โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

เศรษฐกิจดิจิทัลไทย ติดกับดักรอปลดล็อก ทักษะดิจิทัลช่องว่างใหญ่

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ธนาคารโลกระบุชัดว่า แม้ไทยจะมีความก้าวหน้าหลายด้าน เช่น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบนมือถือที่เกือบทั่วถึง ระบบชำระเงินอย่าง PromptPay และการระบุตัวตนดิจิทัล ThaID ที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย แต่เศรษฐกิจดิจิทัลกลับมีสัดส่วนเพียง 3.4% ของ GDP และจ้างงานไม่ถึง 3% ของแรงงานทั้งหมด

ข้อมูลนี้ชี้ว่า “โครงสร้างพื้นฐานมี แต่การใช้งานจริงยังจำกัด” โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจ MSMEs ที่แม้จะครองสัดส่วนถึง 99% ของธุรกิจในไทย แต่กลับยังล้าหลังในการนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและค้าขาย

ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่กลายเป็นประเด็นเร่งด่วนท่ามกลางบริบทโลกที่กำลังเข้าสู่เศรษฐกิจฐานข้อมูลอย่างเต็มรูปแบบ รายงานชี้ว่า MSMEs ไทยส่วนใหญ่ยังใช้งานเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน เช่น การขายผ่านช่องทางออนไลน์หรือการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย แต่ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ระบบการจัดการคลังสินค้าแบบเรียลไทม์ หรือการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ทำให้โอกาสเพิ่มผลิตภาพและขยายตลาดสู่ระดับภูมิภาคยังเป็นเพียงเรื่องในแผน

ธนาคารโลก ยังชี้ให้เห็นช่องว่างใหญ่ในเรื่อง “ทักษะดิจิทัล” ที่ยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่าน โดยมีเพียง 5% ของประชากรวัยผู้ใหญ่ที่มีทักษะดิจิทัลระดับกลาง และแค่ 1% เท่านั้นที่มีทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นสูง ขณะที่หลายประเทศเริ่มผลักดันนโยบายดิจิทัลจนมีแรงงานระดับ “data analyst” หรือ “AI engineer” เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ประเทศไทยยังขาดแคลนคนที่สามารถเข้าใจพื้นฐานของเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง cloud computing, blockchain หรือ generative AI

การเข้าสู่ยุค AI จึงยังเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคนส่วนใหญ่ ขณะที่การนำ AI มาใช้ในภาครัฐและเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำที่สุดในอาเซียน ทั้งที่AI มีศักยภาพมหาศาลในการช่วยเพิ่มผลิตภาพ ลดต้นทุน และยกระดับคุณภาพของบริการ เช่น ด้านสุขภาพ การศึกษา การเกษตร และการเงิน รายงานยังระบุว่าแม้ประเทศไทยจะมีนโยบายด้าน AI มากถึง 7 ฉบับ แต่ยังไม่มีการบูรณาการให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

อีกหนึ่งข้อสังเกตสำคัญ คือ โครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกลยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แบบประจำบ้าน ซึ่งเป็นเครือข่ายสำคัญในการรองรับเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง หรือ AI การพึ่งพาเพียงเครือข่ายมือถือแม้จะเพียงพอในระดับการใช้งานทั่วไป แต่ไม่สามารถตอบโจทย์เศรษฐกิจที่ต้องการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้

ในปี 2566 ประเทศไทยมีความจุศูนย์ข้อมูล (Data Center) รวมประมาณ 144,000 ตารางเมตร แม้จะเติบโตขึ้นจากปีก่อนหน้า แต่ยังอยู่ระดับกลางของภูมิภาค เมื่อเทียบกับประเทศที่กำลังเร่งลงทุนด้าน Cloud Infrastructure เช่น สิงคโปร์ เวียดนาม หรือมาเลเซีย ซึ่งแซงหน้าไปแล้วทั้งในเชิงความจุและคุณภาพโครงข่าย

