รู้จัก ‘รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย’ ศัลยแพทย์ผ่าตัดปอด กับความท้าทายนำการรักษาในไทย สู่ระดับนานาชาติ
รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกจากศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
“ในช่วงเวลา 6 ปีที่กลับมาจากเมืองนอก ได้ช่วยทำการผ่าตัดคนไข้มากกว่า 4,000 ราย เราก็มีทั้งข่าวดี และข่าวไม่ดี ในบางรายก็ยังมีบางส่วนที่เราไม่สามารถช่วยเหลือคนไข้ไว้ได้เนื่องจากว่าคนไข้มาค่อนข้างช้า แล้วก็หวังว่าอนาคตการรักษาของเรายังคงมุ่งมั่นพัฒนาต่อ เพื่อเรายังคงช่วยคนไข้ทุกชีวิตให้กลับมาสู่เขาได้ต่อไป”
นี่คือบทสนทนาเริ่มต้นที่ ‘หมอเจ’ หรือ รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกจากศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง ศัลยแพทย์ผ่าตัดปอด หมอผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดปอด และทรวงอก ประจำโรงพยาบาลวชิรพยาบาลได้เปิดเผยให้ฟังถึงความตั้งใจในการทำหน้าที่หมอ ที่ต้องการอุทิศชีวิตเพื่อดูแลรักษา ‘ปอด’ ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
หมอเจ ยังอธิบายต่อไปว่า ต้องบอกว่าจริง ๆ แล้ว ถ้าสมมติว่าในเมื่อเรายังมีแรงอยู่เราทำได้ แล้วทำไมเราถึงจะไม่ทำ ทุกคน มีเพียงแค่หนึ่งชีวิตก็ต้องการหาที่พึ่ง ถ้าเราอยู่จุดนั้นได้ทำตามความฝันที่เราสามารถช่วยผู้ป่วยที่จะทำให้เขาหายก็ไปหาเขาได้ จึงเป็นเหมือนคติที่ยังทำผ่าตัดหรือยังรักษาผู้ป่วยอย่างหนักในทุกๆ วัน เพื่อให้คนไข้กลับมาหาหมอได้ ถ้าครอบครัวป่วยก็จะมีหมออีกคนที่เหมือนเราที่คอยทุ่มเท ทำให้เขากลับมาสู่อ้อมอกอ้อมใจเช่นเดียวกัน
ความฝันของหมอเจ กับการช่วยชีวิตมนุษย์
จริงๆ ต้องบอกว่าสมัยตอนที่เรียนอยู่ เรามีความใฝ่ฝันที่เราอาจจะเป็นหมอผ่าตัดหัวใจ ฉะนั้นตอนช่วงเวลา 6 ปี เราได้เจอคนไข้หลายรูปแบบมากๆ โดยเฉพาะคนไข้หัวใจที่อัตราการรอคอยในการผ่าตัดนาน เราได้เจอคนไข้หลายคนที่เป็นโรคหัวใจแล้วก็เสียชีวิต เนื่องจากว่าคิวผ่าตัดยาวนาน เขาเข้ามาโรงพยาบาลซ้ำแล้วซ้ำอีก จนสุดท้ายก็ยังไม่ถึงคิวผ่าตัด เพราะว่าหมอผ่าตัดในเมืองไทย มันน้อยมากๆ
จนกระทั่งทำให้เราตัดสินใจแล้วว่าเราจะเลือกทางเดินนี้เพื่อที่จะเข้ามารักษาตัวโรคหัวใจ และทรวงอก ก็คือ เป็นหมอผ่าตัดหัวใจ และปอด เพราะในช่วงนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ในประเทศหมอผ่าตัดมีแค่ไม่กี่หมื่น ตอนสมัยผมเรียนอยู่รุ่นที่มันติดๆ กันทั้งประเทศมีคนเรียนแค่ 4 คนทั้งประเทศไทยเลย ฉะนั้นจะเห็นว่ายังมีหมออีกมากที่ขาดแคลน แล้วเราไม่อยากจะเจอ หรือสัมผัสว่าคนไข้สูญเสียเป็นมากกว่านี้แล้ว อย่างน้อยเราอาจจะเป็นกำลังหนึ่งที่จะมาช่วยลดอัตราการรอคอยการผ่าตัดในกลุ่มคนไข้หัวใจในประเทศไทยได้ เลยตัดสินใจเข้ามาเรียนการผ่าตัด
ในช่วงที่เข้ามาสมัคร หรือเข้ามาเรียนผ่าตัดโรคหัวใจหรือผ่าตัดปอด สำหรับผ่าตัดปอด และหัวใจ ต้องยอมรับว่าในช่วงที่เรียนนั้น เรียกว่าค่อนข้างจะหนักหน่วงมากๆ ตอนที่เรียนอยู่ไม่มีใครเรียนเลย ที่โรงพยาบาลสังกัดคือโรงพยาบาลรามาธิบดี คือรุ่นพี่ที่เรียนอยู่ทั้งหมดลาออกหมด เนื่องจากว่าทนความหนักไม่ไหว
ผมโตขึ้นมากับความที่เป็นผู้นำ หรือการที่เรียนแล้วต้องดูแลตัวเองแล้ว ก็ดูแลน้องๆ ที่เรียนต่อจากเราเป็นรุ่นถัดๆ ไป บริหารจัดการทุกอย่างคนเดียวในโรงพยาบาล แล้วก็ต้องดีลกับคนไข้ช่วยผ่าตัดโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 5 ปี เพื่อที่จะจบการศึกษามาได้
ทีนี้จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่เรามาโฟกัสเรื่องการผ่าตัดปอด ซึ่งเหตุผลก็คือว่า ตอนที่ผมได้เรียนอยู่เวลา 5 ปีที่ผ่านมา เราจะพบว่าจริงๆ แล้วหมอในประเทศไทยในช่วงนั้น ผมคิดว่าหมอผ่าตัดมีแค่ประมาณ 100 คน นิดๆ ที่ดูแลทั้งประเทศทั้งเอกชน และรัฐบาล ซึ่งมันไม่เพียงพอกับคนไข้ 70 ล้านคน แต่ว่าสิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นก็คือ หมอผ่าตัดปอดมีน้อยกว่านั้นอีก หมายความว่าต้องอธิบายว่าจริงๆ แล้วหมอผ่าตัดทรวงอกคือ เราสามารถผ่าตัดได้ทั้งปอด และหัวใจ แล้วก็คนในประเทศไทย ที่เป็นหมอผ่าตัดร้อยกว่าคนนั้นเขามีความสนใจด้านการผ่าตัดหัวใจค่อนข้างมาก
เพราะฉะนั้นการผ่าตัดหัวใจในประเทศไทยค่อนข้างที่จะทัดเทียมกับระบบนานาชาติ ซึ่งมีความแข็งแรง และมีความเก่งกาจ และมาตรฐานทัดเทียมเลย แต่แค่ผ่าตัดปอด น้อยคนมากๆ ที่สนใจการผ่าตัดปอดนี้ ซึ่งน้อยกว่าการผ่าตัดหัวใจ ในช่วงที่ผมเรียนอยู่ ผมรู้สึกได้ว่า มีไม่ถึง 5-6 คน เท่านั้นสำหรับอาจารย์ทั้งประเทศ
ประสบการณ์เรียน การทำงานและประสบการณ์ชีวิต
ทีนี้ประเด็นก็คือ พอเราได้เข้ามาอยู่ในวงการผ่าตัดปอด และหัวใจแล้ว พบว่าจริงๆแล้วยังมีหมอผ่าตัดหัวใจในประเทศไทย เก่งๆ หลายท่าน กลับกันการผ่าตัดปอดค่อนข้างจะล้าหลังมากๆ ซึ่งทำให้เหมือนกับว่าเราเห็นแล้วว่า มันมีช่องว่างขนาดใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบระดับของประเทศไทย กับนานาชาติ แต่ว่าผ่าตัดหัวใจค่อนข้างที่จะนิ่งแล้ว นั่นเป็นสาเหตุที่มีความสนใจขึ้นมาว่า เราอยากพัฒนาต่อยอดวงการผ่าตัดปอดในบ้านเราให้สูงขึ้น จึงเป็นที่มาว่าเป็นการสมัครไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ
การไปสมัครต่อที่ต่างประเทศ ได้รับทุนไปเรียนต่อที่ประเทศเกาหลี ทุนในที่นี้เป็นทุนที่เปิดมาให้กับประเทศเอเชียทั้งทวีปเลยปีละ 1 คน ตอนนั้นสมัครไป 2 รอบ รอบแรกไม่ได้รับเลือก ปีต่อมาก็สมัครใหม่ ก็ปรากฏว่าโชคดีมากๆ ที่ได้รับเลือก ซึ่งเป็นคนที่ 3 ของทวีปเอเชียที่ได้ไป ดังนั้นทวีปเอเชียก็แข่งกันเกือบ 10 ประเทศ เราก็ได้ไปคนที่ 3 และเป็นคนแรกของประเทศไทย ตอนนั้นน่าจะเป็นปี 2017 เลยได้มีโอกาสไปเรียนรู้เทคนิคการผ่าตัดปอดทุกอย่าง
สิ่งที่น่าสนใจมากๆ ก็คือ ตอนที่เราเข้าไปเรียนรู้ในช่วงระยะเวลา 1 ปี เราพบว่ามันมีช่องว่างมหาศาลของประเทศไทย กับของต่างประเทศ โดยรวมต้องพูดง่ายๆ ว่าสัดส่วนการรักษาคนไข้ผ่าตัดส่องกล้องกับการผ่าตัดแบบเปิด
ยกตัวอย่างง่ายๆ ประเทศไทยเราในช่วงที่ผมก่อนที่จะไปเรียน คนไข้เข้ามาโอกาสได้รับการผ่าตัดส่องกล้องอยู่แค่ประมาณ 20% เท่านั้นเอง ส่วนถ้า 80% เป็นผ่าตัดแบบเปิด แต่ตอนที่ผมไปอยู่เมืองนอก อัตราส่วนของการผ่าตัดส่องกล้องเรียกว่าแทบจะสูง 80-90% เลย การพัฒนาด้วยเทคโนโลยีทุกอย่าง หรือเทคนิคการผ่าตัดค่อนข้างมีบทบาทมาก โดยเฉพาะการผ่าตัดส่องกล้องที่พัฒนากว่าเมืองไทยมากๆ
ฉะนั้นช่วงระยะเวลาที่เราไปอยู่ 1 ปี ทำให้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ขึ้นมา แล้วรู้สึกว่าจริงๆ เป็นสิ่งที่คนไทยควรได้รับด้วยวิธีการรักษา
อย่างไรก็ตามก็ยังมองอยู่ว่าแค่นั้นคงไม่เพียงพอที่จะพาประเทศไทยไปสู่ระดับทัดเทียมกับนานาชาติได้ ผมเลยตัดสินใจว่าจะต้องบินไปดูอีกหลายที่เพื่อดูความแตกต่างของทางเทคนิค เลยได้มีโอกาสไปอยู่ที่ประเทศไต้หวัน ประเทศญี่ปุ่นแล้วก็สหรัฐอเมริกา ไปดูเทคนิคต่างๆ ว่าแต่ละประเทศจุดแข็ง จุดอ่อนเขาเป็นอย่างไร และนำเทคนิคต่างๆ มารวบรวมกัน กลับมาเริ่มรักษาคนไข้ที่ประเทศเดียวกัน
ประมาณปี 2019 ผมก็กลับมาที่เมืองไทย เริ่มเข้ามาทำงานที่โรงพยาบาล (รพ.) วชิรพยาบาลแห่งแรก ตอนนั้นตัวโรงพยาบาลววชิรพยาบาล เรามีหน่วยงานค่อนข้างที่จะเป็นทีมผ่าตัดหัวใจ และปอด แต่การผ่าตัดปอดยังไม่ค่อยมากนัก เราต้องการผ่าตัดปอดในปีนั้นช่วยเหลือคนไข้แค่ประมาณ 40 กว่าราย ซึ่งจริงๆ แล้ว อัตราส่วนมันควรจะมากกว่านั้นเยอะ เราเริ่มรันทีมเราให้ความรู้ไม่ว่าจะเป็นทีมพยาบาล ทีมห้องผ่าตัด ทีมวิสัญญีแล้วก็เพื่อนแพทย์ด้วยกัน
โดยเฉพาะเราสร้างทีมสาขาขึ้นมาที่วชิรพยาบาลของเรา ไม่ว่าจะเป็นคุณหมอโรคมะเร็ง คุณหมอโรคปอด เข้ามาร่วมฟอร์มทีมกันเพื่อส่งเสริมการผ่าตัดปอด ปีแรกเราทำผ่าตัดจาก 40 รายขึ้นมาเป็น 80 รายปัจจุบันผ่านมา 5 ปี ผ่าตัดคนไข้เกือบ 800 รายต่อปี นับว่าเป็นสถานที่ ที่รับการผ่าตัดช่วยเหลือคนไข้ผ่าตัดเฉพาะปอดมากที่สุดในประเทศไทยติดต่อกันมา 2 ปีแล้ว
ผุดโปรเจกต์ พาการผ่าตัดปอดสู่ระดับนานาชาติ
เนื่องจากการผ่าตัดมันมีการพัฒนาค่อนข้างมาก เราก็จะมีฝันอีกว่าจริงๆ แล้วการผ่าตัดหรือการรักษาในประเทศไทย ของเราควรจะเทียบเท่านานาชาติ มันเลยเป็น project ถัดไปที่ว่า เราจะทำอย่างไรดีที่จะทำให้นำพาบ้านเมืองของเราเข้าสู่ระดับนานาชาติ ทัดเทียมเกาหลี กับสหรัฐอเมริกา ทำให้คนไทยไม่ต้องบินไปรักษาที่เขา รักษาที่เราก็ได้ผลการรักษาที่เท่าเทียมกัน เลยเป็นที่มาของการเปิดโปรเจกต์ นำพาการผ่าตัดปอดสู่ระดับนานาชาติ
เราเริ่มมีผลงานในช่วง 5 ปีนี้ เราเก็บสะสมข้อมูลคนไข้มากกว่า 2,000-3,000 ราย ที่เราได้ทำการผ่าตัดไป มีผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ แล้วเรามีผลงานวิจัยที่ได้รับเชิญในระดับเวทีนานาชาติหลายประเทศทั่วเอเชีย ซึ่งส่งผลทำให้มีหมอแต่ละประเทศสนใจเข้ามาดูงานที่ประเทศไทยเรา
ปัจจุบันวชิรพยาบาลของเราได้เริ่มเปิดโปรเจกต์ เป็นผ่าตัดแบบพี่สอนน้องก่อน ซึ่งเริ่มกันมา 5 ปีแล้ว เราสอนแพทย์รุ่นใหม่คือศัลยแพทย์สมองที่จบไป เข้ามาสู่การอบรมการผ่าตัดส่องกล้อง มีหมอมากกว่า 20 จังหวัดทั่วประเทศ สำหรับใครที่เข้ามาฝึกอบรมที่นี่ตลอดเวลา 5 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งเราก้าวสู่สเต็ปถัดไปคือ การผ่าตัดส่องกล้องระดับนานาชาติ ด้วยการที่เราเปิดระบบฝึกการสอนของหมอต่างชาติ ปัจจุบันมีหมอต่างชาติเข้ามาฝึกอบรมในวชิรพยาบาลมากกว่า 100 คน มากกว่า 5 ประเทศ ส่วนมากจะเป็นอินเดีย มีแพทย์ชาวอินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และแพทย์ชาวฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นกลุ่มตะวันออกเฉียงใต้ ที่อยู่ใกล้บ้านเรา เขามองเราว่ามีความแข็งแกร่ง และมีศักยภาพในเรื่องของการผ่าตัดปอดในประเทศไทย
ปัจจุบันการพัฒนาการผ่าตัดปอดในวชิรพยาบาลของเรา สามารถเพิ่มศักยภาพในการส่องกล้อง โดยปัจจุบันโอกาสที่จะผ่าตัดส่องกล้องสำเร็จสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 80-90% เทียบกับเมืองนอกได้ โดยเปลี่ยนจาก 20% เมื่อสมัยก่อนประมาณ 7-8 ปีที่แล้ว เข้ามาสู่ 80-90% ผู้ป่วยสามารถรับการผ่าตัดส่องกล้องได้
ฉากชีวิตช่วงเรียนเฉพาะทาง
ก่อนที่ผมจะมาเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่รักษาชีวิต หรือว่าเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการผ่าตัดปัจจุบันมากกว่า 1,000 รายต่อปี จริงๆ แล้วสมัยตอนที่ผมเรียนอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ผมเกรดไม่ค่อยดี เกรดผมอยู่ประมาณเกือบ 3 เกาะกลุ่มอยู่ตรงกลาง แล้วก็เป็นคนที่ไม่ค่อยตั้งใจเรียนมากเท่าไร
แต่ว่าพอจังหวะที่มีชีวิตเปลี่ยนก็คือ จังหวะตอนที่เราได้ไปเริ่มทำงานแล้ว ตอนเป็นแพทย์ตอนปี 6 เราได้สัมผัสคนไข้จริงๆ จึงเริ่มรู้แล้วว่าปัญหาของเขาคืออะไร ฉะนั้นตอนที่ผมอยู่ตอนปี 6 เราเจอคนไข้เสียชีวิตจากโรคหัวใจที่เล่าให้ฟังตอนต้น เราเจอว่าคนไข้กลับมานอนโรงพยาบาลแล้ว คิวผ่าตัดอีก 3 ปี 3 เดือนก็มาอีก แล้วหัวใจวาย เลยมาเป็นจุดเปลี่ยน
