โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

ดีลภาษีไทย-สหรัฐฯ สัญญาณดี! โบรกฯ ชี้ หากได้ต่ำกว่าอินโดฯ- เวียดนาม หุ้นไทยเตรียมทะยาน 1,300 จุด

Share2Trade

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Share2Trade

พัฒนาการเจรจาการค้าสหรัฐฯ – ไทยทยอยใกล้สู่ข้อสรุปมากขึ้น ด้านนักวิเคราะห์เริ่มเห็นโอกาสบวกมากขึ้น หลังไทยเสนอเปิดนำเข้าเสรีสูงถึง 90% ลดช่องว่างการแข่งขันเวียดนาม-อินโดนีเซีย

ดีลภาษีไทย-สหรัฐฯ_S2T (เว็บ) copy_0.jpg

นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองถึงความคืบหน้าการเจรจาการค้าสหรัฐฯ – ไทย หลังมีการเจรจาเพิ่มกันคืนวานนี้ ซึ่งแนวทางล่าสุดที่กระทรวงการคลังประเมิน
1.ต้องชั่งน้ำหนักให้สมดุล 2 มิติ แง่ผลกระทบผู้ส่งออก และผู้ผลิตกับเกษตรกรในประเทศ ทำให้อาจไม่จำเป็นต้องเปิดเสรีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯทั้งหมด

2.ไม่กังวลข้อเสียเปรียบกับเวียดนามโดยมองสินค้าส่วนใหญ่ผลิตในประเทศต่ำกว่าไทย ทำให้ระดับภาษีจริงที่จะโดนเก็บน่าจะโอนเอียงไปในทาง 40% (เกณฑ์สหรัฐฯกำหนดสำหรับสินค้าสวมสิทธิ์มากกว่า)

โดยอิงข่าวล่าสุดที่มีการนำเสนอการเปิดเสรีนำเข้าสัดส่วนสูงถึง 90% (จากเดิม 60-69% ของสินค้าทั้งหมด) ประเมินโอกาสทางบวกขึ้น ทำให้ช่องว่างองค์ประกอบดังกล่าวใกล้เคียงเวียดนามและอินโดนีเซีย (เปิด 100%) ช่วยลดความกังวลมุมมองเดิมที่ประเมินไว้

สำหรับมุมมองเดิมคือข้อเสนอนำเข้าสินค้าสหรัฐฯดังกล่าวยังต่ำกว่าประเทศในอาเซียนที่บรรลุข้อตกลงแล้วค่อนข้างมาก vs ในส่วนเวียดนาม และ อินโดนีเซีย ที่เปิดเสรีทั้งหมด (ได้ดีล 20% และ 19% ตามลำดับ) ผสาน เงื่อนไขอื่นที่ไทยไม่ได้มีภาพสหรัฐฯกังวลเท่าเวียดนาม โดยเฉพาะสินค้าสวมสิทธิ์ ที่เหลือระดับดีลน่าจะขึ้นกับสิทธิ์พิเศษที่บางประการที่ให้สหรัฐฯ โดยในส่วนของไทยเราคงมุมมองกรณีฐาน (50%) ว่าไทยจะได้ภาษีราว 19-25%

ทั้งนี้ จากดีลที่ทยอยมีข้อสรุป และการประเมินมุมมองการแข่งขันใหม่ ผ่านการอิง Effective tariff rate (คำนวนณใช้ภาษีนำเข้าถ่วงน้ำหนักตามสินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้าแต่ละประเทศนั้น เพื่อสะท้อนความถูก - แพงในมุมมองผู้บริโภคสหรัฐฯ) ฉากทัศน์ใหม่จะเหลือ 4 รูปแบบ โดยสรุประดับภาษีที่ไทยเสี่ยงเสียศักยภาพแข่งขันด้วยแนวทางดังกล่าวจะอยู่ที่เกินกว่า 25% ดังนี้

สำหรับ 4 ฉากทัศน์ที่ประเมินใหม่ ประกอบด้วย

1.ไทยได้ดีล Reciprocal Tariff 15–18% โดย Effective Ttariff Rate (ETR) ของไทยสุทธิจะอยู่ราว 17-18% ต่ำกว่าอินโดนีเซีย (ETR 26%)และเวียดนาม (ETR 18.4%) และคาดดัชนีตลาดหุ้นไทยจะตอบรับทางบวก Bullish +5% ไปซื้อขาย 1,260-1,300 จุด

กลยุทธ์เน้นนิคมฯ WHA, AMATA รับ FDI China plus 1 Export Tech เน้น DELTA, KCE, HANA : ส่งออก TU, ITC, AAI, STA กลุ่มนำเข้า (กรณีไทยตกลงงดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เช่นกัน) COM7, ADVICE, SYNEX, BE8, BBIK, GULF, GPSC, PTTGC, CPF (กรณีไม่นำเข้าสุกร - ไก่) และกลุ่มInfra + Import Technology Play กรณีไทยมีข้อเสนอพิเศษเปิดสหรัฐฯลงทุน Data Center ใช้ไทยเป็นศูนย์กลาง GULF, ADVANC