ขณะเดียวกัน ธนาคารโลกมองว่า โครงสร้างกฎหมายของไทยแม้จะมีความชัดเจน เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) แต่การบังคับใช้และสร้างความเชื่อมั่นในด้านการแบ่งปันข้อมูลยังเป็นจุดอ่อน โดยเฉพาะในความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล เพราะหากหน่วยงานต่าง ๆ ยังไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างปลอดภัยและรวดเร็วได้ จะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาแพลตฟอร์มบริการใหม่ ๆ เช่น การเงิน สุขภาพ หรือการศึกษา

จุดที่น่าสนใจคือ นักลงทุนต่างชาติเริ่มมองเห็นศักยภาพของไทย โดยเฉพาะในภาคดิจิทัล ดาต้าเซ็นเตอร์ และคลาวด์แพลตฟอร์ม เช่น AWS, Google และ Alibaba Cloud ที่ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจำนวนมากในปี 2568 สิ่งนี้แสดงถึง “ความพร้อม” บางด้านของไทยที่กำลังดึงดูดการลงทุน หากภาครัฐสามารถสนับสนุนด้านแรงงาน ทักษะ และโครงสร้างพื้นฐานได้ทัน ก็อาจต่อยอดให้ไทยเป็นฐานข้อมูลระดับภูมิภาคได้

ธนาคารโลกเสนอว่า การเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยเฉพาะ fixed broadband และระบบคลาวด์ รวมถึงการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาเพื่อเติมเต็มช่องว่างทักษะดิจิทัล เป็นสิ่งจำเป็นในระยะเร่งด่วน นอกจากนี้ ยังเสนอให้ผลักดัน “แพลตฟอร์มภาครัฐ” เช่น ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล (GDX) และการใช้ดิจิทัลไอดีในระดับอาเซียน เพื่อสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาค

รายงานของธนาคารโลกเหมือนกระจกสะท้อนว่า ไทยยัง “พร้อมไม่สุด” ในการเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแท้จริง ความท้าทายไม่ได้อยู่แค่ในเทคโนโลยี แต่คือการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ทักษะคน และกฎระเบียบให้เดินไปในทิศทางเดียวกัน เพราะหากปล่อยไว้เช่นนี้ ไทยอาจพลาดโอกาสในการก้าวสู่ประเทศรายได้สูง ที่ต้องการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมมากกว่าแรงงานราคาถูกเหมือนในอดีต

วิเคราะห์ หน้า 8 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4,115 วันที่ 20 - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

'ทักษิณ' มั่นใจพระดีมีอยู่ 99% ขอคนไทยยังคงศรัทธาพระพุทธศาสนา

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จับมือสู้ปลาหมอคางดำบทเรียนสัตว์ต่างถิ่นบนความร่วมมือทุกส่วน

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เรียกถก ศบ.ทก.ด่วนพรุ่งนี้ รับฟังผลสอบ 'กับระเบิด'ของ ทภ. 2

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ทักษิณ”แย้มภาษีสหรัฐคืบหน้าในทิศทางดี ระดับเดียวกับอาเซียน

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่นๆ

แม่ทัพภาคที่2 ชวนพี่น้องคนไทยทุกคน ร่วมกันร้องเพลงชาติให้ดังกึกก้อง

THE ROOM 44 CHANNEL
วิดีโอ

แม่ทัพภาคที่2 ชวนพี่น้องคนไทยทุกคน ร่วมกันร้องเพลงชาติให้ดังกึกก้อง

THE ROOM 44 CHANNEL

ผลวิจัยเผย ผักสดในกรุงเทพฯ มีพยาธิปนเปื้อนสูง เซ็กเลย 5 เขตในกรุงเทพฯที่พบบ่อย

สยามนิวส์

จับมือสู้ปลาหมอคางดำบทเรียนสัตว์ต่างถิ่นบนความร่วมมือทุกส่วน

ฐานเศรษฐกิจ

“ทักษิณ”แย้มภาษีสหรัฐคืบหน้าในทิศทางดี ระดับเดียวกับอาเซียน

ฐานเศรษฐกิจ

รวบแล้วมือยิงหนุ่มทหารเรือบาดเจ็บ พร้อมแจ้ง 3 ข้อหาหนัก ส่วนผู้บาดเจ็บปลอดภัยอยู่ในความดูแลของแพทย์

77kaoded

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...