โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ศึกพลาสติกโลกเดือด เจออิทธิพลธุรกิจฟอสซิล ขวางสนธิสัญญาลดพลาสติก

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว
ท่ามกลางความหวังที่จะสร้างสนธิสัญญาระดับโลกเพื่อหยุดยั้งวิกฤตพลาสติก แต่ตอนนี้กลับมีกลุ่มอิทธิพลจากอุตสาหกรรมน้ำมันและเคมีภัณฑ์ที่กำลังใช้กลยุทธ์ทั้งในและนอกเวทีการเจรจาเพื่อขัดขวางความก้าวหน้า นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อมถูกคุกคาม ปิดกั้น และกันออกจากวงสนทนา ขณะที่ความไม่โปร่งใสของหน่วยงานเจ้าภาพอย่าง UNEP ก็ยิ่งทำให้อนาคตของข้อตกลงสำคัญนี้เต็มไปด้วยคำถาม

ในการประชุมภายใต้กรอบองค์การสหประชาชาติ (UN) ที่เมืองออตตาวา ประเทศแคนาดา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำสนธิสัญญาระดับโลกว่าด้วยการลดมลพิษจากพลาสติก กลับกลายเป็นเวทีที่เต็มไปด้วยแรงกดดันจากอุตสาหกรรมพลาสติกและกลุ่มล็อบบี้ยิสต์ทรงอิทธิพล จนกระทั่งทำให้กระบวนการเจรจาตกอยู่ภายใต้ความตึงเครียด และเต็มไปด้วยการคุกคามนักวิทยาศาสตร์และผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ

หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่ตกเป็นเป้า คือ “ศาสตราจารย์เบธานี คาร์นีย์ อัลมรอธ” นักพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก ประเทศสวีเดน เธอถูกเจ้าหน้าที่จากบริษัทเคมีภัณฑ์รายใหญ่ของสหรัฐล้อมและตะโกนใส่ในที่ประชุม โดยกล่าวหาว่าเธอบิดเบือนความจริง อีกทั้งยังถูกตัวแทนจากบริษัทบรรจุภัณฑ์พลาสติกข่มขู่และตะโกนใส่ในงานที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการโดยสหประชาชาติ

ไม่เพียงแค่นั้น เธอยังเปิดเผยว่าเธอถูกคุกคามหลายครั้งทั้งในงานประชุมวิชาการ อีเวนต์ข้างเคียง รวมถึงทางอีเมล ซึ่งทำให้ต้องเพิ่มมาตรการความปลอดภัยส่วนตัว เช่น การใช้ฟิล์มกันแอบมองหน้าจอโทรศัพท์ เพราะเคยถูกบุคคลจากฝั่งอุตสาหกรรมเดินตามและพยายามสอดส่องข้อมูลหรือบันทึกภาพหน้าจอขณะทำงาน

แหล่งข่าวหลายรายที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาเผยว่าการประชุมครั้งนี้ถูก “แทรกแซงอย่างเบ็ดเสร็จ” โดยกลุ่มทุนอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มที่มีผลประโยชน์จากการผลิตพลาสติกอย่างกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน หรือ “petrostates” ซึ่งรวมถึงซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย และอิหร่าน

การเจรจาซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2022 และมีกำหนดจัดรอบต่อไปในเดือนสิงหาคมนี้ที่เจนีวา ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ โดยกว่าหลายร้อยประเทศ และนักวิทยาศาสตร์กว่า 1,100 ราย เรียกร้องให้มีการจำกัดการผลิตพลาสติกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันและผู้ประกอบการกลับผลักดันให้เน้นที่การจัดการขยะและการรีไซเคิลแทน อย่างไรก็ตาม องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมและนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า การรีไซเคิลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริง ปัจจุบันมีพลาสติกเพียง 9% เท่านั้นที่ถูกรีไซเคิล ส่วนที่เหลือกลายเป็นมลพิษต่อดิน น้ำ อากาศ และสุขภาพของมนุษย์

การเจรจาที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีตัวแทนล็อบบี้ยิสต์จากภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วมถึง 220 คน ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้แทนจากประเทศเจ้าภาพ และมากกว่านักวิทยาศาสตร์อิสระถึง 3 เท่า โดยบางส่วนได้รับสิทธิเข้าร่วมในฐานะผู้แทนของประเทศ ซึ่งเปิดโอกาสให้เข้าถึงห้องประชุมลับเฉพาะสมาชิก นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมยังได้รับสิทธิเป็น “ผู้สังเกตการณ์จากภาคประชาสังคม” เทียบเท่ากับกลุ่มผู้หญิง เยาวชน ชนพื้นเมือง และนักวิทยาศาสตร์ แม้จะมีผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างชัดเจน โดยกลุ่มนี้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นกว่า 30 องค์กรในปี 2023 เพียงปีเดียว โดยกลุ่มที่มีอิทธิพลสูงสุดคือ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยบริษัทชั้นนำด้านพลาสติกและเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น Sabic, BP, Dow, Chevron และ Shell และยังมีบทบาทสำคัญในฐานะประธานกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมในการเจรจา

องค์กรสหประชาชาติด้านสิ่งแวดล้อม (UNEP) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการเจรจา ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะผู้อำนวยการบริหาร “อิงเกอร์ แอนเดอร์เซน” ที่ถูกกล่าวหาว่าขาดวิสัยทัศน์ และอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศเจ้าภาพจัดงาน UN หลายรายการในช่วงที่ผ่านมา และบริจาคเงินกว่า 20 ล้านดอลลาร์ให้กับ UNEP แม้ UNEP จะยืนยันว่าตนเป็นเพียงผู้จัดการประชุมและเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม แต่หลายฝ่ายมองว่าควรมีนโยบายป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนให้ชัดเจนกว่านี้ ซึ่งจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการกำหนดออกมา

ส่วนเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ SCEPT ซึ่งประกอบด้วยนักวิจัยกว่า 450 คนจากทั่วโลก ไม่มีความเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม ได้เข้าร่วมในฐานะกลุ่มที่ปรึกษาให้กับประเทศกำลังพัฒนา แต่กลับไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลและการประชุมบางส่วนในรอบล่าสุดได้ และยังระบุว่า ความเห็นกว่า 300 รายการที่ส่งให้ UNEP ต่อรายงานสำคัญเรื่องแนวทางแก้ปัญหาพลาสติกในปี 2023 ไม่ได้รับการพิจารณา อ้างว่าอีเมล “ตกหล่นทางเทคนิค”

อย่างไรก็ตาม อีก 95 ประเทศได้รวมพลังกันออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน เรียกร้องให้มีสนธิสัญญาพลาสติกที่เข้มแข็ง ระบุว่า “ภูเขาพลาสติกกำลังทำลายระบบนิเวศ ห่วงโซ่อาหาร และอนาคตของลูกหลานเรา” และบรรยากาศของการเจรจาเต็มไปด้วยความตึงเครียดและอุปสรรค โดยเฉพาะจากกลุ่มทุนและประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่ถูกมองว่าเจตนาขัดขวางกระบวนการไม่ให้เดินหน้า

ด้านศาสตราจารย์ คาร์นีย์ อัลมรอธ กล่าวว่า กลุ่มล็อบบี้ยิสต์สามารถเข้าถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูง พูดคุยกับรัฐมนตรี และเข้าห้องประชุมที่นักวิทยาศาสตร์ธรรมดาไม่สามารถเข้าถึงได้ เพราะพวกเขามีกำลังทรัพย์มากกว่า เธอสรุปว่า สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในเวทีเจรจาเรื่องพลาสติกนั้น คล้ายกับสิ่งที่เคยเกิดกับอุตสาหกรรมยาสูบในอดีต คือ การบิดเบือนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ กดดันผู้วิจัย และสร้างความสับสนในสาธารณชนเพื่อชะลอการออกกฎหมายที่ส่งผลต่อธุรกิจ ถึงแม้เธอจะเผชิญกับการคุกคามซ้ำแล้วซ้ำเล่า เธอยังคงยืนหยัดและเชื่อมั่นว่าหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยังสามารถเปลี่ยนแปลงอนาคตของโลกได้ หากมีคนกล้าพอจะพูดความจริง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

คาดการณ์อากาศเดือนส.ค.68 ทั่วไทยมีฝน 60-80%

38 นาทีที่แล้ว

พรมจากเส้นผมมนุษย์ กู้วิกฤตภัยแล้งในชิลี

44 นาทีที่แล้ว

สดุดี 6 ทหารกล้าชายแดนไทย–กัมพูชา สละชีพเพื่อปกป้องแผ่นดิน

48 นาทีที่แล้ว

เซฟ เดอะ ชิลเดรนเรียกร้องยุติความรุนแรงชายแดนไทย–กัมพูชา หลังเด็กได้รับผลกระทบ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

สมาคมข่าวออนไลน์ ย้ำสมาชิกยึดแนวปฏิบัติ รายงานข่าวชายแดนไทย-กัมพูชา

ประชาชาติธุรกิจ

อุตุฯเตือน 7 จังหวัดเตรียมรับมือฝนถล่ม พร้อมจับตา "พายุก๋อมัย"

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

ตร.ราชบุรีฆ่าพ่อเข้ามอบตัว ตร.ค้านประกัน-ดำเนินคดีอาญาเต็มรูปแบบ

Manager Online

น้ำใจจากแนวหลัง อ่างทองแห่ “บริจาคเลือด” ช่วยผู้บาดเจ็บเหตุปะทะชายแดน ไทย-กัมพูชา กันอย่างคึกคัก

Manager Online

คาดการณ์อากาศเดือนส.ค.68 ทั่วไทยมีฝน 60-80%

TNN ช่อง16

กองทัพบก สดุดีกำลังพลผู้เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้า ที่ปกป้องอธิปไตย

ข่าวเวิร์คพอยท์ 23

เมืองจันท์คึกคัก! สถานบันเทิงผู้คนยังแน่นร้าน หลังประกาศกฎอัยการศึก

เดลินิวส์

(คลิป) อบจ.กาญจนบุรีลดธงชาติกัมพูชาต่ำกว่าชาติอาเซียน ประท้วงเหตุยิงใส่ รพ.พนมดงรัก

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

ทุกประเทศต้องเอาจริงเรื่องแก้ไขปัญหาโลกร้อน ไม่เช่นนั้นอาจถูกฟ้องร้องได้

TNN ช่อง16

โลกใกล้ถึงจุดเปลี่ยน! พลังงานสะอาดครองอนาคต UN ชี้พลังงานฟอสซิลเริ่มไร้ที่ยืน

TNN ช่อง16

งานวิจัยชี้ “ฝาโลหะทาสี” ตัวการปล่อย “ไมโครพลาสติก” ปนเปื้อนเครื่องดื่มหลายชนิด!

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...