โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

‘มท.1’ สั่งการมหาดไทย-ปภ. ใช้วอร์รูม ติดตามสถานการณ์น้ำ

ไทยโพสต์

อัพเดต 20 กรกฎาคม 2568 เวลา 14.54 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"มท.1" สั่งการมหาดไทย-ปภ. ใช้ Warroom ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง พร้อมย้ำเตือนประชาชนตระหนักแต่ไม่ตระหนก รับฟังข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ ไม่หลงเชื่อข่าวปลอม

20 ก.ค. 2568 - นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์และการติดตามการคาดการณ์ผลกระทบจากพายุวิภา และสภาวะอากาศ ในช่วงวันที่ 20-24 ก.ค. 68 โดยคาดการณ์ว่าพายุวิภาจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศเวียดนามตอนบน ในวันที่ 22 ก.ค. 68 ซึ่งจะทำให้เริ่มมีฝนเพิ่มขึ้น ในช่วงค่ำของวันที่ 20 ก.ค. 68 ในพื้นที่ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม จากนั้นในช่วงวันที่ 22-23 ก.ค. 68 พื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนตกหนักมาก และอาจส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีร่องความกดอากาศต่ำ (ร่องฝน) พาดผ่านทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงความชื้นจากทะเลอันดามันที่จะส่งผลให้ทั่วทุกภาคเกิดฝนตกหนัก

นายภูมิธรรม กล่าวว่า เพื่อให้การเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์และการติดตามการคาดการณ์ผลกระทบจากสภาวะอากาศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทย ได้กำชับเจ้าหน้าที่ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้ปฏิงานติดตามสภาพอากาศและประเมินร่วมกับหน่วยที่เกี่ยวข้องโดยใช้ห้องปฏิบัติการ Warroom ตลอด 24 ชั่วโมง และสร้างการรับรู้ความเข้าใจกับประชาชนให้ติดตามสถานการณ์จากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง และไม่หลงเชื่อข่าวปลอมที่อาจเกิดการเผยแพร่ทางช่องทางต่าง ๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว

ด้านนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตนได้รับข้อสั่งการจากนายภูมิธรรม และสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วม รวมถึงพื้นที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน พร้อมติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ปรับการบริหารจัดการน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก น้ำในลำน้ำ รวมถึงเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ ให้สอดคล้องกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและอิทธิพลของการขึ้น - ลงของน้ำทะเล โดยการเร่งระบายและพร่องน้ำรองรับสถานการณ์ฝนที่คาดว่าจะตกหนัก และเตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึง ความพร้อมของระบบสื่อสาร เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที รวมถึงประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบเตรียมพร้อมในการขนของขึ้นสู่ที่สูงหรืออพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

ด้านนายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ปภ. โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้จัดประชุมห้องปฏิบัติการ (War Room) เพื่อการแจ้งเตือนภัยของชาติ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วยผู้แทนจาก สทนช. กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรธรณี กรมชลประทาน สสน. Gistda และศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย เพื่อติดตามการคาดการณ์ผลกระทบจากพายุวิภา และสภาวะอากาศ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

โฆษก ศบ.ทก. เร่งหารือปมทุ่นระเบิดช่องบก

16 นาทีที่แล้ว

รบ. แจ้ง Lasada shopee และแพลตฟอร์มออนไลน์ต้องเข้มงวดคุ้มครองผู้บริโภค ภายใต้กฎหมาย DPS

35 นาทีที่แล้ว

‘จตุพร–ฉันทวิชญ์’ สำรวจโมเดลร้าน Eataly ที่นิวยอร์ก ต่อยอดเปิดร้านสินค้าไทย

47 นาทีที่แล้ว

‘ดุสิตโพล’ ชี้มหาวิทยาลัยไทยมีส่วนสนับสนุนซอฟต์เพาเวอร์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม