โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

ธนาคารโลก หั่นจีดีพีไทยปีนี้ โต 1.8% ชี้ 3 โอกาสเศรษฐกิจฟื้น

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า เวิลด์แบงก์ ได้ปรับลดประมาณการการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศไทยลงมา โดยคาดการณ์ว่าปีนี้จะเติบโตที่ 1.8% และปี 69 คาดว่าจะขยายตัวได้ 1.7 % ในปี 69 การปรับลดครั้งนี้สะท้อนถึงความท้าทายหลายประการทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ

สำหรับความท้าทายสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยนั้น ได้แก่ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัวและความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้า ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย เนื่องจากเราพึ่งพาการส่งออกค่อนข้างมากถึงกว่า 60% ของ GDP โดยเฉพาะการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน ความไม่แน่นอนนี้ยังส่งผลให้การลงทุนภายในประเทศชะลอตัวลงด้วย

ขณะเดียวกัน สถานการณ์หนี้ครัวเรือนสูง และกำลังซื้ออ่อนแอ โดยประเทศไทยมีหนี้ครัวเรือนสูงที่สุดในอาเซียน อยู่ที่ประมาณ 80 กว่าเปอร์เซ็นต์ของ GDP ภาระดอกเบี้ยจ่ายที่สูงเมื่อเทียบกับรายได้ของประชาชน รวมถึงยอดสินเชื่อที่เริ่มลดลง ส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนในประเทศชะลอตัว และอุปสงค์ภายในประเทศอ่อนแอลง

ด้านภาคการท่องเที่ยวชะลอตัว โดยไตรมาสแรกของปีนี้ นักท่องเที่ยวจากจีนลดลงอย่างมาก เนื่องจากมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยในประเทศไทย โดยนักท่องเที่ยวจีนเลือกเดินทางไปประเทศอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่นและมาเลเซียแทน เวิลด์แบงก์จึงปรับประมาณการนักท่องเที่ยวเหลือประมาณ 37 ล้านคนในปีนี้

ขณะเดียวกัน พื้นที่ทางการคลังแคบลง สัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 64% ของ GDP และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นสู่ใกล้ 70% สำหรับการเพิ่มขึ้นของหนี้ส่วนหนึ่งมาจากความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงโควิด-19 รวมถึงค่าใช้จ่ายสำหรับสังคมสูงวัย และนโยบายดิจิทัล วอลเล็ต ซึ่งความเสี่ยงที่หนี้สาธารณะที่สูงเกิน 60% มักจะนำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจและอาจกดดันให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้

นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อของไทยอยู่ในระดับต่ำที่สุด โดยอยู่ที่ประมาณ 0% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 1% ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบล่างของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่วนหนึ่งมาจากราคาสินค้าพลังงานที่ลดลง และอีกส่วนมาจากอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังมีโอกาสในการฟื้นตัวและการเติบโต 3 ประการ ได้แก่ 1.นโยบายการคลังที่เน้นการลงทุน ซึ่งรัฐบาลได้ปรับงบประมาณ โดยเฉพาะส่วนที่เคยจัดสรรสำหรับโครงการดิจิทัล วอลเล็ต มาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว กรอบวงเงิน 1.57 แสนล้านบาท ซึ่งคิดเป็นประมาณ 0.8% ของ GDP

“เวิลด์แบงก์ประเมินว่าหากมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 100% จะช่วยให้ GDP เพิ่มขึ้นประมาณ 0.2% และลดภาระหนี้ต่อ GDP ลงได้ในระยะปานกลาง”

2. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในภาคเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีในการดึงดูด FDI ในภาคดิจิทัล ศูนย์ข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโตของโลกในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และดิจิทัล

3. ศักยภาพการเติบโตในระยะสั้นและระยะกลาง สำหรับในระยะสั้น หากการเจรจาการค้าสำคัญคืบหน้า และการลงทุนภาคเอกชนและ FDI ฟื้นตัว GDP ของไทยอาจขยับขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 2.2% ในปีนี้ ซึ่งใกล้เคียงกับตัวเลขของ ธปท.

