จากสินทรัพย์เสี่ยง สู่ทุนสำรองโลก ทุนสำรองยุคใหม่ “Bitcoin” ถูกจับตาแทนที่ทองคำแห่งโลกอนาคต
มาฟังบุคคลที่ถือได้ว่าเป็นหนึ่ง กุนซือ ของคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ไทยว่าเขาจะมีมุมมองกับสินทรัพย์ของโลกในยุคใหม่อย่างไรบ้าง
คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้ง และกรรมการบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด เล่าให้ฟังถึงนิยาม บิตคอยน์ที่จะก้าวขึ้นเป็นทุนสำรองของโลกในอนาคต จากที่เคยกล่าวไว้ว่า “บิทคอยน์” ที่ทะลุ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ นั้นเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น ซึ่งหลังจากปรากฏการณ์ Bitcoin Halving ในช่วง เดือน เมษายน ปี 2567 สำหรับวงการคริปโทเคอร์เรนซีนั้นจะเกิดขึ้นในทุก ๆ 4 ปี แล้วหลังจากนั้น 6 เดือน ตามสถิติราคาจะเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะใช้ระยะเวลา 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง และรอบนี้ก็คาดว่าจะจบลงในช่วงเดือนตุลาคม 2568 นี้
ในขณะที่หลายคนพยายามพยากรณ์เป้าหมายของราคาบิทคอยน์ในสภาวะขาขึ้นของบิทคอยน์ในรอบนี้ ผมมีความคิดเห็นว่าปัจจุบันมีคนออกมาคาดการณ์ราคาบิทคอยน์ ซึ่งก็แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น “เคธี่ วูดส์” นักลงทุนหญิงที่ Forbes ยกย่องให้เป็น America's Richest Self-Made Women ในปี 2020 ที่คาดการณ์ว่าราคาบิทคอยน์มีโอกาสไปไกลถึงระดับ 1,000,000 ดอลลาร์ หรือราว 34 ล้านบาทต่อ 1 บิทคอยน์ ในอีก 5 ปีข้างหน้า และธนาคารต่างๆที่ออกมาคาดการณ์ราคา
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่มีใครคาดการณ์ว่าจะต่ำกว่า 100,000 ดอลลาร์ สะท้อนให้เห็นว่า บิทคอยน์มีค่ามาพอที่จะได้รับการสะสมต่อเนื่อง และมีโอกาศเป็นหนึ่งในทุนสำรองของโลกอนาคตอย่างแท้จริงในระยะยาว
โดยปัจุบันในแต่ละประเทศ ก็มีนโยบายที่แตกต่างกัน อาทิ สหรัฐอเมริกา ที่ออกมาประกาศว่าจะเป็นผู้นำของสินทรัพย์ดิจิตอล เรื่องแรกคือ USD stablecoin ซึ่งในปีที่ผ่านมาการชำระเงินผ่าน stablecoin อยู่ที่ราว 30 Trillion หรือราว 30 ล้านล้านบาท
คาดว่าปีนี้จะเพิ่มขึ้นมากกว่านั้น สื่อให้เห็นว่าการชำระเงินผ่าน stablecoin ในอนาคตอันใกล้จะเข้ามาแทนที่บัตรเครดิตอย่างแน่นอน นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังยืนยันว่าซื้อบิทคอยน์ จำนวน 1 ล้ายบิทคอยน์ ภายในอีก 5 ปีข้างหน้าซึ่งจะเป็นการทยอยซื้อปีละ 2 แสนบิทคอยน์ ต่อไปเรื่อยๆ สำหรับจำนวนบิทคอยน์ที่ถือครองเป็นทุนสำรองในประเทศต่างๆ
สำหรับการสะสมบิทคอยน์ในปัจจุบันนั้น สหรัฐอเมริกาถือครอง 210,000 บิทคอยน์ ,จีนถือครอง 190,000 บิทคอยน์ ,อังกฤษถือครอง 80,000 บิทคอยน์ ,ภูฏาน 10,000 บิตคอยน์ และยังมีประเทศยูเครน รัสเซีย บราซิล ที่ถือครองบิทคอยน์อีกจำนวนมาก ซึ่งผมมองว่า หากอเมริกาเริ่มซื้อเมื่อไหร่ ประเทศต่างๆทั่วโลกก็จะเร่งที่จะซื้อบิทคอยน์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งปัจจุบัน อเมริกาก็มีความพร้อมอย่างมากที่จะดำเนินการซื้อบิตคอยน์ในทันที แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องทำตาม กฎหมาย ต่างๆตามกระบวนการในการซื้อขาย
ดังนั้นจึงมองว่า บิทคอยน์ จะขึ้นเป็นทุนสำรองเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Reserve) ของโลกไม่แตกต่างจากทองคำในยุคที่ผ่านมา โดยปีนี้เองทาง IMF ก็ออกมายอมรับแล้วว่าบิทคอยน์สินทรัพย์ ร
วมถึงสถาบันการเงินระดับโลก อาทิ J.P. Morgan บริษัทให้บริการทางการเงิน และการลงทุน ได้เปิดให้ลูกค้าซื้อบิทคอยน์ผ่านธนาคาร รวมถึง DBS Bank ธนาคารและสถาบันการเงินข้ามชาติของสิงคโปร์ สามารถฝากบิทคอยน์ได้เหมือนฝากเงินในธนาคาร ส่วนในประเทศสวิตเซอร์แลนด์สามารถฝากบิทคอยน์และกู้บิทคอยน์ออกมาได้ด้วย เสมือนการฝากทองคำหรือฝาก อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งเป็นทิศทางของโลกที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ความตื่นตัวของ บิทคอยน์ และหากประเทศไทยยังไม่รีบดำเนินการ ต้นทุนต่อ “หนึ่งบิทคอยน์จะแพงขึ้น” ไปเรื่อยๆ
“โลกอนาคต บิตคอยน์จะเป็นสินทรัพย์สำรองของโลก และมีโอกาสแทนที่ทองคำ”
ถ้าหากให้เรียงลำดับสินทรัพย์สำรองของโลกในอนาคต ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ผมยังมองว่าทองคำยังเป็นการลงทุนที่ดีในช่วง 5 ปีต่อจากนี้ หรือราวๆ 2030 แต่หลังจากนั้นในอนาคต มีความเป็นไปได้สูงที่เทคโนโลยี Ai จะทรงพลังมาก จนกระทั่งเราสามารถปลูกทองได้ หรือ "Synthesize gold" หรือ "การสังเคราะห์ทองคำ" โดยทั่วไปหมายถึงกระบวนการสร้างทองคำจากธาตุอื่น ๆ หรือจากสารประกอบของทองคำ ซึ่งเป็นการทดลองที่ละเอียดกว่ามนุษย์ และไม่มีต้นทุน
ดังนั้นในอนาคตคาดการณ์ว่าโอกาสที่มาร์เก็ตแคปของบิทคอยน์จะแซงทองคำจะเกิดขึ้น โดยในปี 2567 ที่ผ่านมามาร์เก็ตแคร์ของบิทคอยน์อยู่ที่ประมาณหนึ่งส่วน 10 ของทองคำ และมีทิศทางที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัจจัยความเชื่อมั่นเงินดอลลาร์ ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากปัญหาหนี้สหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาบิทคอยน์ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้สินทรัพย์ ชนิดอื่นๆไม่ว่าจะเป็น หุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของโลก ทีมีมาร์เก็ตแคบใหญ่ ซึ่งจะยิ่งทรงพลังมากขึ้นเนื่องจากสามารถควบคุม AI ได้ มูลค่าก็ยิ่งจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นระดับล้านล้านดอลลาร์
สำหรับ บิตคอยน์ ในตลาดเมืองไทยผมมองว่า การยกเว้น ภาษี Capital Gain หรือ ภาษีกำไรจากการขายสินทรัพย์เป็นประโยชน์ต่อประเทศ และขอชื่นชมรัฐบาลที่เข้าใจทิศทางของโลก ซึ่งสนผลดีต่ออุตสาหกรรม คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ในประเทศไทย ซึ่งเม็ดเงิน Cryptocurrency ของก็จะไหลเข้าสู่ประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สนับสนุนการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งเงินเหล่านั้นก็ต้องใช้จ่ายซื้อของกับบริษัทของไทย ซึ่งบริษัทก็ต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล (corporate income tax) ให้แก่รัฐบาล 20% ไหนจะภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และอื่นๆ
