เปิดคลิป “พายุวิภา” ทวีกำลังเป็นไต้ฝุ่น จ่อถล่มไทย เตือนภัยระดับสูงสุด
ไม่โดนตรงก็อ่วม! พายุวิภา ยกระดับไต้ฝุ่น ทำให้ภาคใต้ตอนบน กลางตอนล่าง ตะวันออก และอีสานตอนล่าง มีฝนหนักและลมกระโชกแรง ผลกระทบหนักสุด 21-25 ก.ค. พีคสุด 22-23 ก.ค.
เมื่อเพจเฟซบุ๊ก เตือนภัยพิบัติฝนฟ้าอากาศ ได้โพสต์อัปเดตสถานการณ์พายุเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา พร้อมคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นความรุนแรงของ พายุวิภา โดยระบุข้อความเร่งด่วนว่า “พายุโซนร้อนวิภาได้ทวีความรุนแรงขึ้นแล้ว พัฒนาเป็นพายุไต้ฝุ่นวิภาเป็นที่เรียบร้อย” ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภูมิภาคอินโดจีน รวมถึงประเทศไทยในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้
อิทธิพลลมที่เข้าไปเลี้ยงพายุไต้ฝุ่นวิภา รุนแรงมาก จุดศูนย์กลางอยู่ฮ่องกง ห่างจากฮานอย 780 กิโลเมตร พายุเคลื่อนตัวไปข้างหน้า 30-37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หมุ่นรอบตัวเอง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถือว่าไวมาก ปกติแล้วพายุจะเดินทาง 20-25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นั่นหมายความว่าประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลจากพายุเร็วขึ้น
คลิป ไต้ฝุ่นวิภา ทวีกำลังแรง จ่อถล่มไทยเร็วกว่าคาด
จากข้อมูลล่าสุด พายุไต้ฝุ่น “วิภา” (WIPHA) กำลังหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วลมคงที่ใกล้ศูนย์กลางถึง 121 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยความเร็ว 35-37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีทิศทางมุ่งหน้าสู่เวียดนาม, สปป.ลาว, ไทย และพม่า ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
สำหรับประเทศไทย ปลายทางของพายุจะมุ่งสู่ ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน โดยคาดว่าจะได้รับ ผลกระทบหนักในช่วงวันที่ 21-25 กรกฎาคม และจะพีคที่สุดในวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2568
แม้ในขณะนี้หัวของพายุจะยังคงอยู่บริเวณอ่าวตังเกี๋ย แต่ทางเพจได้ออกประกาศเตือนเร่งด่วนว่า “เหลือเวลา 9-21 ชั่วโมงหางของพายุโซนร้อนวิภาจะปกคลุมทั้งหมด” โดยอิทธิพลของพายุจะดูดลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ให้มีกำลังแรงขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้เกิดฝนกระจายตัวและอาจตกหนักเป็นบางพื้นที่ใน ภาคใต้ตอนบน, ภาคกลางตอนล่าง, ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยได้เน้นย้ำว่า “อย่าประมาทลมกระโชกอย่างรุนแรงเด็ดขาด”
อัปเดตเส้นทาง พายุ “วิภา” จะเข้าไทยไหม? กรมอุตุฯ ชี้ จังหวัดไหนเสี่ยงฝนตกหนัก
จากสถานการณ์ดังกล่าว ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมืออันตรายจากฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิด น้ำท่วมฉับพลัน, น้ำป่าไหลหลาก, ดินโคลนถล่ม และดินสไลด์ โดยมีข้อแนะนำดังนี้
- เก็บสิ่งของมีค่าไว้ในที่ปลอดภัยและที่สูง
- จอดรถในบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึง
- เตรียมยารักษาโรค, ไฟฉาย และสิ่งของที่จำเป็นให้พร้อม
- ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์และอุปกรณ์สื่อสารให้เต็มอยู่เสมอ เพราะอาจเกิดปัญหาไฟฟ้าดับได้
- บันทึกเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานต่างๆ ไว้
- ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านสภาพอากาศจากทุกช่องทางอย่างใกล้ชิด
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม