โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

แม่และเด็ก

ทำความรู้จัก ‘การเรียนร่วม’ (Inclusive Education) เด็กพิเศษ เรียนร่วมกับเด็กทั่วไปได้หรือเปล่า?

Mood of the Motherhood

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว • Features

ปัจจุบันการจัดสังคมในห้องเรียน ไม่ได้ถูกแบ่งให้มีแค่เด็กที่เรียนรู้ได้ในมาตรฐานเดียวกันมาเรียนด้วยกัน แต่ยังประกอบด้วยเด็กที่มีพื้นฐาน ความสามารถ และความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งเด็กที่เรียนรู้ได้เร็ว เด็กที่ต้องการเวลามากกว่า และเด็กที่มีภาวะพิเศษบางด้านระบบการศึกษาทั่วโลกให้ความสำคัญมากขึ้นคือแนวคิด Inclusive Education หรือการเรียนร่วม ซึ่งหมายถึงการออกแบบระบบการศึกษาให้เด็กทุกคน ไม่ว่าจะมีความแตกต่างด้านร่างกาย พัฒนาการ อารมณ์ หรือความสามารถในการเรียนรู้ ได้เรียนร่วมในห้องเดียวกัน โดยมีการปรับวิธีการสอน สื่อการเรียน หรือสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับแต่ละคน ด้วยความเชื่อว่าความแตกต่างไม่ใช่อุปสรรคต่อการเรียนรู้ หากได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสม และห้องเรียนที่หลากหลายจะกลายเป็นพื้นที่ที่เด็กได้เรียนรู้หลายทักษะอย่างเต็มที่แนวคิด Inclusive Education หรือการเรียนร่วมนี้ อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่บางคนรู้สึกกังวลและไม่แน่ใจ เมื่อลูกที่เป็นเด็กทั่วไปต้องมาเรียนร่วมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เช่น เด็กที่มีภาวะออทิสติก (Autism Spectrum) เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities) หรือเด็กที่มีปัญหาทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว เพราะกลัวว่าลูกจะเสียโอกาสในการเรียนรู้จากคนที่มีศักยภาพเท่ากันหรือดีกว่าเราจึงอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจความสำคัญของ ‘การเรียนร่วม’ ผ่านข้อมูลจากงานวิจัยของนักวิชาการที่ได้ศึกษาผลของการเรียนร่วมในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มองเห็นโอกาสและประโยชน์ของห้องเรียนที่มีทั้งเด็กทั่วไปและเด็กที่มีความต้องการพิเศษอยู่ร่วมกันมากขึ้น1. การเรียนร่วมไม่ได้ทำให้เด็กทั่วไปเรียนแย่ลง

ในปี 2009 มีงานวิจัยจากประเทศเนเธอร์แลนด์โดย Dr. Nienke Ruijs และ Prof. Dr. Thea Peetsma นักวิจัยด้านจิตวิทยาการศึกษาแห่ง University of Amsterdam ได้วิเคราะห์งานวิจัยจากหลายประเทศที่ศึกษาเรื่องผลกระทบของการเรียนร่วม (inclusive education) และตีพิมพ์ในวารสาร Educational Research Review โดยสรุปว่าการเรียนร่วมไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อเด็กทั่วไป เด็กยังคงมีผลการเรียนอยู่ในระดับเดิมหรือดีขึ้นในบางกลุ่ม และที่น่าสนใจคือ เด็กที่เรียนร่วมกับเด็กพิเศษมีแนวโน้มจะมีทักษะทางสังคมดีขึ้น เช่น ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความอดทน และการเคารพความหลากหลายต่อมาในปี 2010 ทีมวิจัยเดียวกันซึ่งประกอบด้วย Dr. Nienke Ruijs, Dr. Ineke van der Veen และ Prof. Dr. Thea Peetsma ได้ตีพิมพ์บทความเพิ่มเติมในวารสาร Educational Research โดยใช้ข้อมูลจากเด็กนักเรียนมากกว่า 27,000 คนทั่วประเทศ ผลการศึกษาก็ยังยืนยันเดิมว่าเด็กทั่วไปไม่ได้รับผลกระทบในเชิงลบจากการเรียนร่วมแม้แต่น้อย2. เด็กพิเศษพัฒนาได้มากขึ้นเมื่อมีโอกาสเรียนร่วมกับเพื่อน

ในปี 2007 มีงานวิจัยจากสหราชอาณาจักรโดย Dr. Anna Kalambouka Prof. Peter Farrell Prof. Alan Dyson และ Dr. Ian Kaplan ซึ่งเป็นนักวิจัยด้านการศึกษาและนโยบายสังคมจาก University of Manchester ได้รวบรวมและวิเคราะห์ผลจากงานวิจัย 26 ชิ้นที่ศึกษาเรื่องการเรียนร่วมของเด็กพิเศษกับเด็กทั่วไป โดยตีพิมพ์ในวารสาร Educational Research งานวิจัยชิ้นนี้พบว่า 81 เปอร์เซ็นต์ ของข้อมูลทั้งหมดชี้ว่าการเรียนร่วมส่งผลเป็นบวกต่อเด็กๆ และไม่มีงานวิจัยใดที่พบผลลบที่ชัดเจน การที่เด็กพิเศษได้เรียนในห้องเรียนเดียวกับเพื่อนทั่วไปทำให้พวกเขาได้รับโอกาสในการฝึกทักษะชีวิตจริง เช่น การสื่อสารระหว่างบุคคล การเข้าสังคม การปรับตัว รวมถึงการพัฒนาความกล้าแสดงออกและความภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตในระยะยาวอีกด้วย3. การเรียนร่วมช่วยให้เด็กทุกคนเติบโตเป็นมนุษย์ที่เข้าใจสังคม

งานวิจัยจากหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ แคนาดา และออสเตรเลีย ต่างชี้ว่าการที่เด็กทั่วไปได้อยู่ร่วมกับเด็กพิเศษในห้องเรียนเดียวกันตั้งแต่วัยเด็ก ช่วยให้พวกเขาเข้าใจความหลากหลายทางกายภาพและจิตใจของมนุษย์มากขึ้น ส่งเสริมให้เกิดทักษะความสามารถในการเข้าใจและแบ่งปันความรู้สึกกับผู้อื่น ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นในสังคม4. การไม่ให้เด็กพิเศษเรียนร่วม อาจเป็นการตัดโอกาส มากกว่าการปกป้อง

หลายครั้งที่ผู้ใหญ่มีเจตนาดี อยากให้เด็กพิเศษเรียนแยกออกไปเพราะกลัวว่าจะถูกแกล้ง เรียนไม่ทัน หรือเป็นภาระให้กับเพื่อนร่วมห้อง แต่ในทางกลับกัน การกีดกันไม่ให้เด็กพิเศษเข้าเรียนในระบบปกติ อาจเป็นการตัดเขาออกจากสังคมโดยไม่ตั้งใจงานวิจัยเชิงจิตวิทยาของ Dr. Thomas Hehir อดีตผู้อำนวยการด้านการศึกษาพิเศษของกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐอเมริกา และอดีตศาสตราจารย์แห่ง Harvard Graduate School of Education ได้ศึกษาพบว่า การแยกเด็กที่มีความต้องการพิเศษออกจากห้องเรียนทั่วไปนั้นส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเด็กในห้องเรียนร่วม นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่าเด็กกลุ่มนี้มีพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมที่ด้อยกว่า ซึ่งน่าจะรวมถึงความเชื่อมั่นในตนเองและความรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั่นเองอ่านบทความ: #เมื่อโลกนี้ใจดีกับบุ๋น : คุยกับคุณแม่ผึ้ง ในวันที่ลูกคนพิเศษเกิดมาพร้อมกับความพิเศษอ้างอิงresearchgateedutopia.orghechingerreport.orgpmc.ncbi.nlm.nih.govalana.org.br

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Mood of the Motherhood

Mindful Parenting : เลี้ยงลูกด้วยสติ ช่วยให้ลูกเป็นเด็ก EQ สูงจริงเหรอ?

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

NEWS UPDATE: 9 บทสนทนาระหว่างทารกกับศูนย์ให้คำปรึกษา ที่อ่านแล้วถึงกับหัวเราะ

13 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความยอดนิยม

โรคปอดในเด็ก ยอดพุ่งสูง! พ่อแม่ควรดูแลอย่างไรให้ห่างไกลความเสี่ยง

Mood of the Motherhood

ใจดีแต่ไม่ตามใจ : 5 เทคนิค สร้างสมดุลให้ลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพ

Mood of the Motherhood

Sleep Cycle : เข้าใจวงจรการนอนของลูก ช่วยให้ลูกหลับง่ายและนอนยาว

Mood of the Motherhood
ดูเพิ่ม
Loading...