ขณะที่ในระยะกลางนั้น มองว่าเศรษฐกิจไทยมีศักยภาพที่จะเติบโตถึง 3-4% หากมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (รวมถึงดิจิทัล) ทุนมนุษย์ (การศึกษา) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อรองรับธุรกิจใหม่และการจ้างงานใหม่ รวมถึงการเปิดตลาดผ่านข้อตกลงการค้าเชิงลึก (Deep Trade Agreement) โดยเฉพาะในภาคเกษตรและบริการที่ไทยยังไม่ได้เปิดกว้างมากนัก

ดร.เกียรติพงศ์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ของประเทศไทยนั้น เรามีจุดเด่นด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลระดับโลก เช่น ระบบพร้อมเพย์ (Prompay) และบัตรประจำตัวดิจิทัล (Digital ID) ซึ่งมีการใช้งานอย่างแพร่หลายและรวดเร็วในช่วงโควิด-19 รวมถึงการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่สูงถึงประมาณ 90%

ทั้งนี้ ถือว่าเป็นโอกาสสำหรับ◦การค้าดิจิทัล (Digital Commerce) สำหรับ MSME โดยคนไทยมีการช้อปปิ้งออนไลน์สูงถึง 90% แต่บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (MSME) จำนวนมากยังเข้าไม่ถึงหรือใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้ไม่เต็มที่ ซึ่งเป็นโอกาสในการขยายตลาดการค้าดิจิทัล

ขณะที่ในด้านการดูแลสุขภาพ (Healthcare) ประเทศไทยมีโอกาสในการรวบรวมและใช้ประโยชน์จากข้อมูลด้านสุขภาพผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อให้แพทย์เข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยได้ทันทีอย่างปลอดภัยและเป็นส่วนตัว

ส่วนการเงินนวัตกรรมและปลอดภัย (Innovative and Secure Finance) ระบบพร้อมเพย์ประสบความสำเร็จอย่างสูงในด้านปริมาณการโอนเงินและต้นทุนที่ต่ำ แต่ยังมีความท้าทายในการแบ่งปันข้อมูลเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ซับซ้อนขึ้น รวมถึงประเด็นด้านความปลอดภัยและการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล

ขณะที่ความท้าทายด้านดิจิทัลนั้น ไทยยังเผชิญความท้าทายด้านทักษะดิจิทัล โดยผู้ใหญ่ที่มีทักษะดิจิทัลขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับต่ำเพียงประมาณ 5% และทักษะขั้นสูงประมาณ 1% ซึ่งต่ำกว่าหลายประเทศที่สนับสนุนการพัฒนาทักษะดิจิทัลอย่างจริงจัง เช่น สิงคโปร์และเอสโตเนีย

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

DV8 แจงกลุ่มนลท. 8 ราย เตรียมยื่นทำเทนเดอร์ ครอบงำกิจการ 11 ก.ค.นี้

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ค่าเงินบาทปิดตลาดวันที่ 3ก.ค.ที่ระดับ 32.35 บาทต่อดอลลาร์

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เปิดเงื่อนไขใหม่ บัตรเดบิต ออมสิน อุ่นใจ ทำไมสิทธิประโยชน์ลดลง

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พม. เปิดตัวแอป “DepFund” กู้ยืมเงินคนพิการดอกเบี้ย 0% ผ่านมือถือ

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่นๆ

‘ตำรวจไซเบอร์’ขอนแก่น ล่าเครือข่ายเว็บพนัน WHAT168 หลังนำคลิป “คุณตัน อิชิตัน” ตัดต่อAIมาโปรโมทเว็บ ฟันรายได้แล้วกว่า 162 ล้าน

77kaoded

สลด! ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านขับรถตกคลองดับ ญาติรอทั้งคืนก่อนชาวบ้านพบศพ

77kaoded
วิดีโอ

ยัวะจัด! ”แม่ทัพภาค2“ เดือด ลูกน้องโดนเขมรชี้หน้า ไล่พ้นปราสาท แผ่นดินใครวะ!?

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

น้องต้นข้าว ดวลเพลงชิงทุน สาวน้อยวัย 12 เสียแชมป์ 68 สมัย สาวน้อยเสียงใสเป็นขวัญใจของแฟนเพลงทั่วประเทศ

สยามนิวส์

ไวรัลกลางไฟแดง! สาวหวังดีเตือนตำรวจ ก่อนรู้ความจริงถึงกับเขิน

สยามนิวส์

เปิด 5 ประเด็น ปัญหาตรวจเงินวัดขาดประสิทธิภาพ

Thai PBS

สปปท. ร่วมขับเคลื่อนอนาคตการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนระดับสากล

สวพ.FM91
วิดีโอ

น้ำตาเมียหลวง เปิดใจถูกสวมเขาคบซ้อน บอกจะเลิกยุ่ง สุดท้ายกลับไปแอบแซ่บ

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...