โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

มองไม่ชัด ไม่ใส่แว่น ทำสมองเสื่อมจริงไหม? ดูแลดวงตาให้ดี ก่อนพังทั้งชีวิต

สยามรัฐ

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

รายการ On the way with Chom สัปดาห์นี้พาไปเปิดโลกการดูแลสายตากับจักษุแพทย์ผู้บุกเบิกการรักษาเลสิกคนแรกของไทย “นพ.เอกเทศ ชันซื่อ” ไขข้อสงสัยสายตายาวตามวัย ที่คนเจอเยอะมากที่สุดเมื่ออายุมากขึ้น สายตาไม่ดีทำสมองเสื่อมจริงไหม? และทำความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สายตาในชีวิตประจำวัน พร้อมแชร์เทคนิคดูแลดวงตาก่อนที่จะพังไปทั้งชีวิต

ชม อายุ 44 ปี ดูโทรศัพท์ห่างจากตัวเหมือนคนสายตายาว แบบนี้ปกติไหม ?

หมอเอกเทศ : พอดีเลยครับ จริงๆแล้วก็คือ ภาวะสายตายาวตามอายุ (presbyopia) มันจะค่อย ๆ เกิดขึ้น คือเราจะไม่สามารถมองใกล้มาก ๆ ได้เหมือนตอนเด็ก ๆ โดยทั่วไปแล้วจะเริ่มเกิดที่อายุประมาณ 40 ต้น ๆ สำหรับผู้หญิง และ 40 กลาง ๆ สำหรับผู้ชาย จะเริ่มรู้สึกว่าไม่ชัดแล้วต้องยืดมือออกไปนิดหนึ่งถึงเห็นชัด และภาวะนี้จะดำเนินไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายอาจจะต้องมองไกลมาก ๆ ถึงจะชัด ตาเรามีระบบออโตโฟกัส กลไกที่เรียกว่า accommodation (การปรับโฟกัสของตา) ซึ่งใช้กล้ามเนื้อในการบีบตัวเพื่อโฟกัสภาพที่อยู่ใกล้ เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อนี้จะอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ทำให้การปรับโฟกัสระหว่างไกลกับใกล้ช้าลง คือจะโฟกัสใกล้ได้ยากขึ้น และเมื่อมองไปไกลก็จะรู้สึกมัวก่อนแล้วค่อย ๆ ชัดขึ้น

อาการสายตายาวเกิดกับทุกคนไหม เราฝึกให้กล้ามเนื้อตาแข็งแรงขึ้นได้ไหม ?

หมอเอกเทศ : มันเป็นไปได้ถ้าเป็นที่กล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียว มีปัจจัยอื่นด้วย เช่น ตัวแก้วตา (Crystalline Lens) ของเราเอง กล้ามเนื้อควบคุมแก้วตาที่อยู่ด้านใน เมื่ออายุมากขึ้น แก้วตาจะแข็งขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นไม่ว่ากล้ามเนื้อจะดีแค่ไหนก็ไม่สามารถปรับตัวได้ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเลนส์ สรุปคือ ทุกคนต้องสายตายาวตามอายุ ในความหมายที่ว่าเดิมมองไกลได้ดี มองใกล้ได้ดี พออายุมากขึ้นจะมองใกล้แย่ลง บางคนอาจจะไม่รู้ตัวว่าเป็นสายตายาว อย่างคนสายตาสั้นประมาณ 200 หากใส่แว่นก็จะมองไกลได้ มองใกล้ได้ แต่เมื่ออายุมากขึ้นและกล้ามเนื้อตาอ่อนแอลง การมองใกล้ขณะใส่แว่นมองไกลจะแย่ลง อย่างไรก็ตาม หากคนนั้นถอดแว่น ก็จะมองใกล้ได้ดี เพราะมีสายตาสั้นอยู่แล้ว ซึ่งหมายถึงจุดโฟกัสของตาอยู่ที่ระยะใกล้โดยธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้กำลังกล้ามเนื้อ คนกลุ่มนี้อาจไม่รู้สึกตัวว่าเป็นสายตายาว เพราะเมื่อต้องการมองใกล้ก็แค่ถอดแว่น

คนที่มีสายตายาวโดยกำเนิด พออายุ 40 ปี ยิ่งแย่ลงอีกไหม ?