สุดท้ายเงินเหล่านั้นหมุนเวียนกลับมาซึ่งคล้ายกับการเก็บภาษี โดยที่เราไม่เสียอะไรเลย และที่สำคัญประเทศไทยเป็นเมืองท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวที่ถือคริปโต ที่อยากจับจ่ายใช้สอยเงินจำนวนมาก และเป็นนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ มียอดเงินการใช้จ่ายต่อหัวสูง ไม่ใช่ทัวร์ ศูนย์เหรียญแบบที่ผ่านมา
หลังจาก การยกเว้น ภาษี Capital Gain ปัจจุบันการลงทุนบิตคอยน์ในประเทศไทยพุ่งสูงขึ้น ซึ่งหลังจากนี้พอข่าวเริ่มกระจายออกไป สู่ต่างประเทศมากขึ้น ก็จะทำให้การลงทุนกลับมายังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น แล้วบอกว่านโยบายนี้จะเป็นการช่วยกระตุ้น GDP ของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
สำหรับ Bitkub เราเป็น infrastructure ที่แข็งแรงให้กับประเทศไทย รอแค่โอกาสที่เราจะเอาเทคโนโลยีที่เตรียมมาโดยตลอดเพื่อที่จะมาใช้ได้จริง ทั้งเรื่อง ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox) และ Payment ต่างๆ ซึ่งรัฐบาลจะให้โอกาสคนรุ่นใหม่ดำเนินการหรือไม่อย่างไร และผมมองว่าใช้ระยะเวลาไม่นาน ทางด้าน Carbon credit tokenization ซึ่งมองว่าถ้าใช้ตลาดเก่าไม่มีสภาพคล่อง (Liquidity) ถ้าให้โอกาสคนรุ่นใหม่ทำผมขอ 1 วัน พรุ่งนี้เชื่อว่าจะสามารถเทรดได้เลย เรามีเงินฝากอยู่ 1 แสนล้าน และมีลูกค้าอยู่แล้ว 5 ล้านคน เทคโนโลยีเราพร้อมมากอยู่แล้ว
สำหรับภาพของประเทศไทยในระยะ 3-5 ปี ผมมองว่าอุตสาหกรรมคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) จะเป็น currency ของโลกอนาคต ซึ่งไม่ใช่แค่ระยะ 3-5 ปี ซึ่งในยุคที่ AI dominate ในทุกๆวงการ เงินตราของ AI คือ Cryto ไม่ได้ยื่นกระดาษระหว่างกัน ซึ่งเราต้องเตรียมความพร้อมทางด้าน AI โดยสหรัฐผู้ชัดเจนว่าเค้าต้องการจะเป็นเซ็นเตอร์ของโลกในเรื่อง AI รวมถึง Digital Asset ซึ่ง AI จะมาปฏิวัติการทำงานทั้งหมด และมองว่าไม่มีบริษัทไหนไม่ใช้ AI อย่างแน่นอนในการทำงาน
สุดท้ายผมอยากจะฝากว่ามีไม่กี่อุตสาหกรรมที่คนไทยทำ และคนไทยประสบความสำเร็จ และใหญ่ที่สุดในอาเซียน หากยกตัวอย่างถึงอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ในประเทศไทยปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่ของคนไทยสักเจ้าภาษีประเทศไทยก็ไม่ได้จ่ายอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยขนาดนั้น รวมถึงโซเชียลมีเดียต่างๆที่เราใช้ ก็ไม่ใช่ของคนไทย และถ้าหากจะพูดถึง ธุรกิจ Sharing economy อาทิ Grab Spotify Uber แต่ละแบรนด์ที่ทุกคนรู้จัก ซึ่งก็ล้วนแต่ไม่ใช่ของคนไทย
นอกจากแอปพลิเคชัน (Application)ของธนาคาร ที่ปัจจุบันยังเป็นเงินกระดาษอยู่ แต่ว่าถ้าวันนึงถ้าเราหยุดใช้เงินกระดาษ ก็ต้องมี Text equivalent หรืออะไรที่เทียบเท่าธนาคารขึ้นมา แต่อย่างไรก็ดี Financial Platform ของโลก อย่างอนาคต อย่าง Bitkub ก็ยังเป็นของคนไทยอยู่ทุกวันนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง