ภาษีสหรัฐฯ 50% กระทบกาแฟ–น้ำส้ม–เอทานอลบราซิล สวนทาง Net Zero
ภาษีนำเข้าสินค้าจากบราซิล 50% ที่รัฐบาลทรัมป์ประกาศใช้ สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อตลาดกาแฟโลก และอาจทำให้ราคากาแฟในสหรัฐฯ พุ่งสูงเกินระดับสูงสุดในช่วงที่ผ่านมา
บราซิลเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่สหรัฐฯ เป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุด และเป็นประเทศที่บริโภคกาแฟมากที่สุดในโลก โดยมีชาวอเมริกันเกือบ 200 ล้านคนดื่มกาแฟทุกวัน
แหล่งข่าวในวงการค้ากาแฟระบุว่า อัตราภาษีใหม่ที่ประกาศหากมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิงหาคม อาจหยุดการส่งออกกาแฟบราซิลชุดใหม่มายังสหรัฐฯ ซึ่งนำเข้ากาแฟจากบราซิลจำนวน 8.14 ล้านถุง (ขนาด 60 กิโลกรัม) ในปี 2024 คิดเป็น 33% ของการบริโภคทั้งหมด
ผู้บริโภคกาแฟทั่วโลก รวมถึงในสหรัฐฯ กำลังจ่ายเงินในระดับราคาสูงสุดหรือเกือบสูงสุดสำหรับเมล็ดกาแฟอยู่แล้ว หลังจากราคาพุ่งขึ้น 70% เมื่อปีที่แล้วจากปัญหาอุปทานตึงตัว โดยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ราคาฟิวเจอร์สกาแฟอาราบิกาพุ่งขึ้น 1.3% จากข่าวการขึ้นภาษี
นอกจากกาแฟแล้ว กว่าครึ่งของน้ำส้มที่ขายในสหรัฐฯ ก็มาจากบราซิล ซึ่งยังส่งออกสินค้าประเภทอื่นด้วย เช่น น้ำตาล ไม้ และน้ำมัน สหรัฐฯ ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำส้มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากการผลิตในประเทศที่ลดลงอย่างหนักเนื่องจากโรคพืช "citrus greening" พายุเฮอริเคน และอากาศหนาวจัดเป็นช่วง ๆ
รายงานจากกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ เมื่อต้นปีนี้ คาดการณ์ว่า การเก็บเกี่ยวส้มในสหรัฐฯ ในฤดูกาล 2024/25 จะอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 88 ปี ขณะที่การผลิตน้ำส้มจะลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
บราซิลเป็นผู้ผลิตเอทานอลจากอ้อยหรือข้าวโพดรายใหญ่อันดับสองของโลก โดยในปี 2024 บราซิลผลิตเอทานอลราว 35,000 ล้านลิตร แต่ส่งออกไม่ถึง 6% โดยมีเพียงประมาณ 300 ล้านลิตรที่ส่งไปยังสหรัฐฯ ตามรายงานของ BTG Pactual
การประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากบราซิล 50% ได้สร้างแรงกระเพื่อมต่อห่วงโซ่อุปทานสินค้าการเกษตรโลก โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าหลักอย่างกาแฟ น้ำส้ม และเอทานอล ซึ่งล้วนเป็นสินค้าส่งออกหลักของบราซิล และมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำของโลก
แม้เหตุผลทางการค้าคือการลดการพึ่งพาสินค้าจากต่างประเทศ แต่ในมุมของ เป้าหมาย Net Zero และการค้าที่ยั่งยืน การขึ้นภาษีดังกล่าวอาจส่งผลในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อแรงจูงใจในการผลิตและค้าขายสินค้าคาร์บอนต่ำ โดยเฉพาะเมื่อไม่มีการพิจารณามาตรฐานการผลิตด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศผู้ส่งออก
กาแฟ
บราซิลเป็นผู้ส่งออกกาแฟอันดับ 1 ของโลก และถือเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด โดยข้อมูลจาก World Coffee Research ระบุว่า
การผลิตกาแฟอาราบิก้าในบราซิลปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO₂e) เฉลี่ยเพียงประมาณ 5 กิโลกรัมต่อกาแฟคั่ว 1 กิโลกรัม ซึ่งน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ เช่น โคลอมเบีย เอธิโอเปีย หรือเวียดนาม ปัจจัยหลายประการมีส่วนสนับสนุนการขยายตัวของการผลิตกาแฟออร์แกนิกในบราซิล ได้แก่ ความตระหนักรู้ที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคเกี่ยวกับประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก การสนับสนุนจากรัฐบาลต่อเกษตรอินทรีย์ และการพัฒนาแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรแบบยั่งยืน
ผลิตภัณฑ์กาแฟของบราซิลสามารถเข้าถึงตลาดทั่วโลก ปริมาณการส่งออกกาแฟจากบราซิลแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพลวัตของอุปสงค์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป การแข่งขันจากประเทศผู้ผลิตอื่นๆ และภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก
ผลผลิตเมล็ดกาแฟของบราซิลมีบทบาทสำคัญในตลาดกาแฟโลก การผลิตเมล็ดกาแฟอาราบิก้าคุณภาพสูงของประเทศ ประกอบกับการมุ่งเน้นกาแฟออร์แกนิกที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้บราซิลยังคงรักษาสถานะที่แข็งแกร่งไว้ได้ เนื่องจากความต้องการเมล็ดกาแฟจากประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ที่มีจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม บราซิลยังต้องเผชิญกับการแข่งขันจากประเทศผู้ผลิตกาแฟอื่นๆ โดยเฉพาะเวียดนามและโคลอมเบีย
น้ำส้ม
อุตสาหกรรมนี้สร้างงานหลายแสนตำแหน่ง ตั้งแต่ภาคเกษตรกรรมไปจนถึงภาคขนส่ง และมีส่วนสำคัญต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทางการเกษตรของบราซิล
Citrus Belt ซึ่งเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ที่ใช้ปลูกส้ม ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ระบบน้ำหยดและการเกษตรแม่นยำ เพื่อเพิ่มผลผลิตสูงสุดและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
อุตสาหกรรมน้ำส้มของบราซิลกำลังมุ่งสู่แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาค Citrus Belt โครงการริเริ่มต่างๆ มุ่งเน้นไปที่การลดการใช้น้ำ การนำผลพลอยได้จากส้มกลับมาใช้ใหม่ และการพัฒนาพันธุ์ส้มที่ต้านทานศัตรูพืช บริษัทใหญ่ๆ เช่น Cutrale และ Citrosuco กำลังนำแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมาใช้ และองค์กรต่างๆ
น้ำส้มเข้มข้นจากบราซิลปล่อยคาร์บอนเพียง ประมาณ 0.3 กิโลกรัมต่อ 1 ลิตรน้ำส้ม ซึ่งต่ำกว่าน้ำส้มที่ผลิตในสหรัฐฯ เอง (เฉลี่ยประมาณ 0.5–0.7 กิโลกรัม) เนื่องจากกระบวนการผลิตใช้พลังงานชีวมวล และระบบขนส่งทางเรือที่ปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าทางรถ
เอทานอล
บราซิลผลิตเอทานอลจากอ้อยและข้าวโพดรวมกว่า 35,000 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งถือเป็นพลังงานชีวภาพที่มีบทบาทสำคัญต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่ง
แต่หากต้องเสียภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ในอัตรา 50% จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นและ เสียเปรียบด้านราคาเมื่อเทียบกับน้ำมัน แม้จะมีข้อได้เปรียบด้านสิ่งแวดล้อม
อ้างอิงข้อมูล