2. ไทยได้ดีลภาษี Reciprocal Tariff 19-22% โดย Effective Ttariff Rate (ETR) ETR ของไทยจะอยู่ราว 19% ต่ำกว่าระดับอินโดนีเซีย ETR 26% แต่ใกล้เคียงกับเวียดนาม และคาดดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับขึ้นแคบๆ 2-3% กรอบ 1,230-1,260 จุด

กลยุทธ์ Selective Reopening Trade ที่ Deep Value อาทิ Export KCE, HANA นิคมฯ WHA, AMATA กลุ่มนำเข้า (กรณีไทยตกลงงดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เช่นกัน) ADVANC, COM7, ADVICE, INSET และนำเข้าก๊าซ PTTGC, GPSC, BGRIM

3.ไทยได้ดีลภาษี Reciprocal Tariff 22-25% โดย Effective Ttariff Rate (ETR) ของไทยจะอยู่ราว 21% ดีกว่าอินโดนีเซีย และแต่ยังแข่งกับเวียดนามได้ ซึ่งประเมินเป็นกลางต่อดัชนีตลาดหุ้นไทยจะแกว่งตัวรอปัจจัยใหม่บริเวณ 1,200-1,230 จุด

สำหรับกลยุทธ์ หุ้นเด่นเน้น กลุ่ม Domestic Defensive BDMS, CPALL โรงไฟฟ้า GULF, GPSC เปิดเมือง–ท่องเที่ยว MINT, CENTEL กลุ่ม เช่าซื้อ KTC, MTC

4.ไทยไม่ได้ดีล ภาษี Reciprocal Tariff 1 ส.ค. คง 36% (แย่กว่าอินโดนีเซียและเวียดนาม)โดย Effective Ttariff Rate (ETR) ของไทยจะอยู่ 25% ดีกว่าอินโดนีเซียเล็กๆที่ 26% แต่เสียเปรียบเวียดนาม 18.4% ประเมินเป็นลบเทียบกับความคาดหวังตลาดในปัจจุบัน ดัชนีตลาดหุ้นมีโอกาสปรับฐานลงไปแกว่งบริเวณ 1,120-1,150 จุด

กลยุทธ์เน้นหุ้นดอกเบี้ยลดแบบเร่งลดผลกระทบเศรษฐกิจ KTC, MTC High Yield ADVANC, AP หนี้สูง อาทิ TRUE, MINT, CPALL Defensive: GULF, BCPG กลุ่ม Healthcare BDMS, BCH, CHG ท่องเที่ยว CENTEL, ERW

นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองว่าผลการเจรจาการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ คาดว่าอัตราภาษีสุดท้ายที่สหรัฐฯ จะเรียกเก็บจากไทยจะอยู่ในช่วง 18%-20% และเชื่อว่าข้อเสนอใหม่นี้จะช่วยลดส่วนเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ที่มีมูลค่า 46,000 ล้านดอลลาร์ ลงได้ 70% ภายใน 3 ปี และทำให้การค้าสมดุลภายใน 5 ปี

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Share2Trade

รายงานพิเศษ : SSP ลุยอาเซียน ตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานลมฟิลิปปินส์ ดันรายได้เติบโตอย่างยั่งยืน

44 นาทีที่แล้ว

POP MART อาร์ททอยจีน หุ้นของเล่น...แต่ผลงานไม่เล่น

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไทยพาณิชย์ คว้ารางวัล “ธนาคารแห่งปี 2568” เป็นครั้งที่ 17

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

BBL ไตรมาส1/68 กำไร 2.44 หมื่นลบ. สะท้อนความสามารถการบริหารสินทรัพย์ท่ามกลางความท้าทาย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความหุ้น การลงทุนอื่น ๆ

Daily Recap Gold Spot 18-07-2568

ฮั่วเซ่งเฮง

NCP มาเงียบๆ วางเป้า “รายได้-กำไร” ปี 68 โตแรงไม่เบา!

Share2Trade

“ทรัมป์” เตรียมส่งจดหมายกว่า 150 ประเทศ แจกภาษี 10%/15%

ฮั่วเซ่งเฮง

ก.ล.ต. อนุมัติไฟลิ่งหุ้นกู้ KUN ครั้งที่ 2/68 ชูดอกเบี้ย 7.40% ต่อปี มั่นใจ! ชำระหุ้นกู้ชุดเดิมก่อนเสนอขาย

The Better

สหรัฐฯ ฟันภาษีโหด เก็บเพิ่ม 93.5% แกรไฟต์แอโนดจากจีน ตอบโต้การทุ่มตลาด

ฮั่วเซ่งเฮง

Daily Recap Gold Futures 18-07-2568

ฮั่วเซ่งเฮง

อัปเดตล่าสุด แก้หนี้นอกระบบแล้วกว่า 2,543 ล้าน ช่วย 8.4 หมื่นราย

The Bangkok Insight

Derivative Recap 18-07-2568

ฮั่วเซ่งเฮง

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...