โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

สรุปภาษีธุรกิจปั๊มน้ำมัน เจ้าของกิจการต้องรู้ก่อนเริ่มลงทุน

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สำหรับผู้ที่วางแผนจะลงทุนเปิดกิจการปั๊มน้ำมัน สิ่งสำคัญลำดับแรกที่ควรคำนึงถึงคือ การจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคล เนื่องจากธุรกิจปั๊มน้ำมันเป็นกิจการที่ใช้เงินลงทุนสูง มีรายรับ-รายจ่ายหมุนเวียนจำนวนมาก การดำเนินธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลจึงมีความเหมาะสม ทั้งในด้านของความน่าเชื่อถือ การบริหารจัดการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านภาษี

เมื่อดำเนินการในรูปแบบ "บริษัท" หรือ "ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" ผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราไม่เกิน 20% ของกำไรสุทธิ และยังได้รับสิทธิยกเว้นภาษีสำหรับรายได้ 300,000 บาทแรก ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับการประกอบธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา

นอกจากนี้การดำเนินธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลยังช่วยให้การจัดทำบัญชีและการวางระบบภาษีมีความถูกต้องและเป็นระเบียบมากขึ้น เพราะจำเป็นต้องมีนักบัญชีที่มีคุณสมบัติตามกฎหมายเข้ามาดูแลเรื่องงบการเงินและการเสียภาษีอย่างรอบคอบ ลดความเสี่ยงในการทำผิดพลาด

รายได้-รายจ่ายของปั๊มน้ำมัน มีผลต่อภาษีอย่างไร?

ธุรกิจปั๊มน้ำมันถือเป็นกิจการที่มีทั้งรายได้และรายจ่ายหมุนเวียนจำนวนมากจากหลายแหล่ง ซึ่งล้วนส่งผลต่อการคำนวณภาษีในแต่ละปีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในกรณีที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เจ้าของกิจการจำเป็นต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินให้ครบถ้วนและถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร

ดังนั้นมาดูรายละเอียดของรายได้และรายจ่ายที่มีผลต่อภาษีของปั๊มน้ำมันกัน

รายได้หลักของธุรกิจปั๊มน้ำมัน

- รายได้จากการขายน้ำมันและก๊าซเชื้อเพลิง

- น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ

- ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)

- ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (NGV)

- รายได้จากธุรกิจเสริมภายในพื้นที่ปั๊ม อาจเป็นกิจการที่ดำเนินการเอง หรือให้ผู้อื่นเช่าพื้นที่ เช่น

  • มินิมาร์ทหรือซูเปอร์มาร์เก็ต
  • ร้านกาแฟหรือร้านอาหาร
  • ร้านขายน้ำมันหล่อลื่นและบริการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
  • ร้านขายอะไหล่ ไส้กรอง หรืออุปกรณ์รถยนต์
  • บริการล้างรถ อัดฉีด
  • ร้านปะยางและเปลี่ยนยาง
  • การให้เช่าที่จอดรถ หรือให้เช่าพื้นที่ขายของ
  • รายได้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

รายจ่ายหลักของกิจการปั๊มน้ำมัน

เพื่อบริหารกิจการให้ดำเนินไปได้ เจ้าของกิจการจะมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ เช่น

  • ค่าวัตถุดิบ เช่น ค่าน้ำมันและก๊าซ
  • ค่าแรงพนักงาน ค่าจ้าง และสวัสดิการ
  • ค่าเช่าอาคารหรือพื้นที่
  • ค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซม
  • ค่าการตลาด และค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขาย
  • ค่าประกันภัย
  • ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน
  • ดอกเบี้ยเงินกู้
  • ค่าที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ
  • ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์
  • ค่าขนส่งสินค้าและบริการ
  • และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามจริง

ทั้งนี้รายได้และรายจ่ายทั้งหมดของธุรกิจปั๊มน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นรายได้หลักจากการขายน้ำมันหรือรายได้เสริมจากธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ต้องถูกจัดทำบัญชีและงบการเงินอย่างครบถ้วนตามหลักการบัญชีที่ถูกต้อง เพื่อใช้ประกอบการคำนวณภาษีที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษี มูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ

โดยสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นหน้าที่สำคัญที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างมั่นคงและโปร่งใสทางภาษี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ของกิจการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี โดยใช้อัตราภาษีสูงสุดที่ 20% ซึ่งการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลแบ่งออกเป็น 2 รอบหลัก ได้แก่

• การยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ต้องดำเนินการภายใน 2 เดือนหลังจากสิ้นสุด 6 เดือนแรกของรอบบัญชี

• การยื่นภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด.50) ต้องยื่นภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี

ผู้ประกอบการสามารถยื่นแบบและชำระภาษีได้ทั้งทางสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือผ่านระบบออนไลน์ของกรมสรรพากร บนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) คือภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าส่วนเพิ่มของสินค้าและบริการในแต่ละขั้นตอนการซื้อขาย หากกิจการมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียน VAT ภายใน 30 วัน

สำหรับปั๊มน้ำมัน ถือเป็นสถานประกอบการขายสินค้ารายย่อย หากขายน้ำมันไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี เว้นแต่ลูกค้าร้องขอ

คุณสมบัติของปั๊มน้ำมันที่เข้าข่ายขายรายย่อย ได้แก่

• ไม่ใช้เครื่องบันทึกเงินสดหรือระบบคอมพิวเตอร์รับชำระ

• มีถังเก็บน้ำมันใต้ดินขนาด 5,000 ลิตรขึ้นไป

• ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรว่าเป็นการขายรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือภาษีที่ผู้จ่ายเงินต้องหักไว้ก่อนจ่ายค่าตอบแทน แล้วนำส่งกรมสรรพากรตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ซึ่งแตกต่างกันตามประเภทรายจ่าย ดังนี้

• เงินเดือน ค่าจ้าง : 0%

• จ้างงาน/จ้างบริการทั่วไป : 0%

• วิชาชีพอิสระ : 3%

• รับเหมา/ทำของ : 3%

• ค่าเช่า : 5%

• ค่าโฆษณา : 2%

• ค่าขนส่ง : 1%

เมื่อหักภาษีแล้ว ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 หรือ ภ.ง.ด.53 ภายในวันที่ 7–15 ของเดือนถัดไป

สรุป…นอกจากภาษีหลักที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังอาจต้องเสียภาษีอื่นๆ ที่ผู้ประกอบการปั๊มน้ำมันควรทราบ ได้แก่ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในกรณีที่มีการปล่อยเงินกู้และคิดดอกเบี้ยในลักษณะคล้ายธนาคาร ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หากมีการนำพื้นที่ภายในปั๊มไปให้เช่าหรือใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ อากรแสตมป์จากการทำสัญญาเช่าที่ดินหรือทรัพย์สิน และภาษีป้ายในกรณีที่มีการติดตั้งป้ายชื่อ โลโก้ หรือป้ายโฆษณาภายในพื้นที่ปั๊มน้ำมัน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นภาษีที่อาจเกิดขึ้นตามลักษณะการดำเนินธุรกิจ

อ่านบทความน่ารู้เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม คลิกที่นี่
Source: Inflow Accounting

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

โลกจับตานวัตกรรมสงคราม หนุนเทคโนโลยีกลาโหมอิสราเอลโตแรง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กต.คอนเฟิร์ม 'ฮุน มาเนต-ภูมิธรรม' พบกันพรุ่งนี้ที่มาเลเซีย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘รัสเซีย’ เปิดบินตรง ‘มอสโก - เปียงยาง’ เที่ยวแรก ในรอบหลายสิบปี

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ตี๋น้อย-ลัคกี้ มีหวั่น! ‘บาบีก้อน’ ลุยเปิดดึกถึงตี 5 จ่อขยายโมเดลเพิ่มอีก 13 แห่งภายในปีนี้

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความหุ้น การลงทุนอื่น ๆ

กรมบัญชีกลาง เพิ่มเงินทดรองราชการ 100 ล้าน ให้ผู้ว่า 3 จว.ชายแดนไทย-กัมพูชา

The Bangkok Insight

“พิชัย” ลั่น! กัมพูชาควรยุติ การใช้ความรุนแรงและเห็นแก่ประโยชน์ ของประชาชนทั้งสองประเทศร่วมกัน

The Better

กสิกรไทย ออกมาตรการ 'พักชำระเงินต้น-ปรับยอดผ่อน' ช่วยลูกค้าจากความไม่สงบ-น้ำท่วม

ประชาชาติธุรกิจ

มอง ‘ราคาทองคำ’ สัปดาห์หน้า ยังแกว่งตัวกรอบแคบ จับตาประชุมเฟด-ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ

The Bangkok Insight

"กสิกรไทย" ออกมาตรการเร่งด่วน ช่วยเหลือลูกค้ากระทบสถานการณ์ชายแดนและอุทกภัยภาคเหนือ

The Better

กสิกรไทย จัดมาตรการช่วยเหลือลูกค้าชายแดน-อุทกภัยภาคเหนือ

The Bangkok Insight

มัดรวมมาตรการแบงก์รัฐฯ-พาณิชย์ อุ้มผู้เดือดร้อนเหตุชายแดนไทย-กัมพูชา

Amarin TV

SCB ออกมาตรการเร่งด่วน ช่วยเหลือลูกค้าผู้ประสบภัย ชายแดนไทย-กัมพูชาและอุทกภัยภาคเหนือ

The Better

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...