ไขความลับ AI ยิ่งใช้ยิ่งฉลาด ไม่ขาด Critical Thinking
คนยุคใหม่ใช้ GenAI เป็นผู้ช่วยส่วนตัวราวกับเป็นแขนขาที่สาม ภาระหน้าที่หลายอย่างที่เคยต้องเสียเวลาเป็นวันก็เหลือแค่ไม่กี่ชั่วโมง หรืออาจหลักนาทีเพราะมี AI คอย Generate ให้ตามคำสั่ง ขอแค่ป้อน Prompt ที่ดีพอจะให้ปัญญาประดิษฐ์เข้าใจ
ทว่าความสะดวกสบายนี้กลับมาพร้อมประเด็นถกเถียงว่า ‘มนุษย์จะโง่ลงเพราะ AI หรือเปล่า?’
🟡 GenAI ทำให้คนคิดน้อยลง
MIT Media Lab พบว่า การทำงานของสมองลดลงเมื่อใช้ LLM (Large Language Model) เทียบกับการค้นหาเว็บและการคิดเองทั้งหมด นอกจากนี้ ผู้ที่ใช้ LLM มาก่อนแล้วต้องคิดเอง ก็มีแนวโน้มที่จะคิดได้น้อยลง และอาจลืมสิ่งที่เพิ่งเขียนไป
เช่นเดียวกับรายงานจาก Microsoft Research ที่ได้สำรวจกลุ่มคนที่ทำงานด้านความรู้กว่า 319 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบมากกว่า 70% รู้สึกว่าใช้ความพยายามทางสมองน้อยลงมากเมื่อใช้ GenAI โดยเฉพาะในงานที่เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจและการวิเคราะห์
แม้จะผลการสำรวจจะเอนเอียงไปว่าการพึ่งพา GenAI จะทำให้ใช้สมองน้อยลง แต่ก็ยังเหลือคนอีกจำนวนหนึ่งที่ให้ความเห็นว่า ‘พวกเขาได้ใช้ความคิดมากขึ้น’ เช่นกัน
🟡 AI ไม่ได้แทนที่ แต่เปลี่ยนรูปแบบ
นักวิจัยของ Microsoft Research ได้เตือนว่า ‘การพึ่งพาเกินพอดี’ อาจทำให้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาในระยะยาวของคนเราลดลง
ทว่าแท้จริงแล้ว Generative AI ไม่ได้เข้ามาแทนที่การคิดเชิงวิพากษ์ แต่กำลังเปลี่ยนแปลง ‘รูปแบบ’ ของมัน มนุษย์ยังคงต้องคิดอย่างรอบคอบในขั้นตอนต่างๆ โดยกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์กำลังเปลี่ยนไปในรูปแบบใหม่ ได้แก่
🔸การตั้งเป้าหมายและออกคำสั่ง (Prompting): เช่น การคิดว่าจะสื่อสารกับ AI อย่างไรให้สร้างภาพตามจินตนาการได้
🔸การตรวจสอบผลลัพธ์ (Inspection):ตรวจสอบว่า AI ให้ข้อมูลถูกต้องหรือไม่ อ้างอิงจากแหล่งใด
🔸การบูรณาการ (Integration):การเลือกสิ่งที่ใช้ได้จาก AI แล้วปรับให้เข้ากับงานของตัวเอง
🟡 ใช้ AI ให้ฉลาดขึ้น ไม่ใช่โง่ลง
เพื่อให้การทำงานในโลกยุค GenAI คือตัวช่วยส่งเสริมศักยภาพมนุษย์อย่างแท้จริง ไม่ใช่การลดระดับมันสมอง ควรใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยงานผ่าน Frameworks ทั้ง 5 ข้อนี้
🔸1. ถามอย่างมีเป้าหมาย ไม่ใช่แค่ ‘ให้ช่วยคิดแทน’:ควรคิดและตั้งคำถามที่เฉพาะเจาะจง เช่น แทนที่จะบอกว่า ‘ช่วยคิดหัวข้อหน่อย’ ควรระบุว่า ‘ผมอยากทำหัวข้อเกี่ยวกับการศึกษา-เศรษฐกิจ ที่เชื่อมกับอนาคตอีสาน ช่วยแตกเป็น 3 idea พร้อมจุดขาย-กลุ่มเป้าหมายได้ไหม’ การทำเช่นนี้ทำให้คุณได้ฝึกคิดและ AI จะตอบสนองได้ตรงจุดมากขึ้น
🔸2. วิจารณ์ผลลัพธ์ ไม่ใช่เชื่อทันที:ตั้งคำถามเสมอว่า ผลลัพธ์ที่ได้มีอคติหรือไม่ อิงข้อมูลอะไร และคุณมีข้อมูลที่ตรงข้ามหรือไม่ การเชื่อทุกอย่างที่ AI ตอบจะปิดโอกาสในการเรียนรู้
🔸 3. AI คือเครื่องมือต่อยอด ไม่ใช้ทางลัด:ใช้ AI ช่วยสรุปสิ่งที่คุณไม่เข้าใจ แตกประเด็นให้คุณต่อยอด หรือทวนความเข้าใจของคุณ ยิ่งคุณป้อนความคิดที่ดีเข้าไปมากเท่าไหร่ AI ก็จะตอบกลับมาให้คุณฉลาดขึ้นเท่านั้น
🔸4. ให้ feedback กับ AI ตลอดเวลา:ลอง Challenge ด้วยการพิมพ์กลับไปว่า ผลลัพธ์ที่ให้มายังไม่ลึกพอ ช่วยเพิ่มเติมตัวอย่าง หรือกรณีศึกษาที่มีอยู่จริงมาได้ไหม การฝึกตั้งคำถามและให้ feedback จะช่วยลับคมความคิดของคุณเอง
🔸5. ใช้ AI เพื่อ ‘คิดร่วม’ ไม่ใช่ ‘คิดแทน’:มอง AI เป็นคู่คิดที่ดี หรือที่ปรึกษาข้างตัวคุณ คุณจะไม่โง่ลงถ้า “คิดก่อนใช้ วิเคราะห์หลังใช้ และเรียนรู้ระหว่างใช้”
การใช้ AI อย่างชาญฉลาดคือการที่เรา ‘รู้จักจุดแข็งของตัวเอง’ ในฐานะมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นความคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจที่ต้องใช้สัญชาตญาณ ซึ่ง AI ยังทำได้ไม่ดีเท่า และในขณะเดียวกัน ก็ต้องเข้าใจบริบทงานที่เราทำอย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะรู้ว่าส่วนไหนของงานที่ AI สามารถเข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพ หรือทำงานแทนเราได้
การทำแบบนี้จะทำให้เราไม่ตกเป็นแค่ผู้ใช้เครื่องมือ แต่ยังคงเป็น ‘ผู้ควบคุมและผู้สร้างสรรค์’ ตัวจริง ที่ไม่ถูกเทคโนโลยีชี้นำไปเสียก่อน