โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

ซูเปอร์โพล เผยคนไทย 99.5% เชื่อมั่นกองทัพป้องผืนแผ่นดิน

The Bangkok Insight

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • The Bangkok Insight

ซูเปอร์โพล เผยคนไทย 99.5% เชื่อมั่นกองทัพป้องผืนแผ่นดิน เรียกร้องมาตรการ รัฐบาลแก้ให้ตรงจุด ฟังเสียงประชาชนให้มากกว่าสร้างคะแนนนิยม

นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์สู้รบไทย-กัมพูชา” ที่จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2568 โดยใช้ทั้งวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 1,054 ตัวอย่าง

เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการสู้รบไทย-กัมพูชา พบว่า เกือบร้อยละ 100 คือร้อยละ 99.5 เชื่อมั่นต่อกองทัพไทยจะปกป้องรักษาผืนแผ่นดินไทยได้ รองลงมาคือ ร้อยละ 94.3ต้องการให้ฝ่ายการเมืองดูแลเยียวยาประชาชนผู้อพยพให้ดีกว่านี้ เช่น ค่าครองชีพ ภาระค่าใช้จ่าย หนี้สิน สวัสดิการ อาชีพการงาน สุขอนามัย เป็นต้น ร้อยละ 91.8 ต้องการเห็นคนไทยสามัคคี ไม่ทะเลาะกันเอง ร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลือกัน ร้อยละ 91.5 ต้องการให้รัฐบาลเร่งเจรจาสันติภาพแต่ต้องไม่ยอมอ่อนข้อต่อผู้รุกราน ร้อยละ 88.9 ต้องการให้รัฐบาลเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและอาชีพรายได้ของประชาชนหลังสงคราม

นายนพดล กล่าวว่า ผลสำรวจนี้สะท้อน “ศรัทธาสูงสุด” ที่ประชาชนมีต่อกองทัพไทยในฐานะผู้พิทักษ์อธิปไตย ซึ่งบ่งชี้ถึงทุนทางสังคมที่สำคัญยิ่งของประเทศ นอกจากนี้ ประชาชนไม่ได้เรียกร้องชัยชนะเพียงอย่างเดียว แต่ 94.3%ต้องการการเยียวยาจากรัฐบาลเชิงมนุษยธรรมต่อผู้อพยพ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าความมั่นคงทางสังคมมีความสำคัญเทียบเท่ากับความมั่นคงของชาติ ในขณะที่ความสามัคคีภายในชาติและการเจรจาอย่างมีศักดิ์ศรีอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน (91.8% และ 91.5%) แสดงให้เห็นความต้องการ “ชนะสงครามภายนอก โดยไม่แตกแยกภายใน” และประชาชนยังให้ความสำคัญกับการวางรากฐานหลังสงคราม ด้วยการฟื้นฟูเศรษฐกิจและอาชีพ (88.9%) ซึ่งสะท้อนความตระหนักว่า “สงครามไม่จบที่ชัยชนะ แต่จบที่คุณภาพชีวิตของประชาชนหลังสงคราม”

นายนพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.8 ห่วงใยมากถึงมากที่สุด ต่อประชาชนผู้อพยพผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่สู้รบไทย-กัมพูชา เพียงร้อยละ 2.5 ที่ห่วงใยปานกลาง และร้อยละ 1.7 เท่านั้นที่ห่วงใยน้อยถึงไม่ห่วงใยเลย ผลสำรวจนี้บ่งบอกถึงความเป็น “รัฐสังคม” (Social State) ที่เข้มแข็งในระดับจิตสำนึกของประชาชน ซึ่งพร้อมแบ่งปันความห่วงใยให้เพื่อนร่วมชาติในยามคับขัน ในขณะที่กลุ่มที่ “ไม่ห่วงใยเลย” มีเพียง 1.7% ถือว่าเล็กมาก และชี้ให้เห็นว่าการสื่อสารด้านมนุษยธรรมของภาครัฐและสื่อมวลชนได้ผลดีในภาพรวม

ที่น่าพิจารณาคือ มาตรการของรัฐบาลที่ประชาชนต้องการเห็นเร่งด่วน ผลสำรวจพบว่า อันดับแรกได้แก่ เงินช่วยเหลือฉุกเฉินเพื่อยังชีพ ชดเชยรายได้ที่หายไป ร้อยละ 92.8 รองลงมาคือ เจรจาสถาบันการเงิน เจ้าหนี้พักชำระหนี้ ร้อยละ89.6 จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูบ้านเรือนเสียหายจากการสู้รบ ร้อยละ 85.3 สร้างงาน สร้างอาชีพ เร่งด่วน เช่น อัตราพนักงานรัฐชั่วคราว รับงานไปทำที่ศูนย์อพยพ งานเกษตร พนักงานเอกชนชั่วคราว เป็นต้น ร้อยละ 82.7 เปิดพื้นที่เขตเศรษฐกิจปลอดภัย จ้างงานพิเศษ เปิดพื้นที่ฟรีให้ค้าขาย ร้อยละ 81.1 งดดอกเบี้ยค้างชำระ ยุติการฟ้องร้องหนี้สินชั่วคราว ร้อยละ 80.9 จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ฟื้นฟูจิตใจ ดูแลรักษาสุขภาพประชาชน ย้ายผู้ป่วย ร้อยละ 80.0 และอื่นๆ เช่น การศึกษาพิเศษ ณ ศูนย์อพยพ เร่งประเมินชดเชยความเสียหายให้ประชาชน เป็นต้น ร้อยละ 66.7

“ผลสำรวจนี้ชี้ให้เห็นด้วยว่า ประชาชนยังคงมองเห็นความเดือดร้อนรอบด้าน ทั้งเรื่อง “เงินในกระเป๋า” และ “ภาระหนี้สิน” ซึ่งแสดงให้เห็นภาวะทางเศรษฐกิจที่เปราะบางแม้ก่อนเกิดสงครามและความต้องการกองทุนฟื้นฟูรวมถึงการสร้างงานชั่วคราวแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่จำเป็นต้องใช้นโยบายคลัง-แรงงานแบบเร่งด่วน เพื่อรองรับวิกฤตและด้านสาธารณสุขและสุขภาพจิตก็เป็นความต้องการลำดับต้นๆ สะท้อนว่า “สงครามทำลายได้มากกว่าทรัพย์สินลงลึกถึงจิตใจของผู้คน” และความต้องการ “พื้นที่เศรษฐกิจปลอดภัย” ใน “เขตค้าขายพิเศษ” เป็นแนวทางเชิงสร้างสรรค์ที่ควรนำไปสู่การจัดพื้นที่เศรษฐกิจเพื่อชุมชนในระยะยาว” นายนพดลกล่าว

นายนพดลกล่าวว่า การสู้รบอาจอยู่ในความรับผิดชอบหลักของกองทัพ แต่คุณภาพชีวิตของประชาชนในสถานการณ์สงครามเป็นภารกิจร่วมของทั้งกองทัพและรัฐบาล เพราะความมั่นคงของชาติไม่อาจแยกจากความมั่นคงของประชาชนเสียงของประชาชนในยามสงครามไม่ได้สะท้อนเพียงความกลัวหรือความหวัง หากแต่เป็นพลังของการรวมจิตใจเพื่อร่วมสร้างอนาคตใหม่ที่แข็งแกร่งและเป็นธรรมกว่าช่วงก่อนเกิดสงคราม ผลโพลนี้จึงชี้ให้เห็นถึงพลวัตทางสังคมและเจตจำนงร่วมของสาธารณะในห้วงเวลาวิกฤต ซึ่งสามารถวิเคราะห์ในเชิงโครงสร้างและคุณค่าได้อย่างเป็นระบบ

“การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนครั้งนี้ จึงมีเป้าหมายสำคัญในการ ‘ฟังเสียงประชาชน’ อย่างรอบด้าน โดยมิใช่เพียงการนับตัวเลขความนิยมหรือความกลัว แต่คือการตีความเจตจำนงของสาธารณะในการมีส่วนร่วมต่ออนาคตของชาติในยามวิกฤต ทั้งในมิติความเชื่อมั่นต่อกองทัพ ความห่วงใยต่อผู้อพยพ ความต้องการความสามัคคีในสังคม ไปจนถึงความคาดหวังต่อมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูของรัฐ ผลการสำรวจนี้จึงไม่เพียงสะท้อนอุณหภูมิความรู้สึกของสังคมเท่านั้น หากยังชี้ให้เห็นถึง ‘ทุนทางสังคม’ (Social Capital) ที่ประเทศไทยยังคงมีอยู่อย่างมั่นคง พร้อมจะถูกนำมาใช้เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นพลังแห่งความร่วมมือในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าอย่างมีทิศทาง” นายนพดลกล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The Bangkok Insight

ซีพี-ซีพีเอฟ ร้อยเรียงความดี อยู่เคียงข้างชุมชนท่ามกลางวิกฤตน้ำท่วมภาคเหนือ

22 นาทีที่แล้ว

ด่วน! รมต.ต่างประเทศมาเลเซีย เผย ‘ภูมิธรรม-ฮุน มาเนต’ นัดหารือที่มาเลเซีย พรุ่งนี้

40 นาทีที่แล้ว

‘รมช.อัครา’ สั่งเร่งฟื้นฟู-เยียวยา พร้อมผลักดันโครงการแก้ปัญหาน้ำ ให้ชาวพะเยา

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘สุรเกียรติ์’ เฝ้ารับเสด็จ กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จทรงเปิดการแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ด่วน! กองกำลังบูรพา เปิดด่าน 5 โมงเย็นวันนี้วันเดียว รับคนไทย-กัมพูชากลับภูมิลำเนา

The Bangkok Insight

กต. เตือนอีก! คนไทยในอิสราเอล-อิหร่าน รีบออกจากพื้นที่ ความไม่สงบยังมีแนวโน้มรุนแรง

The Bangkok Insight

ด่วน! สถานทูตเตือนคนไทยในบาเรน เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่ปกติ

The Bangkok Insight
ดูเพิ่ม