คดีฆ่าคนจีนโดยคนจีนในไทย ทำไมเรารู้แค่ว่าเขาชื่อ...“หวัง”
…ฆ่าคนในป่าแม่ริม แต่ตำรวจไม่กล้าเปิดชื่อ คือความยุติธรรมที่ยกเว้นให้ใคร? หากวันหนึ่งฆาตกรกลับมาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกับคุณ คุณจะโดนฆ่าเป็นรายต่อไปหรือไม่?…
…นี่ไม่ใช่แค่ปัญหาความโปร่งใสในกระบวนการยุติธรรม แต่สะท้อนความลึกซึ้งของระบบอำนาจและผลประโยชน์ที่แอบแฝงอยู่เบื้องหลัง…
เมื่อช่วงวันที่ 14 ก.ค.68 ที่ผ่านมา เกิดคดีฆาตกรรมสะเทือนขวัญในพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เหยื่อและผู้ต้องหาต่างเป็น “คนจีน”
แต่ที่จำเป็นต้องแปลกใจและชวนสงสัยจนได้พบว่า ข่าวจากสื่อไทยและแถลงการณ์จากเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เพียงคำว่า“นายหวัง” โดยไม่มีการเปิดเผยชื่อเต็มหรือแม้แต่นามสกุลภาษาอังกฤษของผู้ต้องหา
ทั้งที่คดีนี้ไม่ใช่คดีฟอกเงินหรือคดีลับเฉพาะ แต่เป็นคดีอุกฉกรรจ์ประเภทที่สื่อมักรายงานแบบ “เปิดชื่อโชว์หน้ากับผู้ต้องหาไทย”
หากสังเกตให้ดีคุณจะพบว่า 90% ของข่าวอาชญากรรมในไทยมีต้นทางจากแถลงข่าวของตำรวจ และสื่อมักไม่ตรวจสอบต่อ ไม่ตั้งคำถาม และไม่ขุดคุ้ยมากไปกว่านั้น เพราะ “แหล่งข่าวหลัก” คือผู้ถืออำนาจในการเข้าถึงข้อมูล
เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่เปิดเผยชื่อ – และสื่อก็ “ยอมตาม” เมื่อสื่อไม่ตั้งคำถาม – สังคมก็ “ไม่รู้จักตั้งข้อสงสัย” กลายเป็นวัฏจักรของความเงียบที่มีผลลัพธ์ตรงข้ามกับคำว่า “ยุติธรรม
คำถามสำคัญ – ใครกันแน่ที่ถูกยกเว้นจากความโปร่งใสของกระบวนการยุติธรรม ?
การจับกุมผู้ต้องหาในคดีนี้มันน่าตั้งคำถามเป็นอย่างมากว่าเหตุใด?
แก๊งจีนดำในข่าวเป็นฆาตกรรมโหดเหี้ยมระดับข้ามชาติ ลักพาตัวจากลาว ข้ามมาฆ่าทิ้งที่เชียงใหม่ มีภาพวงจรปิด มีบ้านที่ใช้ขัง มีพยานร่วม แต่ไม่มีการเปิดเผยชื่อจริงผู้ต้องหาแม้แต่รายเดียว ไม่มีแม้แต่ “ใบหน้าผู้ต้องหา”
ในการแถลงข่าว ต่างจากคดีคนไทยที่ตำรวจมัก “คุมตัวโชว์” หน้าสื่อ แต่ในคดีนี้ ตำรวจกลับใช้แค่ชื่อเล่น หรือชื่อแฝง เช่น “นาย Xang”, “นายหวัง” เท่านั้น
ตำรวจอ้างเพียงว่า‘อยู่ระหว่างการสอบสวน’ ทั้งที่จับตัวได้แล้ว มีหลักฐาน มีคำให้การ แต่หากคดีที่เกิดกับคนไทยในคดีแบบเดียวกัน ตำรวจไม่เคยชะลอการเปิดชื่อแบบ
สื่อไทยทุกวันนี้ เน้นรายงานเพียงเชิงรับ รับลับสุดขีด เพราะใช้ข่าวตำรวจเป็นหลักฐานเดียว
ในคดีฆาตกรรมทั่วไปโดยเฉพาะในประเทศไทย เรามักจะเห็นการเปิดเผยชื่อ-นามสกุลของผู้ต้องหาอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความโปร่งใสและให้ประชาชนสามารถติดตามกระบวนการยุติธรรมได้อย่างตรงไปตรงมา
แต่ในกรณีนี้ กลับเกิดความย้อนแย้งที่ผิดปกติ เพราะเจ้าหน้าที่เลือกที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวอย่างเต็มที่ โดยให้เหตุผลด้านความปลอดภัยหรือเรื่องของสิทธิส่วนบุคคล
แต่คำถามที่ต้องตั้งคือ ทำไมการเปิดเผยข้อมูลจึงเลือกปฏิบัติแตกต่างกันระหว่างผู้ต้องหาคนไทยกับคนจีนในคดีเดียวกัน?
เรากำลังอยู่ในยุคที่ ชื่อจริงของผู้ต้องหา กลับกลายมาเป็นข้อมูลที่ตำรวจไทยไม่เปิดเผย
ในคดีฆาตกรรมทั่วไปโดยเฉพาะในประเทศไทย เรามักจะเห็นการเปิดเผยชื่อ-นามสกุลของผู้ต้องหาอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความโปร่งใสและให้ประชาชนสามารถติดตามกระบวนการยุติธรรมได้อย่างตรงไปตรงมา
แต่ในกรณีนี้ กลับเกิดความย้อนแย้งที่ผิดปกติ เพราะเจ้าหน้าที่เลือกที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวอย่างเต็มที่ โดยให้เหตุผลด้านความปลอดภัยหรือเรื่องของสิทธิส่วนบุคคล
แต่คำถามที่ต้องตั้งคือ ทำไมการเปิดเผยข้อมูลจึงเลือกปฏิบัติแตกต่างกันระหว่างผู้ต้องหาคนไทยกับคนจีนในคดีเดียวกัน?
คดีรุนแรงระดับนี้ “ควรเปิดเผยชื่อ และ นามสกุลจริง” โดยห้ามอ้างข้ออ้างอื่นใด
ปกติคดีฆาตกรรมตามหลักปฎิบัติต่อประชาชน ตำรวจไทยมักเปิดเผยชื่อ-นามสกุลจริงของผู้ต้องหาทันที และมีการแถลงข่าวต่อสื่อ เปิดหน้า-ชื่อ-อายุ-ภูมิลำเนา
ตัวอย่าง :
• คดี “ก้อย รัชฎาภรณ์” ฆ่าแฟนโยนศพลงน้ำ
• คดี “แม่แตงโม” ขึ้นศาล ฆาตกรรมบนเรือ
• คดี “พ่อฆ่าลูกที่อยุธยา” — ชื่อ-สกุลเปิดหมด
ผลกระทบต่อความยุติธรรมและภาพลักษณ์ตำรวจไทย
การปกปิดชื่อ-นามสกุลจริง ของผู้ต้องหาในคดีนี้ สร้างความสงสัยในความเท่าเทียมของการบังคับใช้กฎหมาย
นอกจากจะทำลายความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบตำรวจแล้ว ยังเปิดช่องให้เกิด “สองมาตรฐาน” ระหว่างผู้ต้องหาชาวไทยและต่างชาติด้วยกันเอง นี่เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการตรวจสอบและแก้ไขอย่างเร่งด่วน
นอกจากนี้การปกปิดตัวตนยังอาจเป็นไป เพื่อปกป้องกลุ่มทุนจีนเทาที่มีอิทธิพลและความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วน ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
ข้อสังเกตและคำถามที่น่าคิด
บางคดีที่ผู้ต้องหาเป็นคนธรรมดาในประเทศ มักถูกเปิดเผยชื่อ-สกุลเร็วมาก (เช่น คดีฆาตกรรมในครอบครัว) แต่คดีใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับต่างชาติหรือทุนสีเทา กลับปิดชื่อ-ไม่เปิดหน้าผู้ต้องหา สะท้อนถึง ความเหลื่อมล้ำในกระบวนการเปิดเผยข้อมูล และอาจมีแรงกดดันทางการเมืองหรือเศรษฐกิจอยู่เบื้องหลัง
ความสัมพันธ์ไทย - จีนในวันที่เกมการเมืองและเศรษฐกิจก็ไม่สู้ดีนัก
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการเมืองระหว่างไทยกับจีนในช่วงที่ผ่านมา มีการเปิดเสรีและสนับสนุนให้นักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น เช่น นโยบายฟรีวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวจีน และโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ชายแดน
การเปิดรับนี้แม้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในบางด้าน แต่ก็ทำให้เกิดช่องว่างให้กับกลุ่มทุนสีเทา หรือจีนเทา ที่เข้ามาแฝงตัวทำธุรกิจที่ผิดกฎหมายในประเทศไทยโดยง่าย
กลไกที่จีนเทาใช้ในการปิดบังตัวตน คือการใช้วิธีส่งตัวบุคคลในรูปแบบนักลงทุน นักท่องเที่ยว หรือแรงงานเสรีเข้ามาในไทย จากนั้นตั้งบริษัทโดยใช้ชื่อนอมินีคนไทย ถือหุ้นและทรัพย์สินแทน จนเมื่อเกิดเหตุอาชญากรรม ผู้ต้องหาจึงกลายเป็น“บุคคลไม่มีตัวตน” ในเชิงกฎหมาย — ถูกเรียกเพียงว่า“หวัง”
แหล่งอ้างอิง
[1] จีนดำฆ่าจีนเทา รีดค่าไถ่ไม่สำเร็จ
[2] “จีนเทาในไทย,” Facebook, 2023.