โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เปิดคำไต่สวนพยาน แพทย์-พยาบาล คดีทักษิณรักษาตัวชั้น 14

คมชัดลึกออนไลน์

อัพเดต 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

4 ก.ค. 2568 ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ภายหลังศาลนัดไต่สวนคดีหมายเลขดำที่ บค.1/2568 ตรวจสอบข้อเท็จจริงการบังคับโทษคดีถึงที่สุดของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีถูกศาลพิพากษาจำคุก แต่ได้มีการส่งตัวนายทักษิณไปพักรักษาตัวที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ

วันนี้ศาลไต่สวนพยานฝ่ายผู้ร้อง จำนวน 5 ปาก เป็นบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งทำการตรวจร่างกายรับตัวนายทักษิณ

พยานปากแรก คือ พญ.รวมทิพย์ สุภานันท์ แพทย์ประจำโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เบิกความสรุปว่า ได้รับมอบหมายให้ตรวจร่างกายนายทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ต้องขังรับใหม่ ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพในเวลาประมาณ 11.00 น. และพบว่านายทักษิณมีประวัติการรักษาจากต่างประเทศ 10 โรค

นายทักษิณแจ้งว่ามีอาการเหนื่อย อ่อนเพลียจากการเดินขึ้นบันไดมา เมื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดแล้ว หัวใจปกติ แต่แขนขาอ่อนแรง และที่อนุญาตให้ส่งตัวนายทักษิณไปยังโรงพยาบาลภายนอก เพราะทางพยาบาลแจ้งอาการแล้ว เห็นว่าทางพยาบาลอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยมากกว่า และโรคที่เป็นโรงพยาบาลราชทัณฑ์ไม่มีเครื่องมือและแพทย์เฉพาะทาง รวมถึงไม่มียาที่ผู้ป่วยต้องใช้ จึงเห็นควรให้ส่งไปรักษานอกเรือนจำ

ส่วนกรณีใบส่งตัวเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน โดยใบนำส่งตัวจะเขียนกรณีที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ไม่มีศักยภาพรักษา แต่จะให้ส่งตัวเวลาราชการและไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นวันไหน และไม่ได้เป็นผู้บอกว่า จะต้องส่งตัวไปยังโรงพยาบาลตำรวจ เพราะไม่ทราบว่าโรงพยาบาลไหนจะสามารถรับตัวผู้ป่วยได้ ตามหลักการส่งตัวยึดมาตั้งแต่ปี 2563 คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก

พยานคนที่สอง คือ นพ.นทพร ปิยะสิน แพทย์เวรประจำวัน โรงพยาบาลราชทัณฑ์ เบิกความสรุปว่าตนเป็นแพทย์นอกเวลาและไม่ได้ประจำอยู่ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ ช่วงวันที่ 22 ส.ค. ตนเข้าเวร 16.30 น. ถึง 08.30 น.ของอีกวัน ปรากฎว่าวันดังกล่าวมีพยาบาลโทรมาแจ้งอาการของนายทักษิณ จึงให้ความเห็นไปว่า เมื่อวินิจฉัยประกอบกับประวัติการรักษาจากต่างประเทศแล้ว มีอาการจากโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ จึงเห็นควรปรึกษาแพทย์คนแรกที่ตรวจร่างกาย นายทักษิณเมื่อตอนที่รับเข้าเรือนจำ และส่งตัวไปรักษายังโรงพยาบาลภายนอกหากไม่ได้นำส่งจะมีความเสี่ยงกับตัวผู้ป่วย

อีกทั้งโรงพยาบาลราชทัณฑ์มีศักยภาพไม่พอ บวกกับเงื่อนไขของเวลา โดยพิจารณาความเห็นจากพยาบาลที่โทรเข้ามาเพียงอย่างเดียว เพราะว่าไม่ทราบว่าเรือนจำพิเศษกรุงเทพอยู่บริเวณไหน ยืนยันว่าตนมีหน้าที่ให้ความเห็นทางการแพทย์เท่านั้น ส่วนการส่งตัวออกไปรักษาภายนอกเป็นหน้าที่ของเรือนจำ

พยานคนที่สาม คือ นายธัญพิสิษฐ์ ขบวน พยาบาลวิชาชีพประจำโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดสุโขทัย พยานปากที่ 3 เบิกความสรุปว่า ขณะเกิดเหตุตนเป็นพยาบาลที่สถานพยาบาลเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ทำหน้าที่ตั้งแต่ 8.00-16.30 น. และอยู่เวรต่อเนื่องจนถึงเวลา 08.00 น.ของวันรุ่งขึ้น ซึ่งตนได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ต้องขังภายในสถานพยาบาลรวมถึงนายทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ต้องขังใหม่ในกลุ่ม 608 และนายทักษิณได้ถูกควบคุมตัวที่ห้องกักโรค ซึ่งแพทย์สั่งให้ติดตามอาการทุก 4 ชั่วโมง ขณะนั้นนายทักษิณอยู่ในห้องเพียงคนเดียวและได้เปลี่ยนชุดเป็นชุดนักโทษแล้ว

ต่อมาเวลา 22.00 น. นายทักษิณแจ้งว่ามีอาการแน่นหน้าอก จึงแจ้งไปยังแพทย์เวรโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ที่มีความเห็นว่าเห็นควรส่งไปโรงพยาบาลภายนอก เนื่องจากรู้ว่าศักยภาพของโรงพยาบาลราชทัณฑ์ไม่พอ และโทรไปหา พญ.รวมทิพย์ เพื่อขออนุญาตใช้ใบส่งตัว ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลา 2 ชั่วโมงและแจ้งพัศดีเวรตลอด ระหว่างที่รอส่งตัวได้แนะนำวิธีปฏิบัติตัวให้นายทักษิณทราบ จากนั้นจึงมีพัศดีประคองนายทักษิณไปขึ้นรถพยาบาลของเรือนจำ โดยใช้เวลา 20 นาที

เมื่อถึงโรงพยาบาลตำรวจมีเจ้าหน้าที่มารับ ไม่ทราบว่า นำนายทักษิณไปยังห้องฉุกเฉินหรือไม่ ส่วนตนไปเปิดเวชระเบียน และได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ให้นำเวชระเบียนขึ้นไปให้พยาบาลที่ชั้น 14 จึงทราบว่า นายทักษิณอยู่ที่นั่นแล้ว แต่ไม่ทราบว่าอยู่ห้องไหน แต่มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เฝ้าอยู่ และทั้งนี้จากประสบการณ์ทำงานถ้าเป็นโรคเฉพาะทางที่ราชทัณฑ์ไม่มีศักยภาพในการรักษาจะส่งตัวออกไปรักษาโรงพยาบาลภายนอก

ส่วนที่ไม่ส่งไปยังโรงพยาบาลราชทัณฑ์แม้จะห่างกันไม่มากเกรงว่า หากไปส่งจะทำให้เสียเวลามากขึ้น จากการเตรียมอุปกรณ์และรถไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง อีกทั้งนายทักษิณไม่มียาโรคประจำตัวติดตัว เนื่องจากญาติยังไม่ส่งเข้ามาให้ แม้จะโรงพยาบาลราชทัณฑ์จะมียารักษาแต่ก็เป็นคนละชนิดกับที่ผู้ป่วยใช้รักษา

ส่วนอาการจะกำเริบแค่ไหนอยู่ที่ผู้ป่วยควบคุมการกินยาได้ตรงเวลาหรือเปล่า อย่างไรก็ตามตนปรึกษาแพทย์เวรแล้ว และให้ความเห็นว่าควรส่งตัวไปรักษาภายนอกเช่น โรงพยาบาลตำรวจซึ่งปกติจะส่งไปที่นี่บ่อยเนื่องจากได้ทำ MOU ไว้

ส่วนพยานอีก 2 ปาก เป็นพยาบาลที่ได้รับการติดต่อให้เข้ามาช่วยเหลือในการตรวจร่างกายแต่สุดท้ายแพทย์ไม่ได้เรียกตัวเข้าไปช่วยเหลือ ทั้งคู่อยู่ภายนอกห้องตรวจ

ต่อมาศาลอ่านกระบวนพิจารณาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวันนี้นัดไต่สวน คดีหมายเลขดำที่ บค.1/2568 อัยการสูงสุดและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โจทก์ และทนายจำเลย มาศาล ส่วนจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลไม่มาฟังการพิจารณา ศาลไต่สวนพยานได้ 5 ปาก ให้เลื่อนไปไต่สวนในวันที่ 8 ก.ค. เวลา 9.00น. ตามที่นัดไว้เดิม

อนึ่ง มีการนำข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของพยานซึ่งศาลไต่สวนในนัดก่อนออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนในลักษณะคำต่อคำผ่านสื่อช่องทางต่างๆ ซึ่งอาจทำให้พยานบุคคลที่จะมาเบิกความในลำดับถัดไปทราบข้อเท็จจริงที่พยานคนก่อนได้เบิกความไว้ และอาจทำให้ศาลไต่สวนแล้วได้ข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อนไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ รวมถึงอาจมีการนำคำเบิกความของพยานดังกล่าวไปวิเคราะห์หรือให้ความเห็นในทางคดีจนก่อให้เกิดความสับสนแก่สังคมได้ ประกอบกับข้อมูลด้านสุขภาพของจำเลยเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ศาลให้คู่ความและผู้เข้าฟังการพิจารณาคดีงดเว้นการเผยแพร่โฆษณาคำเบิกความพยานบุคคลและพยานเอกสารที่ศาลไต่สวน และศาลได้นัดเพิ่มในวันที่ 18 ก.ค. จะเป็นแพทย์ใหญ่และแพทย์เจ้าของไข้จากโรงพยาบาลตำรวจ 2 คน ได้แก่ พล.ต.ต.นพ.ศุภฤกษ์ (สงวนนามสกุล) และ พล.ต.ท.นพ.สุรพล (สงวนนามสกุล) เข้ามาเบิกความ และวันที่ 25 ก.ค.ศาลได้ออกหมายถึงแพทย์สภา ขอเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคของจำเลยมาเบิกความเป็นพยานความเห็น

ทั้งนี้ในการไต่สวน อธิบดีกรมราชทัณฑ์ยื่นคำชี้แจง 307 แผ่น แพทยสภาส่งมติที่ประชุม 113 หน้า และผลตรวจสอบแพทย์ 1,190 หน้า กสม.20 แผ่น จำเลยยื่นคำชี้แจง 55 แผน ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพยื่นเอกสารเบิกค่าเวร 77 แผ่น ทนายจำเลยส่งประวัติการรักษาไว้พิจารณา และแพทย์โรงพยาบาลตำรวจส่งหลักฐานค่าใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และค่ารักษาพยาบาลของจำเลยไว้พิจารณา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 8 ก.ค. เวลา 9.00น. ตามที่นัดไว้เดิม คือ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมนายทักษิณที่โรงพยาบาลตำรวจ

ส่วนในวันที่ 15 ก.ค.เป็นผู้บริหารกรมราชทัณฑ์ และอดีตผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชทัณฑ์

ด้านนายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความของนายทักษิณ เปิดเผยว่า ของดให้รายละเอียดเกี่ยวกับการไต่สวนพยาน เนื่องจากศาลกำชับไว้ว่าคำเบิกความ ข้อเท็จจริงข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลสุขภาพของจำเลย ขอให้งดเว้นเปิดเผยต่อสาธารณะ โดยการนัดไต่สวนพยานทั้ง 5 ปากในวันนี้เรียบร้อยหมดแล้ว มีการไต่สวนประกอบเอกสารหลายส่วน และมีหมายเรียกพยานเพิ่มอีก 2 ปากในวันที่ 25 ก.ค.2568 นอกจากนี้ยังจะมีการนัดไต่สวนพยานในวันที่ 8, 15, 18 และ 25 ก.ค.2568 ด้วย

นายวิญญัติ ยอมรับว่า ตนเองเป็นคนยื่นให้ศาลออกข้อกำหนดนี้ เนื่องจากครั้งที่แล้วมีการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และบุคคลต่าง ๆ นำข้อมูลการไต่สวนของศาลไปวิเคราะห์หรือแสดงความคิดเห็นในที่ต่าง ๆ ทั้งที่คดียังอยู่ระหว่างการไต่สวน เป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเอาไปวิเคราะห์ให้เกิดความสับสน ศาลจึงมีคำสั่งให้งดเว้นการนำเสนอในลักษณะนี้

ด้านนายแพทย์วรงค์ ระบุว่า ภาพรวมของการไต่สวนวันนี้ มี 3 ประเด็นที่น่าสนใจ

  • ประเด็นแรกคือ ทำให้ได้เห็นความเชื่อมโยงในการดำเนินการส่งตัวนายทักษิณว่า เป็นการดำเนินการของพยาบาลเวรเป็นหลัก ที่ประสานงาน เลือกโรงพยาบาลตำรวจ โดยที่แพทย์เวรเองก็ไม่ทราบเรื่อง

  • ประเด็นที่ 2 คือเรื่องระยะเวลาในการส่งตัวนายทักษิณไปที่โรงพยาบาลตำรวจซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงศาลก็มีคำถามว่าเหตุใดจึงไม่ส่งไปที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ซึ่งอยู่ใกล้กว่าเพียงแค่ 200 เมตรหากมีอันตรายใดๆ ระหว่างการทรงตัวจะทำอย่างไร

  • ประเด็นที่ 3 ศาลได้ถามว่า ทราบหรือไม่ว่านักโทษรายนี้เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี หากปล่อยเวลา 2 ชั่วโมงนี้ไว้ ทั้งที่มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจหอบ แล้วเป็นอะไรขึ้นมา จะเป็นอย่างไร

ขณะที่นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ย้ำว่า ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลตำรวจนั้นอยู่คนละตึกกับชั้น 14 ที่นายทักษิณรักษาตัว ซึ่งตนตั้งข้อสังเกตว่า หากเป็นการส่งตัวฉุกเฉินจริงๆ ก็ควรต้องส่งไปที่ห้องฉุกเฉินก่อน หากตรวจแล้วมีความเห็นว่าไม่ฉุกเฉิน ก็สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกแล้วส่งกลับเรือนจำ แต่หากฉุกเฉินอาการหนักจริง การนำตัวไปรักษาชั้น 14 ก็ไม่เหมาะสมอยู่ดี เพราะต้องส่งไปที่ส่วนเฉพาะทางด้านหัวใจ หรือห้องไอซียู ซีซียู เป็นต้น ซึ่งนี่เป็นการตั้งข้อสังเกตในฐานะแพทย์คนหนึ่ง และคิดว่าประชาชน รวมถึงแพทย์ทั่วไปก็น่าจะเห็นตรงกัน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก คมชัดลึกออนไลน์

"ริชาร์ด เกียร์" เมืองไทย หัวใจวายเฉียบพลัน เสียชีวิตด้วยวัย 64 ปี

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ยังไม่จบ! "กานต์ วิภากร" จี้แกรมมี่คืนลิขสิทธิ์เพลง “เสก โลโซ”

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"เชฟบิลลี่" โดนมิจฉาชีพสวมรอยหลอกลงทุน เหยื่อสูญเงินร่วมแสน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กระจ่าง "อุ๊งอิ๊งค์" แจงปมคืน 20 วัตถุโบราณกัมพูชา วันแรกนั่ง รมว.วธ.

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่นๆ

วิดีโอ

แพทองธาร เจอคนสร้างข่าวปลอม เล่นงาน!! ยันไม่เกี่ยวส่งของโบราณ20รายการคืนกลับให้กัมพูชา

BRIGHTTV.CO.TH

‘ฮุน เซน’ ยอมรับเขมรเสียเปรียบในวิกฤตชายแดน แต่ไร้ทางเลือกอื่นนอกจากต้องเผชิญหน้า

THE STATES TIMES

เที่ยวไทยคนละครึ่ง 2568 อัปเดตล่าสุด ปิดลงทะเบียนสำหรับประชาชนชั่วคราว

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

เมืองอู๋หูในอันฮุย พัฒนาอุตสาหกรรม ‘หุ่นยนต์’ ครบวงจร

Xinhua

ด.ช.8 ขวบชนโต๊ะ ไม่กล้าบอกครู กลัวไปหาหมอ ที่บ้านไม่มีเงินจ่าย ปล่อยจนบวมเท่าไข่นกกระจอกเทศ

Khaosod

Minami เตรียมเปิดคอนเสิร์ตครั้งแรกในไทย!

DACO THAI

ราชกิจจาฯ ประกาศแต่งตั้ง 4 นายตำรวจ เป็นราชองครักษ์ประจำพระองค์

ไทยโพสต์
วิดีโอ

สภาผู้บริโภค จี้ กสทช. ชะลอรับรองผลประมูลคลื่นความถี่

Thai PBS

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...