'ร่าง พ.ร.บ.หวยเกษียณ' ฉบับเต็มล่าสุด อายุ 15+ ซื้อสลาก กอช. ลุ้นทุกศุกร์
มติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร (สส.) วันที่ 23 ก.ค. 68 เห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) หรือ พ.ร.บ.กอช. หรือที่รู้จักกันคือ 'หวยเกษยีณ' ซึ่งมีการแก้ไขให้สามารถออกและขายสลากให้แก่ประชาชนได้ ด้วยเสียงเห็นด้วย 427 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง และะ 3 คนงดออกเสียง
ทำให้ ร่างกฎหมายหวยเกษียณ จะถูกส่งต่อคิวให้ที่ประชุมวุฒิสภา (สว.) พิจารณาตราเป็นกฎหมายเพื่อบังคับใช้ต่อไป)
โดยรายละเอียดของร่างกฎหมายโดยสรุประบุว่า ผู้ซื้อสลากกอช. หรือ หวยเกษียณต้องมีอายุ 15 ปีขึ้นไป และเป็นสัญชาติไทย สลากมีราคาฉบับละ 50 บาท ออกรางวัลทุกวันศุกร์ เวลา 17.00 น.
โดยแบ่งประเภทของรางวัลเป็น รางวัลที่ 1 จำนวน 5 รางวัล รางวัลละ 1 ล้านบาท และรางวัลที่ 2 จำนวน 10,000 รางวัล รางวัลละ 1,000 บาท โดยเงินรางวัลจะโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ของผู้ซื้อโดยอัตโนมัติ
สำหรับเงินที่ซื้อสลาก ไม่ว่าจะถูกรางวัลหรือไม่ จะถูกเก็บเข้าสู่บัญชีเงินออมโดยอัตโนมัติ และจะได้รับคืนทั้งหมดเมื่ออายุครบ 60 ปี เพื่อนำไปใช้ในยามเกษียณ สำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี ยังสามารถซื้อได้ โดยจะได้รับเงินคืนเมื่อถือครองครบ 5 ปี และหากเสียชีวิตก่อนครบกำหนด เงินจะตกเป็นมรดกให้กับทายาทตามสิทธิ
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน กมธ. ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาฯว่า "หวยเกษียณไม่ใช่การพนัน" เพราะเงินทุกบาทคือการออม และมองว่าเยาวชนอายุ 15 ปี มีวุฒิภาวะพอที่จะเริ่มต้นการออมได้แล้ว พร้อมเผยว่า กมธ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในกฎกระทรวง เพื่อเปิดช่องให้ถอนเงินบางส่วนก่อนอายุ 60 ปีได้ เช่น ในกรณีที่มีเงินสะสมถึงเกณฑ์ขั้นต่ำต่อการดำรงชีวิตแล้ว เงินส่วนเกินสามารถถอนออกมาใช้ได้
ส่วนเหตุผลที่จำกัดการซื้อหวยเกษียณใบละ 50 บาท อยู่ที่ 3,000 บาทต่อคนต่อเดือน เพราะเปิดสิทธิให้ทุกคนที่มีอายุ 15ปีขึ้นไปที่มีสัญชาติไทย จึงมีทั้งคนรวย และคนไม่รวย ไม่ต้องการให้คนรวยมากว้านซื้อ จึงกันไว้ที่ 3,000บาทต่อคนต่อเดือน เจตนารมณ์คือ คนมีรายได้น้อยที่เป็นฐานของประเทศ ต้องพัฒนาคนกลุ่มนี้ให้มีการออมเกิดขึ้น อีกเจตนาของหวยเกษียณคือ สู้กับหวยใต้ดิน ลองนึกภาพดูหวยใต้ดินประชาชนมีความสุขตอนซื้อ แต่มีความทุกข์ตอนถูกหวยกิน เงินที่ถูกหวยกินลงสู่ใต้ดิน ไม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ แต่หวยเกษียณเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
สำหรับ“ร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..)” ที่ผ่านสภาผู้แทนฯ เป็นเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมี นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ…… โดยมีบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพ.ร.บ. ดังนี้
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 ดังต่อไปนี้
(1) เพิ่มบทนิยามคำว่า "สลาก กอช." "ผู้ออมทรัพย์" และคำว่า "เงินออมทรัพย์" (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 3)
(2) แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ ทรัพย์สิน และอำนาจกระทำกิจการของกองทุนการออมแห่งชาติ เพื่อรองรับการออกและขายสลากออมทรัพย์เพื่อการดำรงชีพในยามชราภาพของกองทุนการออมแห่งชาติ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5 วรรคสาม และเพิ่มมาตรา 7 (2/1) และมาตรา 9 (2/1
(3) เพิ่มอำนาจของคณะกรรมการกลงทุนการออมแห่งชาติในการกำหนดวิธีการขายสลากออมทรัพย์เพื่อการดำรงชีพในยามชราภาพ วิธีการชำระเงินเพื่อซื้อสลากอมทรัพย์เพื่อการดำรงชีพในยามชราภาพ และวิธีการจ่ายเงินรางวัล (เพิ่มมาตรา 20 (1/1)
(4) เพิ่มบทบัญญัติเพื่อรองรับการออกและขายสลากออมทรัพย์เพื่อการดำรงชีพในยามชราภาพ และสิทธิประโยชน์ของผู้ออมทรัพย์ (เพิ่มหมวด 3/1 การออกและขายสลาก กอช. และสิทธิประโยชน์ของผู้ออมทรัพย์ มาตรา 44/1 ถึงมาตรา 44/14
(5) เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการเงินและการบัญชีของกองทุนการออมแห่งชาติเพื่อรองรับการบริหารจัดการเงินที่ผู้ออมทรัพย์ซื่อสลากออมทรัพย์เพื่อการดำรงชีพในยามชราภาพและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว (เพิ่มมาตรา 46 (2/1) และ (2/2) และมาตรา 49/1 และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 46 (3) และมาตรา 50 (1)
(6) แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของกองทุนการออมแห่งขาตีในการแจ้งให้ผู้ออมพรัพย์ทราบยอดเงินที่ผู้ออมทรัพย์ซื้อสลากออมทรัพย์เพื่อการดำรงชีพในยามชราภาพและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 51)
เหตุผล
โดยที่มาตรา 74 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้รัฐพึงจัดให้มีหรือส่งเสริมการออมเพื่อการดำรงชีพเมื่อพ้นวัยทำงาน แต่เนื่องจากในปัจจุบันระบบการออมเงิน เพื่อการดำรงชีพในยามชราภาพที่มีอยู่ของประเทศไทยยังไม่ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม และประชาชนที่เข้าสู่ระบบการออมเงินดังกล่าวยังมีจำนวนไม่มาก
และโดยที่กองทุนการออมแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจในการส่งเสริมการออมชั้นพื้นฐานของประเทศ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ เพื่อกำหนดให้กองทุนการออมแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจในการออกและขายสลากออมทรัพย์ เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์แก่ประชาชนสำหรับการดำรงชีพในยามชราภาพโดยการออกและขายสลากให้แก่ผู้ซึ่งประสงค์จะออมทรัพย์เมื่อเริ่มต้นวัยทำงาน
และนำเงินที่จากการขายสลากดังกล่าวไปหาประโยชน์ และคืนเป็นเงินออมทรัพย์ในยามชราภาพให้แก่ผู้นั้นเมื่อมีอายุตามที่กำหนด อันจะเป็นการสูงใจให้ประชาชนมีการอมทรัพย์เพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
รายละเอียดร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 39 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคลตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อให้การคืนเงินออมทรัพย์เพื่อการดำรงชีพในยามชราภาพให้แก่ทายาทของผู้ออมทรัพย์และการบริหารจัดการทรัพย์สินของกองทุนการออมแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า "สลาก กอช." "ผู้ออมทรัพย์" และ "เงินออมทรัพย์" ระหว่างบทนิยามคำว่า "ทุพพลภาพ" และ "คณะกรรมการ" ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554
- "สลาก กอช." หมายความว่า สลากออมทรัพย์เพื่อการดำรงชีพในยามชราภาพของกองทุนการออมแห่งชาติ
- "ผู้ออมทรัพย์" หมายความว่า บุคคลซึ่งออมทรัพย์เพื่อการดำรงชีพในยามชราภาพด้วยการซื้อสลาก กอช.
- "เงินออมทรัพย์" หมายความว่า เงินที่ผู้ออมทรัพย์ซื้อสลาก กอช.และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว"
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกและเพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิกเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ รวมถึงเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์แก่ประชาชนสำหรับการดำรงชีพในยามชราภาพ"
มาตรา 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554
- "(2/1) เงินที่ได้รับจากการขายสลาก กอช."
มาตรา 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของมาตรา 9 แห่งพระราชบัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554
- "(2/1) ออกและขายสลาก กอช."
มาตรา 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของมาตรา 20 แห่งราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554
- "(1/1) กำหนดวิธีการขายสลาก กอช. วิธีการชำระเงินเพื่อซื้อสลาก กอช. และวิธีการจ่ายเงินรางวัล"
มาตรา 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 3/1 การออกและขายสลาก กอช.และสิทธิประโยชน์ของผู้ออมทรัพย์ มาตรา 44/1 ถึงมาตรา 44/14 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554
- "หมวด 3/1 การออกและชายสลาก กอช. และสิทธิประโยชน์ของผู้ออมทรัพย์"
มาตรา 44/1 บุคคลสัญชาติไทยซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี หากประสงค์จะซื้อสลาก กอช. ให้แสดงความจำนงต่อกองทุน
ให้กองทุนตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลตามวรรรคหนึ่ง และแจ้งผลการตรวจสอบแก่บุคคลนั้นทราบ
การแสดงความจำนง การตรวจสอบ และการแจ้งผลการตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลตามมาตรานี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา 44/2 ให้บุคคลซึ่งได้รับแจ้งผลการตรวจสอบว่ามีคุณสมบัติตาม มาตรา 44/1 มีสิทธิซื้อสลาก กอช. ในแต่ละเดือน เป็นจำนวนเงินไม่เกินที่กำหนดโดยกฎกระทระทรวง
วิธีการขายสลาก กอช. และวิธีการชำระเงินเพื่อซื้อสลาก กอช. ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา 44/3 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดราคา จำนวนและรูปแบบสลาก กอช. การออกรางวัล ลำดับรางวัล จำนวนรางวัล จำนวนเงินรางวัล และเงื่อนไขอื่นใดที่เกี่ยวกับการออกและขายสลาก กอช.
มาตรา 44/4 หากการออกรางวัลใดไม่มีผู้ออมทรัพย์ถูกรางวัล ให้นำเงินรางวัลดังกล่าวไปตั้งหรือสมทบเป็นเงินรางวัลพิเศษในงวดถัด ๆ ไปได้ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
มาตรา 44/5 เงินที่ได้รับจากการขายสลาก กอช. ให้กองทุนนำไปหาประโยชน์สำหรับจ่ายให้แก่ผู้ออมทรัพย์ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติเรื่องการหาประโยชน์ของกองทุนตามมาตรา 42 และมาตรา 43 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 44/6 เงินรางวัลให้จ่ายจากเงินของกองทุนในบัญชีเงินกองกลาง ตามมาตรา 46(3)
วิธีการจ่ายเงินรางวัลให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา 44/7 เมื่อผู้ออมทรัพย์มีอายุครบ 60 ปี ให้กองทุนคืนเงินออมทรัพย์ทั้งหมดแก่ผู้ออมทรัพย์ ก่อนได้รับเงินออมทรัพย์คืนตามวรรคหนึ่ง ผู้ออมทรัพย์อาจขอรับเงินออมทรัพย์บางส่วนจากกองทุนก็ได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
มาตรา 44/8 ให้ผู้ออมทรัพย์ซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีซื้อสลาก กอช. ได้เป็นคราว ๆ โดยแต่ละคราวมีกำหนดเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ซื้อสลาก กอช. ครั้งแรกในคราวนั้น และให้กองทุนคืนเงินออมทรัพย์ทั้งหมดในคราวนั้นแก่ผู้ออมทรัพย์เมื่อครบกำหนดเวลา 5 ปีดังกล่าวทุกคราว
มาตรา 44/9 ในกรณีผู้ออมทรัพย์ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินออมทรัพย์คืนจากกองทุนตามมาตรา 44/7 หรือมาตรา 44/8 ให้จ่ายเงินออมทรัพย์ของผู้นั้นทั้งหมดจากกองทุนให้แก่บุคคลซึ่งผู้ออมทรัพย์ได้แสดงเจตนาไว้ต่อกองทุนตามแบบและวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด เว้นแต่มิได้แสดงเจตนาไว้ให้จ่ายแก่ทายาท โดยให้นำหลักเกณฑ์ตามมาตรา 36 มาใช้บังคับ
ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 44/10 ในกรณีที่ผู้ออมทรัพย์ทุพพลภาพก่อนได้รับเงินออมทรัพย์คืนจากกองทุนตามมาตรา 44/7 หรือมาตรา 44/8 โดยแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพจริง ผู้ออมทรัพย์จะขอรับเงินออมทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนจากกองทุนก็ได้
การขอรับเงินออมหรัพย์เพราะเหตุทุทพลภาพตามวรรคหนึ่ง ให้ขอรับได้เพียงไม่เกินสามครั้ง
มาตรา 44/11 ในกรณีที่ผู้ออมทรัพย์เสียสัญชาติไทยก่อนได้รับเงินออมทรัพย์ คืนจากกองทุนตามมาตรา 44/7 หรือมาตรา 44/8 ผู้ออมทรัพย์จะขอรับเงินออมทรัพย์ทั้งหมดจากกองทุนก็ได้ แต่ไม่มีสิทธิซื้อสลาก กอช. ต่อไป
มาตรา 44/12 ในการคืนเงินออมทรัพย์ กองทุนต้องคืนเงินที่ผู้ออมทรัพย์ซื้อสลาก กอช.เต็มจำนวน
การจ่ายเงินออมทรัพย์ตามมาตรา 44/7 มาตรา 44/8 มาตรา 44/9 มาตรา 44/10 และมาตรา 44/11 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎกระทรวง
มาตรา 44/13 สิทธิการรับเงินออมทรัพย์เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนแก่กันได้
มาตรา 44/14 การออกสลาก กอช. ตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน
มาตรา 9 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) และ (2/2) ของมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554
- "(2/1) บัญชีเงินรายบุคคลของผู้ออมทรัพย์ซึ่งแสดงรายการเงินที่ผู้ออมทรัพย์ซื้อสลาก กอช. และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวบรรดาที่เป็นของผู้ออมทรัพย์แต่ละคน
- (2/2) บัญชีเงินออมทรัพย์ซึ่งแสดงรายการเงินที่ผู้ออมทรัพย์ซื้อสลาก กอช.และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวที่โอนมาจากบัญชีเงินรายบุคคลของผู้ออมทรัพย์สำหรับจ่ายให้แก่ผู้ออมทรัพย์ผู้นั้น"
มาตรา 10 ให้ยกเลิกความใน (3) ของมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
- "(3) บัญชีเงินกองกลางซึ่งแสดงรายการเงินที่รัฐบาลจัดสรรให้มาตรา 7(4) เงินที่มีผู้บริจาคให้ เงินตามบัญชีเงินรายบุคคลที่ไม่มีผู้รับ เงินและทรัพย์สินของกองทุนในส่วนที่มีใช่ของสมาชิกผู้รับบำนาญ ผู้รับเงินดำรงชีพ หรือผู้ออมทรัพย์คนใด ดอกผลของเงินและทรัพย์สินดังกล่าว และเงินรางวัลที่ไม่มีผู้รับ"
มาตรา 11 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 49/1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554
- "มาตรา 48/1 เมื่อผู้ออมทรัพย์ผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินออมทรัพย์คืนจากกองทุนตามมาตรา 44/7 และมาตรา 44/8 ให้โอนเงินจากบัญชีเงินรายบุคคลตามมาตรา 46(2/1) ของผู้ออมทรัพย์ผู้นั้นมาเข้าบัญชีเงินออมทรัพย์ตามมาตรา 46(2/2) เพื่อจ่ายให้แก่ผู้ออมทรัพย์
มาตรา 12 ให้ยกเลิกความใน (1) ของมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
- "(1) ดอกผลของการนำเงินของบัญชีเงินรายบุคคลตามมาตรา 46(1) และ (2/1)ไปลงทุน ให้จัดสรรเป็นผลประโยชน์ของเงินสะสม เงินสมทบ หรือเงินออมทรัพย์ที่มีอยู่ในบัญชีของสมาชิกหรือผู้ออมทรัพย์แต่ละคน"
มาตรา 13 ให้ยกเลิกความในมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
- "มาตรา 51 ให้กองทุนแจ้งยอดเงินสะสมและเงินสมทบของสมาชิกหรือเงินออมทรัพย์ของผู้ออมทรัพย์ พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าว ให้สมาชิกหรือผู้ออมทรัพย์ทราบ แล้วแต่กรณี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด"
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
……………………
นายกรัฐมนตรี
ที่มา - สภาผู้แทนราษฎร