ชาวสุราษฎร์มีเฮ! ‘รมว.อรรถกร’ ลงพื้นที่เร่งแก้ภัยท่วม น้ำแล้ง
ชาวสุราษฎร์มีเฮ! "รมว.อรรถกร" ลงพื้นที่เร่งแก้ภัยท่วม น้ำแล้ง หนุนโครงการพัฒนาลุ่มตาปี-พุมดวง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
วันนี้ (20 ก.ค.) ณ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี – พุมดวง ตำบลบางงอน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
โดยมี นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน นายก่อพงศ์ เจ้ยแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 15 นายชูศักดิ์ สุทธิ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 15 พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่ และรายงานความก้าวหน้า
กรมชลประทานเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง จ.สุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ปี 2552 แล้วเสร็จปี 2564 รวมระยะเวลาโครงการ 13 ปีโดยมีวัตถุประสงค์เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 73,980 ไร่ และเสริมความมั่นคงด้านน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคและการเกษตร โดยมีองค์ประกอบโครงการ ประกอบด้วย สถานีสูบน้ำพร้อมเครื่องสูบน้ำ 16 เครื่อง (สูบน้ำได้ 25.50 ลบ.ม./วินาที หรือ 2.2 ล้าน ลบ.ม./วัน) และระบบส่งน้ำ และระบบส่งน้ำ คลอง MC1 ความยาว 45 กม.คลอง MC2 ความยาว 73.76 กม.พร้อมคลองระบายและอาคารประกอบ ความยาว 77.19 กม.
ในช่วงเดือน มกราคม –เมษายน ของทุกปี สถานีสูบน้ำไม่สามารถสูบน้ำได้ เนื่องจากมีระดับน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยผลการศึกษาระดับน้ำค่าเฉลี่ยเมื่อปี 2541 มีค่าต่ำสุด +1.610 ม. (รทก.) กรมชลประทานจึงได้ออกแบบเครื่องสูบน้ำให้สามารถสูบได้ที่ระดับต่ำสุด +1.500 ม. (รทก.) ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการใช้น้ำต้นน้ำเพิ่มขึ้น เช่น การปลูกทุเรียนที่ใช้น้ำมาก จึงทำให้ระดับน้ำบริเวณหน้าสถานีสูบน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้เดิม
กรมชลประทานจึงวางแผนติดตั้งเครื่องสูบน้ำเสริม เพื่อสูบน้ำจากคลองพุมดวงเข้าสู่บ่อพักน้ำของโรงสูบน้ำให้รักษาระดับน้ำในบ่อไม่ต่ำกว่า +1.500 ม. (รทก.) ซึ่งจะทำให้สามารถสูบน้ำส่งเข้าสู่คลองส่งน้ำ MC1 และ MC2 ได้ตามวัตถุประสงค์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างผนังคอนกรีตรับท่อและผนังชั่วคราว (Sandbag) พร้อมเตรียมติดตั้งเครื่องสูบน้ำใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2568 นี้
อีกหนึ่งโครงการที่สำคัญ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำใน ต.พะแสง ต.เขาพัง และ ต.พรุไทย คือ โครงการอาคารทดน้ำคลองแสง อ.บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี โดยคลองแสงมีความยาว 13 กิโลเมตร ซึ่งรับน้ำจากเขื่อนรัชชประภา ที่มีความลาดชันสูง เมื่อไม่มีอาคารทดน้ำในคลองแสง ทำให้น้ำไหลลงคลองศกที่มีระดับต่ำกว่า และไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้
กรมชลประทานจึงดำเนินการสร้างอาคารทดน้ำ 2 แห่ง ได้แก่ จุดที่ 1 (โครงการอาคารทดน้ำคลองแสง) อยู่ห่างจากท้ายเขื่อนรัชชประภา 6 กม. และจุดที่ 2 (บ้านแสงเหนือ) ห่างจากจุดแรกอีก 4 กม. ลักษณะโครงการเป็นอาคารทดน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมระบบป้องกันการกัดเซาะเหนือ–ท้ายอาคาร รวมระยะทางประมาณ 2 กม. เมื่อแล้วเสร็จจะช่วยให้ราษฎรในพื้นที่มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคได้ตลอดทั้งป
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- กรมชลฯ เตือนท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เตรียมรับน้ำเหนือเพิ่ม 20-80 ซม.
- เปิดทางน้ำทั่วไทย!! กรมชลฯ ลุยกำจัดผักตบ-ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ฝ่าวิกฤตฤดูฝน
- ฝนถล่มภาคเหนือ หนุนระดับน้ำเพิ่ม กรมชลฯ เร่งลดผลกระทบให้ได้มากที่สุด
ติดตามเราได้ที่