โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

ขบวนการฉ้อโกงบน Android ครั้งยิ่งใหญ่ ถูกเปิดโปง พบเกี่ยวพันกับแอปฯ ปลอมมากกว่า 300 แอปฯ

Thaiware

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Sarun_ss777
แฮกเกอร์จะวางแอปฯ ปลอมบน App Store หลอกให้ดาวน์โหลด พอรันแล้วตัวแอปฯ จะยิง Ads ใส่เหยื่อ แถมการลบแอปฯ ทำได้ยาก

ตามปกติเมื่อพบกับแอปพลิเคชันปลอมปนมัลแวร์ หรือโฆษณาปลอม หลายคนอาจคิดว่าแต่ละตัวเป็นปฏิบัติการหลอกลวงแบบเดี่ยว ๆ แต่แท้จริงแล้ว เบื้องลึกนั้นอาจเกี่ยวพันกับขบวนการฉ้อโกงใหญ่ก็ได้

จากรายงานโดยเว็บไซต์ The Hacker News ได้กล่าวถึงการเข้าตรวจสอบแคมเปญหลอกลวงผ่านทางโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือที่มีชื่อว่า IconAds ซึ่งอาศัยการหลอกให้เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมที่แอบอ้างเป็นแอปพลิเคชันชื่อดังตัวอื่น ๆ เพื่อส่งโฆษณา (Ads) ขึ้นบนเครื่องของเหยื่อ ซึ่งโฆษณาเหล่านั้นสามารถนำพาเหยื่อไปยังเว็บไซต์อันตรายอีกทอดหนึ่งได้ และตัวแฮกเกอร์ก็จะได้ส่วนแบ่งจากค่าโฆษณาที่ถูกยิงใส่เครื่องของเหยื่อ โดยทีมวิจัยจาก HUMAN Security บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันการฉ้อโกงออนไลน์ ซึ่งจากการตรวจสอบแล้วพบว่าแคมเปญดังกล่าวนั้นมีความเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชันปลอมมากถึง 352 ตัว ด้วยกัน

ซึ่งในการทำงานของแคมเปญนี้นั้น เมื่อมีผู้ที่ติดตั้งแอปพลิเคชันที่เกี่ยวโยงกับแคมเปญดังกล่าว ซึ่งมักแฝงตัวอยู่บนแอปสโตร์อย่างเป็นทางการ เช่น Google Play Store ตัวแอปพลิเคชันจะทำการตีรวนเพื่อสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้งาน และตัวระบบ (Obfuscation) ด้วยการแสดงผลตัวไอคอน และชื่อของแอปพลิเคชันคล้ายกับว่าเป็นแอปพลิเคชันจริง ๆ แต่หลังจากรันขึ้นมาแล้ว ตัวแอปพลิเคชันปลอมนี้ก็จะทำการสื่อสารกับเซิร์ฟเวอร์ควบคุม (C2 หรือ Command and Control) เพื่อดึงเอามัลแวร์ตัวจริงลงมาขณะที่ยังคงตัวไอคอน และชื่อเดิมอยู่บนหน้าจอ ไม่เพียงเท่านั้น ตัวแอป และไอคอน จะยังถูกซ่อนไม่ให้ปรากฏบนหน้าจอ Home เพื่อป้องกันการถูกลบโดยง่ายอีกด้วย โดยปัจจุบันแอปพลิเคชันปลอมเหล่านี้กำลังระบาดหนักในประเทศ บราซิล, เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา

ขบวนการฉ้อโกงบน Android ครั้งยิ่งใหญ่ ถูกเปิดโปง พบเกี่ยวพันกับแอปฯ ปลอมมากกว่า 300 แอปฯ

ขบวนการฉ้อโกงบน Android ครั้งยิ่งใหญ่ ถูกเปิดโปง พบเกี่ยวพันกับแอปฯ ปลอมมากกว่า 300 แอปฯ

ภาพจาก: https://martech.org/how-to-tackle-ad-fraud/

ทีมวิจัยยังเผยอีกว่า ในบางสายพันธุ์นั้น ถึงขั้นปลอมตัวเป็นแอปพลิเคชัน Play Store ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับเข้าสู่แอปสโตร์อย่างเป็นทางการสำหรับผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือบนระบบปฏิบัติการ Android โดยเมื่อผู้ใช้งานกดใช้งานแอปพลิเคชันปลอมดังกล่าว ตัวแอปพลิเคชันจะพาผู้ใช้งานไปยังแอปสโตร์จริง แต่ในขณะเดียวกันตัวมัลแวร์ก็จะทำงานอยู่เบื้องหลัง (Background) ในการติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์เพื่อแสดงผลโฆษณา

ทว่าก็ยังมีข่าวดีเกี่ยวกับแคมเปญนี้อยู่บ้างคือ แอปพลิเคชันปลอมที่กล่าวมามักจะอยู่บนแอปสโตร์ได้ไม่นาน ซึ่งล่าสุด ทาง Google ก็ได้ทำการลบแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับแคมเปญนี้จากบน Google Play Store ไปเป็นจำนวนมากแล้ว ถึงกระนั้น ทางทีมวิจัยก็คาดการณ์ว่า ทีมแฮกเกอร์ที่อยู่เบื้องหลังแคมเปญนี้จะพัฒนาตัวแคมเปญที่ซับซ้อน และแนบเนียนกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอน

และแคมเปญการฉ้อโกงผ่านทางโฆษณาอันตรายนั้น IconAds ก็ไม่ใช่แคมเปญเดียวที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ทางทีมวิจัยจาก IAS Threat Lab องค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจจับการฉ้อโกงผ่านโฆษณาออนไลน์ ได้ตรวจพบแคมเปญที่มีชื่อว่า Kaleidoscope โดยแคมเปญนี้แฮกเกอร์จะล่อลวงเหยื่อด้วยการวางแอปพลิเคชันที่รูปร่างหน้าตาภายนอกเหมือนกันทุกประการ ซึ่ง แอปพลิเคชันตัวจริงที่ดูไม่มีพิษภัยจะถูกวางไว้บน Google Play Store ขณะที่แอปพลิเคชันแฝงมัลแวร์จะวางไว้บนแอปสโตร์แบบ 3rd Party ซึ่งจะเป็นสร้างความน่าเชื่อถือ หลอกลวงให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลดแอปปลอมจากแอปสโตร์อย่างหลังไปติดตั้ง เครื่องของเหยื่อก็จะถูกรบกวนด้วยโฆษณาที่ไม่ต้องการ และแฮกเกอร์ก็จะได้รับส่วนแบ่งจากค่าโฆษณาในทันที ซึ่งแอปพลิเคชันปลอมที่เกี่ยวข้องกับแคมเปญนี้นั้น ทางทีมวิจัยพบว่ากำลังระบาดในแถบประเทศลาตินอเมริกา, ตุรกี, อินเดีย และอียิปต์

นอกจากแคมเปญการฉ้อโกงด้วยแอปพลิเคชันปลอมเพื่อส่งโฆษณาลงเครื่องของเหยื่อแล้ว แหล่งข่าวยังได้กล่าวถึงการหลอกลวงเพื่อขโมยข้อมูลบัตรเครดิตผ่านทางระบบ NFC (Near Field Communication) และการหลอกติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมเพื่อขโมยข้อมูลบนระบบข้อความสั้น (SMS หรือ Short Message Service) อีกด้วย

➤ Website : https://www.thaiware.com
➤ Facebook : https://www.facebook.com/thaiware
➤ Twitter : https://www.twitter.com/thaiware
➤ YouTube : https://www.youtube.com/thaiwaretv

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thaiware

สายเถื่อนอ่วม ! แฮกเกอร์ทำเว็บแจกแคร็กปลอมกว่า 300 เว็บไซต์ โหลดแล้วติดมัลแวร์ขโมยข้อมูลแน่นอน

1 วันที่แล้ว

ไมโครซอฟท์ประกาศ ! เตรียมตัวนำเอาฟีเจอร์ Password Management ออกจากแอป Authenticator สิงหาคม นี้

1 วันที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอทีอื่น ๆ

Samsung เปิดตัว Galaxy F36 5G ราคาประหยัด แต่ได้จอ 120 Hz, กล้อง 50 ล้านพิกเซล และอัปเกรดซอฟต์แวร์ 6 ปี

BT Beartai

ทรัมป์เก็บภาษีกราไฟต์จากจีน 93.5% สะเทือนตลาดรถ EV สหรัฐฯ

BT Beartai

Microsoft ยุติการใช้วิศวกรจีนให้บริการที่เกี่ยวกับกองทัพสหรัฐฯ

BT Beartai

Samsung เปิดตัวไลน์อัพจอพับใหม่ Z Fold7 สุดยอดนวัตกรรม, Z Flip7 สวยล้ำนำเทรนด์ และ Z Flip7 FE จอพับสำหรับทุกคน

Siamphone

รวมสมาร์ตโฟนออกใหม่ ประจำเดือนกรกฎาคม 2025

Siamphone

แฮกสำเร็จ พบ ช่องโหว่ ChatGPT หลอกเอาคีย์ Windows แท้

Techhub

โกยเงินนับล้าน ใช้ AI สร้างภาพเปลือย เข้าข่ายการผลิตสื่อลามก

Techhub

เปิดโลกโปรแกรมเมอร์ รวมเพลย์ลิสต์ดูฟรี เขียนโปรแกรมภาษา Python

Techhub

ข่าวและบทความยอดนิยม

ไมโครซอฟท์ประกาศ ! เตรียมตัวนำเอาฟีเจอร์ Password Management ออกจากแอป Authenticator สิงหาคม นี้

Thaiware

งานวิจัยพบว่า ChatGPT ช่วยเพิ่ม Traffic ให้เว็บข่าวได้จริง แต่เทรนด์ผู้เข้าชมโดยรวมกลับลดลง

Thaiware

มือถือ Android กว่าแสนเครื่องในอุซเบกิสถาน ตกเป็นเหยื่อมัลแวร์ขโมย SMS ตัวใหม่ Qwizzserial

Thaiware
ดูเพิ่ม
Loading...