โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

บริษัทสอาด บริษัทรับสูบส้วมเจ้าแรกของสยาม

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาพคนกำลัง

บริษัทสอาด บริษัทรับสูบส้วมเจ้าแรกของสยาม สมัยรัชกาลที่ 5

ทุกวันนี้ หากต้องการ “สูบส้วม” เพียงแค่ยกหูโทรศัพท์ “สูบส้วม” ก็พร้อมให้บริการทุกเมื่อ การสูบส้วมก็ใช้เครื่องสูบของเสียจากบ่อสู่ถังแล้วนำไปกำจัดให้ถูกสุขลักษณะ แต่ว่าการสูบส้วมในยุคแรกที่สยามเริ่มใช้ “ส้วม” กลับเต็มไปด้วยความยากลำบาก “บริษัทสอาด” บริษัทรับสัมปทานสูบส้วมเจ้าแรกๆ ก็โดนตำหนิอยู่ไม่น้อย

ย้อนไปในสมัยรัชกาลที่ 5 สยามเริ่มใช้ “ส้วม” อย่างเป็นกิจจะลักษณะ ใช้กันในหมู่ชนชั้นสูง หรือผู้มีอันจะกิน ก่อนจะมีส้วมสาธารณะในเวลาต่อมา เมื่อมีการใช้ส้วม ก็ย่อมต้องมีของเสียจากส้วม และบริษัทแรกที่ทำการสูบส้วมคือ “บริษัทสอาด”

แต่ก่อนที่จะมีบริษัทสอาดในยุคนั้นผู้ที่นำของเสียไปเททิ้งจะเป็นบ่าวไพร่ในเรือน ไม่ก็รับจ้างพวกกุลีจีนนำของเสียขนไปทิ้ง ไม่มีบริษัทหรือองค์กรเข้ามาทำหน้าที่ดูแลเรื่องกำจัดของเสียอย่างเป็นทางการ

จนกระทั่งเมื่อรัฐ (โดยกรมสุขาภิบาล) สร้างส้วมสาธารณะให้ชาวบ้านได้ใช้ ก็จำเป็นต้องมีคนรับหน้าที่นำของเสียขนไปทิ้ง เพื่อจะให้ส้วมสาธารณะมีความเรียบร้อยจึงว่าจ้างขนถ่ายของเสียในรูปแบบบริษัท เป็นการผูกขาดรับเหมาส้วมของรัฐในพระนคร โดยบริษัทแรกที่ได้รับดูแลเรื่องนี้ก็คือบริษัทสอาดนั่นเอง

ข้อมูลของบริษัทสอาดไม่ค่อยปรากฏมากนัก มีผู้บอกเล่าว่าเจ้าของบริษัทนี้คือ พระศิริไอสวรรย์ เดิมทีที่ทำการตั้งอยู่ที่บางขุนพรหม ตรงกับวังของกรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งแต่เดิมเป็นที่โล่งกว้างใหญ่มาก จึงใช้เป็นพื้นที่เก็บรถบรรทุกของเสีย

บริษัทสอาดไม่ใช่บริษัทเดียวที่ดำเนินกิจการเช่นนี้ คาดว่ามีบริษัทอื่นด้วย แต่บริษัทสอาดเป็นรายใหญ่และกว้างขวางที่สุดในยุคนั้น

คนงานของบริษัทสอาดจะเป็นพวกกุลีจีน ทำงานในตอนกลางคืน สำหรับส้วมตามบ้านจะมีถังแจกให้สำหรับใส่ของเสีย เจ้าของบ้านเสียค่าถังเทราวเดือนละ 1 บาท ถึง 6 สลึง ส่วนส้วมสาธารณะรัฐจะเป็นผู้เสียค่าเทถัง

สำหรับ “รถสูบส้วม” ในยุคนั้น จะมีรูปร่างเหมือนตู้สี่เหลี่ยม มี 2 ล้อ โดยล้อเป็นไม้หุ้มด้วยวงล้อเหล็ก และใช้แกนเหล็กเหมือนล้อเกวียน มีคานลาก ตัวรถทั้ง 4 ด้านทำด้วยสังกะสีแผ่น ด้านหลังเป็นบานประตูเปิดได้ ใช้วัว 2 ตัวลากรถ รถคันหนึ่งสามารถบรรจุถังได้ราว 30-40 ถัง

สำหรับของเสียก็จะนำไปเททิ้งตามแม่น้ำลำคลอง ไม่ได้ทำเป็นระบบถูกสุขลักษณะ บ้างเทที่คลองบางขุนพรหม คลองเตย คลองบางกะปิ ในบางครั้งหากน้ำในคลองลดต่ำ ของเสียเหล่านั้นก็ส่งกลิ่นเหม็นเป็นที่รำคาญของชาวบ้าน เมื่อนำไปทิ้งในแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวบ้านที่อาศัยตามเรือนแพท้ายน้ำก็ได้รับผลกระทบ กุลีจีนของบริษัทสอาดบ้างถูกคนนำสิ่งของขว้างปาใส่ บ้างถูกทุบตีทำร้าย ชาวบ้านพากับรังเกียจติเตียน

ไม่เพียงแต่ชาวบ้านจะตำหนิติเตียนบริษัทสอาดเท่านั้น รัชกาลที่ 5 ก็ทรงไม่พอพระราชหฤทัยการทำงานของบริษัทสอาด ซึ่งบางครั้งทำไม่เป็นเวลา และกลิ่นเหม็นของบริษัทก็สร้างความเดือดร้อนให้กับพื้นที่โดยรอบ เนื่องจากเป็นทางผ่านไปพระราชวังดุสิต

รัชกาลที่ 5 ทรงเคยมีพระราชหัตถเลขา ความว่า “ด้วยตั้งแต่ไปมาที่สวนดุสิตเกือบจะ 5 เดือนเข้านี้แล้ว ยังไม่ได้เหม็นที่บริษัทสอาดเหมือนวานนี้เลย พ้นวิสัยจะทนทานได้ ผ้าเช็ดหน้า ทั้งผืน อุดปากอุดจมูกก็บางไป กลับมาออกขุนนางแล้วกลับเข้ามาข้างในยังเหม็นติดอยู่ต่อไม่หายเป็นนาน ถ้าเป็นอยู่เช่นนี้นานไป ขืนไปมาอยู่เสมอทางนั้นเห็นจะเป็นโรคฝีในท้องฤๅอันใดอันหนึ่ง จำเป็นต้องให้ย้าย…”

อย่างไรก็ตาม กลิ่นเหม็นไม่ได้มีสาเหตุมาจากบริษัทสอาดแต่เพียงเจ้าเดียว กลิ่นเหม็นยังมาจากเหตุอื่น เช่น ส้วมของวัดเอี่ยมวรนุช เป็นต้น

บริเวณบางขุนพรหมจึงไม่เหมาะกับการเป็นที่ตั้งของบริษัทสอาด ประกอบกับบริเวณนั้นเริ่มมีผู้คนอยู่อาศัยหนาแน่น และเป็นอีกเส้นทางสัญจรสำคัญของพระนคร ต่อมา บริษัทสอาดได้โยกย้ายไปอยู่ที่อื่น จนเมื่อดำเนินกิจการไปได้ประมาณ 20 ปี ก็โอนกิจการให้แก่ “บริษัทออนเหวง”

แม้กิจการของบริษัทสอาดอาจไม่ราบรื่นอยู่บ้าง คงเพราะคนไทยสมัยนั้นยังไม่คุ้นเคยกับการมีส้วมใช้ การจัดการความสะอาดของบ้านเมืองก็เพิ่งจะเป็นยุคตั้งไข่

แต่ก็นับว่า ในยุคตื่นตัวของการจัดการเรื่องการขับถ่ายของคนไทย “บริษัทสอาด” ได้ทำการ “สูบส้วม” ขจัด “ของเสีย” นำ “ความสะอาด” มาสู่ชาวพระนครอย่างแท้จริง

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

มนฤทัย ไชยวิเศษ. “ส้วมสาธารณะ” ในหนังสือ “ส้วมและเครื่องสุขภัณฑ์ในประเทศไทย”. กรุงเทพฯ : มติชน, 2545

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 13 มิถุนายน 2567

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : บริษัทสอาด บริษัทรับสูบส้วมเจ้าแรกของสยาม

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

หมาเน่าลอยน้ำ เหม็นจนทนไม่ไหว! รัชกาลที่ 4 ถึงขั้นออกประกาศ “ห้ามทิ้งซากสัตว์ลงแม่น้ำ”

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ไว้เล็บ” ธรรมเนียมนิยมแต่กรุงศรีฯ คือเครื่องยืนยันชาย,หญิง เจ้าของเล็บ คือคนไฮโซ มีตังค์ ไม่ต้องทำงานหนัก

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

ครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน

เดลินิวส์

Jurassic World: The Experience ไดโนเสาร์คืนชีพ! ยกจักรวาลจูราสสิกบุกกรุงเทพฯ

LSA Thailand

หมาเน่าลอยน้ำ เหม็นจนทนไม่ไหว! รัชกาลที่ 4 ถึงขั้นออกประกาศ “ห้ามทิ้งซากสัตว์ลงแม่น้ำ”

ศิลปวัฒนธรรม

“ไว้เล็บ” ธรรมเนียมนิยมแต่กรุงศรีฯ คือเครื่องยืนยันชาย,หญิง เจ้าของเล็บ คือคนไฮโซ มีตังค์ ไม่ต้องทำงานหนัก

ศิลปวัฒนธรรม

เชื่อหรือไม่ ครั้งหนึ่ง “ป่อเต็กตึ๊ง” เปิดให้บริการทำคลอดฝากครรภ์

ศิลปวัฒนธรรม

กระดูกวัวและกระดองเต่า ยืนยันการมีอยู่ของ “ราชวงศ์ชาง” ได้อย่างไร?

ศิลปวัฒนธรรม

ข่าวและบทความยอดนิยม

หมาเน่าลอยน้ำ เหม็นจนทนไม่ไหว! รัชกาลที่ 4 ถึงขั้นออกประกาศ “ห้ามทิ้งซากสัตว์ลงแม่น้ำ”

ศิลปวัฒนธรรม

“ไว้เล็บ” ธรรมเนียมนิยมแต่กรุงศรีฯ คือเครื่องยืนยันชาย,หญิง เจ้าของเล็บ คือคนไฮโซ มีตังค์ ไม่ต้องทำงานหนัก

ศิลปวัฒนธรรม

บริษัทสอาด บริษัทรับสูบส้วมเจ้าแรกของสยาม

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...