โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

รีวิว ASP-DIGIBLOC ไขรหัสอนาคต ปลดล็อกโอกาสลงทุนในนวัตกรรมบล็อกเชน

Finnomena

อัพเดต 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Finnomena Funds

Highlight

  • บล็อกเชน: เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอนาคต
  • ทำไมบล็อกเชนถึงน่าลงทุนตอนนี้?
  • บล็อกเชนไม่ได้มีดีแค่คริปโต
  • โอกาสลงทุนในบล็อกเชนกับ ASP-DIGIBLOC
  • ทำความรู้จักกับกองทุนหลัก VanEck Digital Transformation ETF (DAPP)
  • เจาะข้อมูลบริษัท Top 5 Holdings
  • สรุปจุดเด่นที่น่าสนใจของ ASP-DIGIBLOC

เคยคิดเล่น ๆ ไหมว่า ถ้าเรามีโอกาสย้อนเวลากลับไปในยุคที่อินเทอร์เน็ตเพิ่งเริ่มต้น เราจะลงทุนอะไร? ในยุคนั้นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่เราคุ้นเคยอย่าง Google, Amazon หรือ Microsoft กำลังเริ่มต้นจากศูนย์ และใครที่จะมองเห็นศักยภาพของเทคโนโลยีนี้ ก็มีโอกาสที่จะกลายเป็นมหาเศรษฐีได้อย่างง่ายดาย

จำได้ไหมว่าครั้งหนึ่งอินเทอร์เน็ตเคยเป็นเทคโนโลยีที่ดูลึกลับและเข้าถึงยาก? วันนี้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว บล็อกเชนก็กำลังก้าวตามรอยอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้น และยังมีศักยภาพที่จะปฏิวัติระบบเศรษฐกิจ รวมถึงสังคมของเราในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งกว่า

บทความนี้จะพาคุณไปสำรวจโอกาสในการลงทุนของบล็อกเชน และทำความเข้าใจถึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายใต้เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่น่าจับตามองที่สุดในยุคนี้

บล็อกเชน: เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอนาคต

บล็อกเชน คือ เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ที่เชื่อมโยงกันเป็นห่วงโซ่ โดยข้อมูลแต่ละชิ้นจะถูกบันทึกใน “บล็อก” และบล็อกเหล่านี้จะถูกเชื่อมโยงกันเป็น “เชน” ทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยสูงและตรวจสอบย้อนกลับได้ยาก เนื่องจากการแก้ไขข้อมูลในบล็อกเชนต้องได้รับการยืนยันจากสมาชิกในเครือข่ายทั้งหมด

ทำไมโลกถึงต้องการบล็อกเชน?

  • ความโปร่งใส: ทุกคนในเครือข่ายสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ ทำให้มีความโปร่งใสและน่าเชื่อถือ
  • ความปลอดภัย: ข้อมูลถูกกระจายไปยังหลาย ๆ เครื่อง ทำให้การเจาะระบบและแก้ไขข้อมูลเป็นเรื่องยาก
  • ตรวจสอบย้อนกลับได้: สามารถตรวจสอบประวัติการทำธุรกรรมได้อย่างละเอียด ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ
  • ลดต้นทุน: ลดการพึ่งพาตัวกลาง ทำให้ลดต้นทุนในการทำธุรกรรม

บล็อกเชนแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง?

ในอดีต ระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์มักประสบปัญหาเรื่องความซับซ้อน ค่าใช้จ่ายสูง และการขาดความโปร่งใส บล็อกเชนเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ โดยเฉพาะในด้านการเงิน ธุรกรรม และการจัดการเอกสาร

ทำไมบล็อกเชนถึงน่าลงทุนตอนนี้?

คาดการณ์ขนาดตลาดบล็อกเชนทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2022 – 2032 | ที่มา: market.us | ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2024

นึกถึงตอนที่อินเทอร์เน็ตเพิ่งเริ่มเป็นที่นิยม ทุกคนต่างตื่นเต้นกับความเป็นไปได้ใหม่ ๆ แต่ยังไม่มีใครรู้ว่ามันจะเปลี่ยนโลกได้มากขนาดไหน

บล็อกเชนเองก็เช่นกัน มันไม่ใช่แค่เทคโนโลยีธรรมดา แต่คือโครงสร้างพื้นฐานที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของโลกดิจิทัล เหมือนกับที่อินเทอร์เน็ตเคยทำมาแล้วในช่วงปี 2000 เรียกได้ว่าบล็อกเชนคือเส้นทางสายไหม (Silk Road) ในโลกไซเบอร์ที่จะเชื่อมต่อทุกอย่างเข้าด้วยกันอย่างปลอดภัยและโปร่งใส

ตอนนี้บล็อกเชนยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น เหมือนกับอินเทอร์เน็ตในยุค Y2K ที่หลายคนยังสงสัยว่ามันจะไปรอดหรือไม่? จะเป็นแค่ของเล่นสำหรับสาย IT หรือเปล่า? แต่เราก็รู้กันแล้วว่าเกิดอะไรขึ้นกับอินเทอร์เน็ตหลังจากช่วงปี 2000 เป็นต้นมา

นี่คือโอกาสสำหรับนักลงทุนที่มองการณ์ไกล เพราะในอนาคตเรามีโอกาสได้เห็นการเติบโตแบบพุ่งทะยานของเทคโนโลยีบล็อกเชน เหมือนกับที่เราเคยเห็นบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่เติบโตอย่างก้าวกระโดด

กฎหมายใหม่ GENIUS Act

ร่างกฎหมาย GENIUS Act ในสหรัฐฯ ถือเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่จะช่วยหนุนตลาดคริปโต โดยเฉพาะ Stablecoin ให้ก้าวสู่การยอมรับในวงกว้างยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมาการขาดกฎหมายกำกับดูแลที่ชัดเจน ทำให้หลายบริษัทดำเนินงานแบบกึ่งเทากึ่งขาว นักลงทุนก็ไม่มั่นใจ กลุ่มสถาบันการเงินใหญ่ก็ไม่กล้าเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ GENIUS Act จึงถูกเสนอขึ้น เพื่อสร้าง “กฎพื้นฐาน” สำหรับ Stablecoin ที่จะทำให้ระบบมีเสถียรภาพ ปลอดภัย และน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยไม่ปิดกั้นการเติบโตของเทคโนโลยี

เนื้อหาหลักของกฎหมายนี้ ได้แก่

  • สำรองสินทรัพย์ 1:1 บังคับผู้ออก Stablecoin ต้องสำรองสินทรัพย์เต็มจำนวนด้วยเงินสดหรือสินทรัพย์สภาพคล่องสูง เพื่อสร้างความมั่นใจสูงสุด
  • โปร่งใส ตรวจสอบได้ ต้องเปิดเผยข้อมูลสำรองต่อสาธารณะอย่างโปร่งใส และให้องค์กรอิสระเข้ามาตรวจสอบบัญชี
  • ปฏิบัติตามกฎหมายป้องกันการฟอกเงิน และยืนยันตัวตนผู้ใช้งาน
  • คุ้มครองผู้ถือเหรียญ หากมีปัญหาทางการเงิน ผู้ถือเหรียญจะได้รับการชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นDigital Asset: มากกว่าแค่คริปโตเคอร์เรนซี

Digital Asset คือ สินทรัพย์ดิจิทัลที่แทนสินทรัพย์ที่มีอยู่จริงในโลกแห่งความเป็นจริง แต่ถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ทำให้สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ง่ายและรวดเร็ว ผ่านระบบออนไลน์โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง เช่น ธนาคาร

ทั้งนี้ Digital Asset แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  • Cryptocurrency หรือสกุลเงินดิจิทัล ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เช่น Bitcoin, Ethereum
  • Digital Token แบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภท คือ

2.1) Investment Token หรือโทเคนเพื่อการลงทุน สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิในการร่วมลงทุน เช่น สิทธิในส่วนแบ่งรายได้ สิทธิในผลกำไรจากการลงทุน

2.2) Utility Token หรือโทเคนเพื่อการใช้ประโยชน์ สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิในการได้รับสินค้าและบริการที่เฉพาะเจาะจง เช่น บัตรโดยสารรถไฟฟ้า คูปองในศูนย์อาหาร หรือชิปในคาสิโน

บล็อกเชนไม่ได้มีดีแค่คริปโต

ส่วนแบ่งตลาดของบล็อกเชน แบ่งตามภาคอุตสาหกรรม | ที่มา: Grand View Research | ข้อมูล ณ ปี 2022

แม้จะถือกำเนิดมาเพื่อสร้างสกุลเงินดิจิทัล แต่ปัจจุบันบล็อกเชนได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หลายอุตสาหกรรมนำไปใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเงิน การแพทย์ หรือแม้แต่การจัดการห่วงโซ่อุปทาน ทำให้โอกาสในการเติบโตของบล็อกเชนยังมีอีกมาก

เทคโนโลยีบล็อกเชนได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการปฏิวัติรูปแบบการดำเนินงานในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสของกระบวนการทางธุรกิจ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการนำบล็อกเชนไปประยุกต์ใช้ในภาคส่วนต่าง ๆ ดังนี้

  • ภาครัฐ: บล็อกเชนถูกนำมาใช้ในการเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงานของภาครัฐ เช่น การติดตามโครงการสาธารณะ การจัดการเอกสาร และการจัดการการเลือกตั้ง
  • ภาคอุตสาหกรรม: ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอาหาร
  • ภาคการเงิน: บล็อกเชนเป็นพื้นฐานของสกุลเงินดิจิทัลและเทคโนโลยีทางการเงินใหม่ ๆ ที่ช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกรรมและเพิ่มความปลอดภัย
  • ภาคสุขภาพ: บล็อกเชนยังถูกนำไปใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยอย่างปลอดภัยและเป็นส่วนตัว ช่วยให้แพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

จากข้อมูลข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคต

อยากก้าวเข้าสู่โลกบล็อกเชน? มีทางเลือกมากกว่าแค่ซื้อคริปโต

การลงทุนในกองทุนดัชนีที่ติดตามสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชน (Digital Asset & Blockchain ETF) นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงและเข้าถึงตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีระบบ

โดยการลงทุนลงในบริษัทที่ถือสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นจำนวนมาก หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชนผ่าน Digital Asset & Blockchain ETF มีข้อดีดังนี้

  • การกระจายความเสี่ยง กองทุน ETF จะลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชนในสัดส่วนที่เหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเพียงรายการเดียว
  • การเข้าถึงตลาดที่กว้างขึ้น นักลงทุนสามารถเข้าถึงตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลได้อย่างสะดวกสบายผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องมีกระเป๋าเงินดิจิทัล
  • การบริหารจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญ กองทุน ETF มีผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาคอยคัดเลือกและบริหารพอร์ตการลงทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • การกำกับดูแล กองทุน ETF อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับหลักทรัพย์ ทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจในความโปร่งใสและความปลอดภัย โอกาสลงทุนในบล็อกเชนกับ ASP-DIGIBLOC

กองทุนเปิด แอสเซทพลัส ดิจิทัล บล็อกเชน (ASP-DIGIBLOC) เป็นกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ ที่มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active) โดยลงทุนในบริษัทสินทรัพย์ดิจิทัล บริษัทที่มีรายได้จากการดำเนินธุรกิจ หรือมีความเกี่ยวข้องกับระบบสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชน

โดย ASP-DIGIBLOC มีกลยุทธ์ลงทุนในบริษัทที่อยู่เบื้องหลังโลกคริปโต และเป็นบริษัทชั้นนำที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล เหมืองขุดชั้นนำ หรือบริษัทที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของโลกดิจิทัล ลงทุนกับผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมนี้เพื่อร่วมสร้างอนาคตของโลกดิจิทัล

ASP-DIGIBLOC ลงทุนผ่านกองทุนหลักคือ VanEck Digital Transformation ETF ที่มีวัตถุประสงค์การลงทุนโดยพยายามสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนี MVIS Global Digital Assets Equity Index มากที่สุด

ทั้งนี้ ดัชนี MVIS Global Digital Assets Equity Index มีวัตถุประสงค์ในการติดตามผลประกอบการของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดและมีสภาพคล่องมากที่สุดในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล และรวมเฉพาะบริษัทที่มีรายได้อย่างน้อย 50% จากบริการและผลิตภัณฑ์ด้านสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น ศูนย์แลกเปลี่ยน (Exchange) เกตเวย์การชำระเงิน เหมืองขุด (Miner) บริการซอฟต์แวร์ อุปกรณ์และเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานของสินทรัพย์ดิจิทัล และการอำนวยความสะดวกทางการค้าด้วยการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล

Finnomena 3D Diagram | ที่มา: Finnomena Funds | ข้อมูล ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 202ถ

รายละเอียดอื่น ๆ ของ ASP-DIGIBLOC

  • ความเสี่ยงระดับ 6 (กองทุนรวมหุ้น)
  • นโยบายการจ่ายเงินปันผล: ไม่จ่าย
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ 1.61% ต่อปี
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) 1.25%
  • ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee) ไม่มี
  • ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเข้า (Switching-in) 1.25%
  • ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออก (Switching-out) ไม่มี
  • ค่าใช้จ่ายรวม 2.94% ต่อปี
  • การลงทุนครั้งแรก ขั้นต่ำ 1,000 บาท
  • การลงทุนครั้งต่อไป ขั้นต่ำ 1,000 บาทเช่นกัน
  • มีการป้องกันความผันผวนด้านค่าเงิน (Fx Hedging) ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนทำความรู้จักกับกองทุนหลัก VanEck Digital Transformation ETF (DAPP)

กองทุน VanEck Digital Transformation ETF (DAPP) มีนโยบายการลงทุนในบริษัททั่วโลกที่มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล เกินกว่าร้อยละ 50 หรือมีศักยภาพในอนาคตที่จะสามารถสร้างรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล สัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 50

ทั้งนี้ กองทุนมีการกระจายการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Digital Assets คลอบคลุมในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านธุรกิจการขุดเหมืองคริปโต การทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล ธนาคารตัวกลางด้านสินทรัพย์ดิจิทัล และธุรกิจด้านซอฟแวร์อื่น ๆ

7 ธีมหลักที่ DAPP เลือกลงทุน

7 ธีมหลักที่ VanEck Digital Transformation ETF (DAPP) ลงทุน | ที่มา: VanEck | ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2022

  • Payment Gateways

บริษัทที่ให้บริการดำเนินการชำระเงินบนเว็บไซต์ แพลตฟอร์มการซื้อขาย รวมถึงร้านค้าแบบดั้งเดิม ด้วย

การใช้สินทรัพย์ดิจิทัล ตัวอย่างบริษัท เช่น Block (เดิมชื่อ Square), GreenBox POS

  • Hardware

บริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์สำหรับการขุดหรือจัดเก็บสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น บริษัท Semiconductor อย่าง Canaan และ Ebang

  • Crypto Miners

บริษัทที่ทำหน้าที่ประมวลผลธุรกรรมระหว่างผู้ใช้บัญชีแยกประเภทแบบกระจายศูนย์ หรือนักขุด เช่น Marathon, Riot Blockchain, Bitfarm

  • Exchanges

บริษัทที่ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ตัวอย่างบริษัท เช่น Coinbase, Voyager Digital

  • Crypto Holding and Trading

บริษัทที่มีสินทรัพย์ดิจิทัลใน Balance Sheet หรือมีการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นจำนวนสูง เช่น Microstrategy, Coinshares

  • Software and Value Added Services

บริษัทที่สร้างซอฟต์แวร์หรืออำนวยความสะดวกเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินทรัพย์ดิจิทัล เช่น Northern Data

  • Banking & Asset Management

บริษัทที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างระบบการให้บริการทางการเงินแบบดั้งเดิม และระบบการให้บริการสำหรับ

สินทรัพย์ดิจิทัลยุคใหม่ อาจอยู่ในรูปแบบของการให้บริการชำระเงิน และการดูแลลูกค้า ตัวอย่างบริษัท เช่น Silvergate, BC Technology Group (Brokerage service)

เจาะข้อมูลบริษัท Top 5 Holdings

*ข้อมูล ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2025 สัดส่วนการลงทุนอาจเปลี่ยนแปลง

1. Coinbase Global (COIN) 10.56%

Coinbase เป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange) ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี 2012

Coinbase ไม่ใช่แค่ตลาดแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลธรรมดา แต่เป็นอาณาจักรคริปโตครบวงจร ตั้งแต่ซื้อขายแลกเปลี่ยน ไปจนถึงการเป็นตู้เซฟดิจิทัลให้กับนักลงทุนทั้งรายย่อยและสถาบัน

นอกจากนี้ Coinbase ยังเป็นผู้พัฒนา USDC เหรียญ Stablecoin ยอดนิยม ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ผูกติดกับมูลค่าของดอลลาร์สหรัฐ เรียกได้ว่าเป็น “เงินดอลลาร์ในโลกคริปโต” เลยทีเดียว

2. Circle Internet Group (CRCL) 7.93%

Circle Internet Group

Circle เป็นบริษัทเทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech) ระดับโลกที่มุ่งเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสกุลเงินดิจิทัล จุดเด่นสำคัญของ Circle คือการเป็น ผู้ออกเหรียญ Stablecoin (คริปโทเคอร์เรนซีที่มีมูลค่าคงที่) ที่สำคัญอย่าง USDC (USD Coin) ซึ่งเป็นเหรียญที่มีมูลค่าผูกติดกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แบบ 1:1 และมีการสำรองสินทรัพย์เต็มจำนวน (ส่วนใหญ่เป็นพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้น)

Circle ก่อตั้งขึ้นในปี 2013 โดยเริ่มต้นจากการเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการชำระเงินดิจิทัลและกระเป๋าเงิน Bitcoin ก่อนจะขยับมาเป็นผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรม Stablecoin และให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยเชื่อมโยกโลกการเงินแบบดั้งเดิมเข้ากับสินทรัพย์ดิจิทัล ทำให้การโอนเงินข้ามประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีค่าธรรมเนียมต่ำ

3. MicroStrategy (MSTR) 7.43%

เดิมที MicroStrategy เป็นที่รู้จักในฐานะผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ ซึ่งอาจจะไม่ได้มีชื่อเสียงอะไรในวงกว้าง แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา MicroStrategy ได้กลายเป็นที่พูดถึงอย่างมากในฐานะ “บริษัทที่ถือครอง Bitcoin มากที่สุดในโลก”

ถ้าถามว่ามากแค่ไหน? จากข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2025 MicroStrategy เป็นเจ้าของ Bitcoin อยู่ที่ประมาณ 597,325 BTC คิดเป็นมูลค่าประมาณ 65,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.1 ล้านล้านบาท (เมื่อคิดจากราคา 1 BTC = 108,000 ดอลลาร์สหรัฐ)

4. Block (SQ) 6.82%

Block Inc

Block (เดิมชื่อว่า Square) เป็นผู้ให้บริการด้านการเงิน ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ และผู้ประมวลผลการชำระเงินที่ช่วยให้ธุรกิจเพิ่มรายได้ผ่านการใช้โซลูชันที่เข้าถึงได้ง่าย

สิ่งที่น่าสนใจคือ Block เป็นการร่วมมือกันของบริษัทต่าง ๆ อย่าง Cash App, Spiral, TIDAL และ TBD โดยเป้าหมายหลักของบริษัทคือทำให้คนทั่วไปเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าหรือลูกค้า ควบคู่ไปกับการพัฒนาแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin

Block เป็นบริษัทใหญ่ที่สนับสนุน Bitcoin อย่างจริงจัง พวกเขารับชำระเงินด้วย Bitcoin มาตั้งแต่ปี 2014 ผ่านแอปพลิเคชัน Cash ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้ส่งและรับการชำระเงินด้วย Bitcoin

5. Metaplanet Inc (MTPLF) 6.14%%

Metaplanet Inc

Metaplanet Inc. เป็นบริษัทญี่ปุ่นที่กำลังเป็นที่จับตามองอย่างมากในฐานะ “MicroStrategy แห่งเอเชีย” เนื่องจากมีกลยุทธ์ที่คล้ายคลึงกันในการถือครอง Bitcoin เป็นสินทรัพย์หลักในคลังของบริษัท

เดิมที Metaplanet (หรือเคยรู้จักกันในชื่อ Red Planet Japan) ทำธุรกิจหลักเกี่ยวกับการ พัฒนาและบริหารจัดการโรงแรม แต่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้บริษัทต้องหันมาปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ครั้งใหญ่ โดยมุ่งเน้นที่การถือครอง Bitcoin เป็นสินทรัพย์สำรองเพื่อป้องกันเงินเฟ้อและสร้างผลตอบแทน

นอกจากนี้ ยังลงทุนและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี Web3, Blockchain และ NFT ขณะที่ธุรกิจโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ยังคงดำเนินงานอยู่บ้าง

สรุปจุดเด่นที่น่าสนใจของ ASP-DIGIBLOC

  • ลงทุนในบริษัทชั้นนำของโลกบล็อกเชน

ไม่ได้ลงทุนในเหรียญคริปโตโดยตรง แต่ลงทุนในบริษัทใหญ่ ๆ ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชน หรือบริษัทที่ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ

  • เติบโตไปกับสินทรัพย์ดิจิทัล

กองทุนนี้จะเติบโตไปพร้อม ๆ กับอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับ Bitcoin อีกด้วย

  • ความผันผวนน้อยกว่า

แม้จะเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ความผันผวนของกองทุนนี้จะน้อยกว่าการลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีโดยตรง

ASP-DIGIBLOC เหมาะสำหรับใคร?

  • ผู้ที่เชื่อมั่นในอนาคตของเทคโนโลยีบล็อกเชน และมองหาโอกาสเติบโตในระยะยาว
  • ผู้ที่สนใจลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซี แต่กังวลเรื่องความผันผวนของราคา
  • ผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูง และลงทุนในระยะกลางถึงยาวได้

แม้ว่าโลกของบล็อกเชนจะเต็มไปด้วยโอกาสที่น่าตื่นเต้น แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่ต้องตระหนักเสมอ การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความผันผวนสูง และตลาดอาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ และทำความเข้าใจถึงเทคโนโลยีบล็อกเชนอย่างถ่องแท้

ที่มา: Financial Times, MicroStrategy, VanEck, VanEck, VanEck

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Finnomena

รีวิวผลงาน All Weather Strategy ผลตอบแทนสะสม 54.8% นับตั้งแต่จัดตั้ง พร้อมรับมือแม้ตลาดเปลี่ยนฤดู

14 ชั่วโมงที่ผ่านมา

รู้จักดัชนีหุ้นไทย โอกาสลงทุนง่าย ๆ ผ่าน Passive Fund

14 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

Samsung เปิดตัว Galaxy Z Fold 7, Flip 7, Watch 8 Series สเปค ราคา

SpringNews

LINE Premium ให้บริการแล้ว! โปรแกรมสมาชิกให้ใช้ LINE พรีเมียมกว่าเคย สมัครวันนี้ ทดลองใช้ฟรี 1 ด.

สยามรัฐ

มหกรรมแห่เทียนพรรษาอุบลเริ่มแล้ว! ทรูฯ จัดเต็ม 5G พร้อมหนุนซอฟต์พาวเวอร์ไทย

สยามรัฐ

สำนักงานสลากฯ มอบรางวัลประกวดหนังสั้น ปลุกพลังนักศึกษาส่งต่อความสุข สร้างสังคมแห่งการให้

สยามรัฐ

ITD ชวนร่วมงาน Regional Trade Exponential Fest 2025 จุดประกายการค้าระดับภูมิภาค 23 ก.ค. 68 วันเดียวเท่านั้น!

สยามรัฐ

EGCO Group ประกาศบ.ร่วมทุน “CDI Group” ขาย IPO และจดทะเบียนในตลาดหุ้นอินโดฯอย่างเป็นทางการ

สยามรัฐ

ทล.เปิดทดลองวิ่งมอเตอร์เวย์ M81 วันที่ 10-14 ก.ค.68 อำนวยความสะดวกปชช.ช่วงวันหยุดยาว

สยามรัฐ

ซัมซุง อวดโฉม Galaxy Z Flip7 สมาร์ทโฟนจอพับ FlexWindow แบบไร้ขอบ

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

รู้จักดัชนีหุ้นไทย โอกาสลงทุนง่าย ๆ ผ่าน Passive Fund

Finnomena

เงินบาทแข็ง VS เงินบาทอ่อน ใครดี ใครได้ ใครเสียเปรียบ?

Finnomena

ศึก Tariff War ของไทย.. จะไปอย่างไรต่อ?

Finnomena
ดูเพิ่ม
Loading...