หมอเอกเทศ : ใช่ครับ ยิ่งแย่ใหญ่เลย ใส่แว่นจะช่วยปรับโฟกัสได้ เมื่ออายุมากขึ้น แว่นอาจจะต้องมี 2 กำลัง คือสำหรับมองไกลและสำหรับมองใกล้ ซึ่งสมัยก่อนเรียกว่าแว่น 2 ชั้น ปัจจุบันมีแบบ Progressive Lens ซึ่งไม่มีรอยต่อ ส่วนบนสำหรับมองไกล และส่วนล่างจะค่อย ๆ เพิ่มกำลังขึ้นมาสำหรับการมองใกล้ ซึ่งมีข้อจำกัด ผู้ใช้ต้องยอมรับว่าไม่สามารถมองลงแบบเฉียง ๆ ได้ จะมีตำแหน่งที่จะเบลอไป ต้องมองลงตรง ๆ เวลาจะมองอะไรต้องหันไปมอง

คอนแทคเลนส์สามารถทำเป็น Progressive ได้ไหม ?

หมอเอกเทศ : มีครับ คอนแทคเลนส์สามารถทำเป็นหลายโฟกัสหลายระยะได้ สมองจะเลือกภาพเองจากภาพหลายแบบที่ตกกระทบเข้ามาในตา อย่างไรก็ตาม มันจะทำให้สูญเสียความคมชัดไปบ้าง คือมองไกลก็จะไม่คมเต็มที่ และมองใกล้ก็จะไม่ดีเต็มที่ แต่ก็ใช้ได้ทั้งคู่

มีเทคนิคอื่น ๆ อีกไหมนอกจากการใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ ?

หมอเอกเทศ : เทคนิคที่ใช้ได้ทั้งกับแว่น คอนแทคเลนส์ และการผ่าตัด คือภาวะที่เรียกว่า Monovision คือการทำให้ตาข้างหนึ่งมองไกลได้ดี และอีกข้างหนึ่งมองใกล้ได้ดี ข้อเสียคือตาที่มองไกลได้ดีจะมองใกล้ไม่ค่อยชัด และตาที่มองใกล้ดีจะมองไกลไม่ค่อยชัด แต่สมองของเราสามารถปรับตัวได้ เมื่อใช้ตาทั้งสองข้างร่วมกัน เราสามารถทำให้เกิดภาวะนี้ได้ด้วยแว่น คอนแทคเลนส์ หรือการผ่าตัด เป็นเทคนิคที่มีมานานมากแล้ว ก่อนที่จะมีการผ่าตัด และปัจจุบันนำมาประยุกต์ใช้กับการผ่าตัดในคนไข้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยจะพิจารณาปรับตาข้างที่เด่นให้มองไกลได้ดี และตาอีกข้างให้มองใกล้ได้ดี เพื่อให้สมองปรับตัว

เมื่อก่อนจะได้ยินว่าเลสิกจะทำได้ไม่กี่ครั้งจริงไหม ?

หมอเอกเทศ : จริง ๆ แล้วจำนวนครั้งไม่สำคัญเท่าสุขภาพของตาและผิวตา และความแข็งแรงของกระจกตา การทำเลสิกแต่ละครั้งความหนาของกระจกตาจะหายไปบ้างเล็กน้อย กระจกตาเราจะรับได้ถึงจุดหนึ่ง เวลาเราดูคนไข้ เราจะพอสามารถบอกได้ว่าคนไข้คนนี้จะแก้ไขสายตาได้เท่าไหร่ โดยดูจากความหนาของกระจกตา เราไม่ได้นับจำนวนครั้ง แต่ขึ้นอยู่กับจำนวนสายตาหรือขนาดของสายตาที่เราเอาออกไปในแต่ละครั้งมากกว่า

ทำเลสิกเพื่อแก้สายตาสั้น แต่สายตายาวก็แก้ได้แล้ว เทคนิคในการทำต่างกันอย่างไร ?

หมอเอกเทศ : เทคนิคเดียวกัน การผ่าตัดเลสิกเป็นการใช้เครื่องมือแยกชั้นกระจกตาก่อน ให้มันเป็นสองชั้นแล้วเปิดขึ้นมา โดยยังคงมีขั้วอยู่ จากนั้นใช้ Exmaler ซึ่งเป็นเลเซอร์ชนิดหนึ่งในตา เข้าไปเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาด้านล่าง แล้วจึงปิดกลับเข้าไป มันเหมือนกับการเจียรเลนส์คอนแทคเลนส์ สำหรับการแก้ไขสายตาสั้น จะเป็นการยิงเลเซอร์ตรงกลางให้เยอะกว่า เพื่อทำให้กระจกตาแบนลง หรือโค้งน้อยลง การแก้ไขสายตายาว เลเซอร์จะยิงออกข้าง ๆ มากกว่า ทำให้ตรงกลางโค้งมากขึ้น เลสิกสามารถแก้ได้ทั้งสายตายาวตามอายุและสายตายาวแต่กำเนิด

ถ้าสายตาไม่ดี จะทำให้สมองเสื่อมก่อนวัยได้จริงไหม ?

หมอเอกเทศ : การรับรู้สิ่งแวดล้อมของเราประมาณ 75% มาจากการมองเห็น หากไม่ได้รับการมองเห็นภาพที่ชัดเจนตั้งแต่เด็ก สมองส่วนที่รับภาพจะพัฒนาได้ไม่ดี ทำให้ไม่รู้จักการมองเห็นภาพชัด เมื่ออายุเกิน 7-8 ขวบแล้ว ภาวะนั้นจะคงที่และไม่สามารถทำให้ดีขึ้นได้อีก แม้จะแก้ไขสายตาแล้วก็อาจไม่ชัดเต็มที่ หรืออยู่ในระดับปานกลางพอใช้งานได้ ภาวะนี้เรียกว่า ตาขี้เกียจ (Lazy Eye) ซึ่งเกิดจากสมองไม่ได้รับภาพที่ชัดเจนในวัยที่กำลังพัฒนา เป็นแล้วเป็นเลย ควรตรวจตาตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ หากเด็กต้องหรี่ตาบ่อย ๆ ควรพาไปตรวจ ในวัยผู้ใหญ่มีงานวิจัยที่เชื่อมโยงการมองเห็นที่ไม่ดีกับการเป็นภาวะสมองเสื่อม (dementia) ซึ่งรวมถึงอัลไซเมอร์ อย่างไรก็ตาม เรื่องสมองเสื่อมเป็นเรื่องที่นักประสาทวิทยาอาจตอบได้ดีกว่า แต่สำหรับเด็ก ๆ นั้น การมองเห็นมีผลต่อพัฒนาการของสมองอย่างแน่นอน

พฤติกรรมหรือนิสัยอะไรบ้างที่ทำให้สายตาเราเสื่อมก่อนเวลา ?

หมอเอกเทศ : จริง ๆ แล้วพฤติกรรมการใช้งานสายตา มีผลต่อสุขภาพตาน้อยมาก ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ที่เชื่อมโยงว่าการใช้สายตาที่ไม่ถูกต้องที่เราคิดว่าไม่ถูก เช่น ดูมือถือในห้องมืด หรือนอนตะแคง จะมีผลเสียต่อลูกตาโดยตรงสำหรับเด็กมีการศึกษาที่พบว่าการใช้สายตาในเด็กอาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสายตา กล่าวคือ สายตาสั้นตามธรรมชาติจะสั้นขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงอายุ 20 ต้น ๆ แล้วมักจะคงที่ การใช้งานหนัก ๆ เช่น เล่นมือถือหรือเล่นเกมในเด็ก อาจทำให้สายตาสั้นเพิ่มขึ้นได้ แต่นั่นคือในช่วงที่ตายังพัฒนาอยู่ หากโตแล้วอาจไม่ค่อยมีผลเท่าไหร่

การดูจอมาก ๆ ทำให้ตาแห้งจริงไหม ?

หมอเอกเทศ : การใช้งานสายตามาก ๆ อาจทำให้ตาแห้งและเกิดความเมื่อยล้าได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการเหล่านี้จะไม่ใช่ความเสียหายถาวร เพียงแค่พักผ่อนก็ดีขึ้

เรื่องแสงสีฟ้า (Blue Light) ?

หมอเอกเทศ : แสงสีฟ้าถ้ามีความเข้มข้นสูงมาก ๆ อาจมีปัญหาต่อจอประสาทตาและแก้วตาได้ แต่สำหรับแสงสีฟ้าอ่อน ๆ จากจอคอมพิวเตอร์ทั่วไป ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีผลเสีย สำหรับ แว่นตัดแสงสีฟ้า ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน องค์กรวิชาชีพอย่าง American Academy of Ophthalmology ไม่ได้แนะนำให้ใช้ เพราะ ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอที่จะแนะนำให้ใช้ได้ แต่ก็ไม่ได้ห้าม หากอยากจะใส่เพื่อความสบายใจก็สามารถทำได้

ถ้าผู้ใหญ่มีปัญหาสายตายาว แต่ไม่ยอมใส่แว่น ทนมองเบลอ ๆ ไป จะเป็นการเร่งความเสื่อมของดวงตาและสมองด้วยหรือไม่ ?

หมอเอกเทศ : ตาไม่ได้ขี้เกียจครับ แต่มันปรับไม่ได้ เพราะอายุของตาเยอะเกินไปที่จะปรับตัว แนะนำว่าต้องเห็นครับ ถ้ามันมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเรา ก็ต้องใส่แว่น เพราะถ้าหรี่ตาเกร็งเพื่อจะมอง ก็จะทำให้กล้ามเนื้อตาล้าและเหี่ยวลงด้วย ใส่แว่นให้สบาย ๆ ไม่ดีกว่าหรือครับ สำหรับผู้ใหญ่ที่ยังไม่เข้าสู่วัยสมองเสื่อม การไม่ใส่แว่นแล้วมองเบลอ ๆ ไม่น่าจะเร่งความเสื่อมของดวงตาหรือสมอง

คอนแทคเลนส์ใส่นาน ๆ มีผลกระทบระยะยาวไหม ข้อควรระวังในการใช้คอนแทคเลนส์ ?

หมอเอกเทศ : คอนแทคเลนส์ถือว่าเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ เพราะมันเพิ่มโอกาสการเกิดปัญหากับตา สำคัญที่สุดก็คือการติดเชื้อ คนที่ใส่คอนแทคเลนส์ต้อดูแลอย่างดี ไม่ใส่นอน มีโอกาส 1 ใน 5000 คนที่จะติดเชื้อภายใน 1 ปีถ้าใส่ทุกวัน เป็นคอนแทคเลนส์แบบ soft lens ใส่ 1 อาทิตย์หรือ 1 เดือน ที่ดีที่สุดคือใช้วันต่อวัน คอนแทคเลนส์ที่ไม่ได้ออกแบบมาใช้ได้นาน ๆ ก็จะยิ่งแย่ เช่น คอนแทคเลนส์สี หรือ big eye คุณภาพสำหรับสุขภาพของเราจะไม่ดีเท่าคอนแทคเลนส์ใส ๆ เล็ก ๆ ดังนั้นควรดูแลให้ดี มีปัญหาให้ไปพบแพทย์ทันที ถ้าเกิดการติดเชื้อยิ่งรักษาเร็วยิ่งดีไม่ทำความเสียหามากต่อกระจกตา ถ้าเกิดการเสียหายจะเสียหายแบบถาวร อัตราการติดเชื้อของการใส่คอนแทคเลนส์ใน 1 ปีเยอะกว่าการทำผ่าตัดเลสิก

แนะนำเทคนิคการดูแลดวงตาและสายตาของเราอย่างไรให้เสื่อมช้าที่สุด ?

หมอเอกเทศ : การเสื่อมของตาเป็นไปตามธรรมชาติ แต่อย่าไปเร่งมัน อย่าขยี้ตาบ่อย บางคนอาจมีการนวดเพื่อช่วยให้ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานได้ดีขึ้น แต่ควรปรึกษาคุณหมอ หากตาแห้งสามารถหยอดน้ำตาเทียมได้ หากตาแห้งมากผิดปกติ ควรไปพบจักษุแพทย์ ควรตรวจกับจักษุแพทย์เป็นประจำ หากอายุน้อย ควรตรวจทุก 2 ปี หากอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจปีละครั้ง การตรวจที่สำคัญคือการตรวจต้อหิน (Glaucoma) ซึ่งแม้จะไม่ค่อยพบ แต่หากเป็นแล้วไม่รู้ตัว อาจทำให้ตาบอดได้อย่างถาวรและไม่สามารถรักษาให้กลับมามองเห็นได้เหมือนต้อกระจก ส่วนเรื่องการพักสายตาจะช่วยให้ตาของเราใช้ทำงานได้ทนขึ้นและรู้สึกสบายขึ้น ไม่ได้ป้องกันความเสียหายถาวร มีหลักการพักสายตาที่เรียกว่า "20-20-20" คือ ใช้งาน 20 นาที พัก 20 วินาที โดยมองไปในระยะไกลเกิน 20 ฟุตขึ้นไป

สามารถติดตาม "On the way with Chom" ได้ที่ช่องทาง Podcast : Life Dot , Facebook: Life Dot , Youtube : Life Dot วันจันทร์ (สัปดาห์เว้นสัปดาห์) เวลา 18.00 น.

คลิกชมรายการย้อนหลัง : https://www.youtube.com/watch?v=xy8zmW8nfpg&ab_channel=LIFEDOT

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

ตร.สันติบาลบุรีรัมย์ นำ ขรก. ทำกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาวัด เฉลิมพระเกียรติ

13 นาทีที่แล้ว

อุทยานฯหว้ากอ เตรียมจัดใหญ่งานวันรำลึก “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” เทิดพระเกียรติ ร.4

19 นาทีที่แล้ว

ไฟเก่ายังไม่มอด! “มายา (MAYA)” Ep.6 ความจริงใกล้เปิดเผย ดราม่าเดือดบน Viu

19 นาทีที่แล้ว

ดีป้า ผนึกเครือข่ายพันธมิตรขยายผลโครงการ OTOD ทุเรียนดิจิทัล ส่งเสริม 10,000 เกษตรกรชาวสวนทุเรียนไทย ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล

20 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

รฟท. เอาผิดนักท่องเที่ยวมือบอนพ่นสีรถไฟ ย้ำ ดำเนินคดีถึงที่สุดปกป้องสมบัติของประเทศ

THE STATES TIMES
วิดีโอ

แพทองธารถก มาตรการหนุนหนัง-เพลง-ซีรีส์ไทย เดินหน้าต่อเนื่อง Soft Power สร้างเศรษฐกิจไทย

BRIGHTTV.CO.TH

Kearney เปิดตัว Global Cities Framework แนวทางพัฒนาเมือง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก

ไทยพับลิก้า

เปิดสภาพล่าสุด สีกากอล์ฟ นาทีถูกคุมตัวสอบเข้ม เดินคอตก หมดซึ่งเรี่ยวแรง

มุมข่าว

“ห้างเซ็นทรัล” จัดแคมเปญ “CENTRAL SHOP UNLOCKED” สร้างปรากฏการณ์ช้อปสนุกครั้งใหญ่

INN News

สีจิ้นผิงพบปะรมว.ต่างประเทศรัสเซียในปักกิ่ง

Xinhua

กลาโหมจีนชี้การยั่วยุก่อสงคราม ‘เอกราชไต้หวัน’ นำสู่การทำลายตัวเอง

Xinhua

GLOBALink : จีนเผย ‘จีดีพี’ ครึ่งปีแรก ขยายตัว 5.3%

Xinhua

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...