญาติในจังหวัดใกล้เคียงอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งศูนย์พักพิงที่เปิดตั้งแต่ช่วงวันแรก เข้าที่เข้าทางแล้ว แต่ยังมีบางศูนย์ที่ต้องการรับบริจาคสิ่งของ ดังนั้นจึงได้มีการกระจายสิ่งของจากศาลากลางไปยังศูนย์พักพิงต่างๆ ที่ขาดแคลน

ส่วนเงินบริจาคตอนนี้ได้ใช้เงินบริจาคจากภาคประชาชนอย่างเดียว เนื่องจากเงินราชการยังไม่ได้ใช้เพราะติดช่วงวันหยุด โดยระเบียบราชการมีเงินในการช่วยเหลือ 100 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นอาหารมื้อละ 50 บาท ต่อมื้อและต่อคน จะตกวันละหลายล้านบาท นอกจากนี้ยังมีครัวสำรองหากอาการไม่เพียงพอก็สามารถนำมาเสริมได้

ทั้งนี้ไม่ได้มีการดูแลเพียงแต่ผู้อพยพแต่ยังขอความร่วมมือ กำนันฯ ผู้ใหญ่บ้าน ให้จัดชุด ชรบ. ดูแลให้พื้นที่ เรื่องทรัพย์สิน สัตว์เลี้ยง ที่นำออกมาไม่ได้ จึงต้องมีการดูแลทั้ง 2 ส่วน โดยเฉพาะการสนับสนุนเสบียง ซึ่งตอนนี้ได้มีการสอบถาม ชรบ. ในพื้นที่ ยังกำลังใจดีอยู่ และปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็ง หากประชาชนท่านใดจะต้องการบริจาคสิ่งของให้กับศูนย์อพยพผู้ประสบภัยสามารถบริจาคได้ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด (ศาลากลาง) และแต่ละพื้นที่ศูนย์พักพิงจะมีความต้องการของแต่ละศูนย์ที่แตกต่างกัน

สำหรับสถานการณ์ที่ จ.สุรินทร์ ยังคงมีการยิงสู้รบกันอยู่ โดยเฉพาะพื้นที่ อ.กาบเชิง โดยมีการยิงหลายระลอก แต่ยังไม่มีการรายงานการสูญเสีย ส่วนสถานการณ์โดยรวมใน จ.สุรินทร์ ยอมรับว่าประชาชนกังวลเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะเรื่องการใช้ปืนใหญ่ ยิงเข้ามา ซึ่งหากมีการยิงเข้ามาจริง ฝั่งเราก็สามารถจับพิกัดได้ ขณะเดียวกันฝั่งประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกาและประเทศอาเซียน มีการบีบให้เจรจากันแล้ว ตนเองจึงมองว่าสถานการณ์จะไม่นำไปสู่จุดนั้น แต่อย่างไรก็ตามเราก็จะไม่ประมาท โดยเฉพาะจุดเสี่ยงที่มีการเฝ้าระวังตลอด และบางจุดส่วนราชการอาจจะมีการไปทำงานที่อื่น ดังนั้นขอให้ไม่ตื่นตระหนก แต่ขณะเดียวกันก็อย่าประมาทด้วยเช่นกัน

กรณีที่มีประกาศด่วนที่สุดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประกาศให้จังหวัดสุรินทร์เป็นภัยสงครามเป็นจังหวัดแรก พร้อมยกระดับเทียบเท่าประกาศภัยพิบัติ น้ำท่วม และแผ่นดินไหว เพื่อให้ดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ปะทะชายแดนไทย-กัมพูชาได้อย่างใกล้ชิดนั้น

ล่าสุด นายชำนาญ ชื่นตา ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ให้สัมภาษณ์กรณีดังกล่าว ว่า ประกาศดังกล่าวไม่ใช่คำว่า “ภัยพิบัติสงคราม” แต่เป็นการประกาศเขตผู้ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน (กองกำลังจากนอกประเทศ) โดยย้ำชัดว่า “ไม่ใช่สงคราม” ก่อนจะขยายความว่า การประกาศภัยพิบัติฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อ ความสะดวกต่อการใช้งบประมาณแผ่นดิน ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินพ.ศ. 2562 ซึ่งหากจะประกาศยกระดับเป็นภัยสงคราม จะต้องมีการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้สภาฯ มีมติเห็นชอบ 2 ใน 3 ของสภา และใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการประกาศสงคราม

ผู้ว่าฯ จ.สุรินทร์ กล่าวอีกว่า การใช้งบประมาณสำหรับการประกาศภัยฉุกเฉินดังกล่าว รัฐบาลมีมติอนุมัติงบฉุกเฉิน 100 ล้านบาท และมีงบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเราใช้ไปแล้ว 3 วันแรก จากนั้น จังหวัดได้จัดสรรงบให้แต่ละอำเภอดูแลประชาชน

ผู้ว่าฯ จ.สุรินทร์ กล่าวถึงภาพรวมในจังหวัด ว่า ขณะนี้ยังมีการยิงสู้รบกันตามแนวชายแดน ในอำเภอกาบเชิง และยังไม่มีรายงานการสูญเสียแต่อย่างใด เมื่อถามถึงกรณีที่ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี เดินทางไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อเจรจากับ นายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา มีความคาดหวังต่อการเจรจาในครั้งนี้อย่างไร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ขอตอบแทนพี่น้องประชาชนว่า เนื่องจากเมื่อวานนี้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมได้ลงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งพี่น้องประชาชนก็ได้สื่อสารว่าอยากให้เหตุการณ์จบโดยเร็ว

ส่วนตนเองก็มีความรู้สึกไม่ต่างจากพี่น้องประชาชน การมาอยู่ศูนย์พักพิง คงไม่สะดวกเท่าการอยู่บ้าน เป็นห่วงบ้าน ทรัพย์สิน นอนไม่ค่อยหลับ และก็อยากให้จบเร็ว ก่อนจะเล่าย้อนข้อมูลเหตุปะทะชายแดนเมื่อปี 2554 ซึ่งปีนั้นใช้เวลาปะทะ 12 วัน แต่ไม่ใช่ 12 วันแล้วอพยพกลับทันที ต้องคอให้จบอย่างแน่นอนก่อน และครั้งนี้อยากให้จบเร็วกว่า 12 วัน และการปะทะกันเมื่อปี 54 ก็ไม่รุนแรง และยิงกันตลอดทั้งวันทั้งคืนเหมือนปีนี้ พร้อมย้ำว่า อยากให้เข้าสู่การเจรจา และจบให้เร็ว และหวังว่าไม่อยากให้เกิน 1 สัปดาห์ ซึ่งหากเกินก็จะต้องขอเงินจากรัฐบาลเพิ่ม และเราไม่ได้ดูแค่ผู้อพยพ ยังดูถึงผู้นำชุมชน และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ที่อยู่ดูแลทรัพย์สินในหมู่บ้านด้วย

กรณีที่มีครูในพื้นที่ต้องเข้าเวรดูแลศูนย์พักพิงผู้ประสบเหตุจากเหตุปะทะบริเวณชายแดนไทยกัมพูชา ซึ่งมีเสียงสะท้อนในโลกออนไลน์ทำนองว่าเป็นกังวลเรื่องความปลอดภัย โดยระบุว่า การให้ครูอยู่ตามศูนย์อพยพหรือศูนย์พักพิง เป็นเรื่องจริง เนื่องจากมีศูนย์พักพิงหลายที่ตั้งอยู่ในโรงเรียน จึงจำเป็นต้องให้ครูและผู้บริหารสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในคณะทำงาน เพื่อดูแลสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ระบบไฟฟ้า รวมถึงความเรียบร้อยของสถานที่ในฐานะเจ้าของพื้นที่

นายชำนาญ กล่าวต่อว่า คณะทำงานประจำศูนย์ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานท้องถิ่น เช่น ปลัดอำเภอ, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน และผู้บริหารโรงเรียน โดยมีนายอำเภอเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ และพิจารณาคัดเลือกบุคลากรตามความเหมาะสม

ทั้งนี้ในหลายกรณี ทางโรงเรียนได้จัดครูมาเวรเกินจำนวนที่กำหนดตามประกาศของอำเภอ ซึ่งบางส่วนมาด้วยความสมัครใจ แต่ก็มีบางรายที่รู้สึกว่าเป็นการปฏิบัติงานในวันหยุด และอาจคาดหวังค่าตอบแทน เช่น ค่าโอที นายชำนาญ มองว่า ก็ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกและความร่วมมือของแต่ละบุคคล และหากศูนย์พักพิงไม่ได้ตั้งอยู่ในโรงเรียน ก็จะไม่มีความจำเป็นต้องให้ครูอยู่เวร แต่หากใช้สถานศึกษาก็จำเป็นต้องมีบุคลากรจากโรงเรียนร่วมดูแล ส่วนจำนวนครูที่ต้องเข้าเวรในแต่ละศูนย์จะขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นที่และการจัดการเฉพาะจุด

สำหรับโรงเรียนที่ปิดการเรียนการสอนชั่วคราวตามแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ ก็อาจไม่จำเป็นต้องมีการเฝ้าประจำตลอดเวลา แต่สามารถแวะเวียนไปตรวจสอบเป็นระยะได้ โดยจะพิจารณาตามความปลอดภัยของพื้นที่และระดับความรุนแรงของสถานการณ์

นายชำนาญ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ที่ดูแลพื้นที่ส่วนหลังจะมีทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) โดยทั้งหมดมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยในเขตรับผิดชอบ ไม่เฉพาะในหมู่บ้าน แต่รวมถึงวัดและโรงเรียนด้วย ซึ่งสุดท้ายแล้ว ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งว่าจะจัดเวรครูในลักษณะใด.

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ข่าวช่องวัน 31

วิดีโอ

เปิดคลิปทหารไทยระเบิดเสาสัญญาณกัมพูชา บนภูมะเขือ | ข่าวช่องวัน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา
วิดีโอ

ไทย-กัมพูชา บรรลุข้อตกลงหยุดยิงทันทีไม่มีเงื่อนไข | ข่าวช่องวัน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘ไทย-กัมพูชา’ จับมือแถลง หยุดยิงโดยไม่มีเงื่อนไข มีผลเที่ยงคืนนี้

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ชายคลั่งยิง รปภ.-แม่ค้า อ.ต.ก.ก่อนจบชีวิตตัวเอง เมีย เผย ก่อเหตุเพราะแค้นส่วนตัว

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

วิดีโอ

เปิดคลิป โดรนบินว่อนภูมะเขือ ทำลายฐานทหารกัมพูชา

สยามนิวส์

“ไผ่ ลิกค์”ประกาศไม่รับเงินเดือน สส. มอบให้ทหารกล้า จ.กำแพงเพชร

สยามรัฐ

กัมพูชาใช้ "อาวุธหนัก" อะไรบ้าง ตลอด 5 วันปะทะแนวชายแดนกับไทย

TNN ช่อง16

น้ำท่วมสุโขทัยซัดถนนขาด บ้านพัง 2 หลัง

สำนักข่าวไทย Online

กองทัพภาคที่ 2 ขอปชช. งดกลับบ้านใกล้ชายแดน รอประกาศจากทางราชการ

TNN ช่อง16

สวนนงนุช พัทยา จัดช้าง 73 เชือก แปรขบวนเทิดไท้องค์ราชัน

TNN ช่อง16
วิดีโอ

ด่วน! ผลการประชุม 3 ฝ่ายที่มาเลเซีย ไทย-กัมพูชา ตกลงหยุดยิงโดยไม่มีเงื่อนไข เริ่มเที่ยงคืน คืนนี้

สวพ.FM91
วิดีโอ

"ทรัมป์" โชว์พาว! หยุดยิง "ไทย-กัมพูชา" | เนชั่นทันข่าวค่ำ | NationTV22

NATIONTV

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...