ผมว่ามันถึงเวลาแล้ว ถ้าผมทำได้คนนี้ต้องรอด เลยเป็นที่มาของการเรียนผ่าตัดหัวใจ และทรวงอก ตอนที่เรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง บอกเลยว่ายากมาก หนักมาก เพราะว่าอยู่เวรทุกวัน 24 ชั่วโมงคนเดียว ไม่มีใคร ทุกคนลาออกหมด เพราะว่าทนแรงหนักไม่ไหว เรายืนผ่าตัดตั้งแต่ 8 โมงเช้า บางวันเลิก 2 ทุ่ม บางวันเลิกเที่ยงคืนเสร็จแล้วต้องมาเฝ้า ICU ต่อ 7 โมงเช้า เริ่มต้นใหม่เป็นอย่างนี้ตลอด 5 ปี ทำให้จริงๆ แล้วตอนที่ผ่านมาค่อนข้างจะเป็นสิ่งที่หนักหน่วงมากๆ
แต่สิ่งที่ทำให้มันยังคงทนอยู่คือ เราคิดว่าไม่ใช่เราคนเดียวที่เราทำงานหนัก
ศัลยแพทย์กลุ่มผ่าตัดปอดและหัวใจทุกคนก็ทำงานหนักเหมือนกัน อาจารย์ทุกท่านก็มีชีวิตเหมือนกัน ยืนผ่าตัดด้วยกันแล้วก็มาเฝ้าคนไข้กันต่อ แต่สุดท้ายสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ผู้ป่วยกลับบ้านได้ ฉะนั้นตัดสินใจว่าเราก็จะเข้ามาเรียนต่อด้านนี้ฉะนั้นตอนที่เรียนมา มันก็ค่อนข้างที่จะหนักมากๆ แต่สิ่งที่เป็นจุดเปลี่ยนก็คือ ช่วงที่อยู่ปี 4 ปี 5 เริ่มรู้เกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น แล้วเราเห็นว่าจริงๆ แล้วมันมีบางอย่างที่มันแย่กว่า มันมีบางอย่างที่ยังสามารถพัฒนาได้มากกว่าก็เลยมาสนใจด้านการผ่าตัดปอด ก็เลยเป็นที่มาของเฟส 2 ที่เล่าไป
ทีนี้ตอนที่ผมกลับมาจากเมืองนอกปี 2018 ผมกลับมาที่ประเทศไทยครั้งแรก หลังจากที่ไปมาหลายประเทศ ปรากฏว่ากว่าจะได้ทำงานครั้งแรกคือผ่านไป 1 ปี ตอนนั้นเข้ามาด้วยปัญหาหลายๆอย่าง ทำให้เราไม่สามารถก้าวไปตามความฝันได้ที่จะพัฒนาการผ่าตัดปอด จนปี 2019 ได้เริ่มมาทำงานที่วชิรพยาบาลในครั้งแรก ซึ่งเป็นสถานที่ ที่มีศักยภาพแล้วก็เป็นคณะแพทย์ที่สามารถนำพาทีมเข้ามาช่วยรักษาคนไทยได้มากขึ้น
ก้าวสู่ศูนย์ความเป็นเลิศระดับภูมิภาค
จริงๆ แล้วการรักษาในปัจจุบัน โดยการผ่าตัดปอด ของวชิรพยาบาล มีความปลอดภัยค่อนข้างสูงมากๆ ความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า 1% เท่านั้นเอง
เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วย และการผ่าตัดปอดที่เรา หากเทียบกับนานาชาติ ได้ทำให้ความเสี่ยงในการผ่าตัดน้อยกว่า 1% และผู้ป่วยที่เข้ามาก็มีความเสี่ยงน้อยมาก ทำให้เขามั่นใจผลการรักษาในประเทศไทยเรา กลายเป็นเซ็นเตอร์ ให้ต่างชาติบินเข้ามาดูงาน มาดูว่าทำอย่างไร ถึงทำให้ความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนมันน้อยมาก และโอกาสสำเร็จในการผ่าตัดผ่านกล้องก็สูงมาก
ผ่าตัดปอดไทยไม่แพ้ใครในโลก
ในความคิดตอนที่ไปดูงานมาผมคิดว่าเขาก็มีสองมือ เราก็มีสองมือถูกไหม ทุกอย่างอุปกรณ์เขาก็มี เราก็มี แล้วทำไมเราถึงทำไม่ได้ ทำไมประเทศไทย เราทำไม่ได้เหมือนประเทศเขา
ในความเชื่อของผมถ้าสมมติเขาทำได้ แล้วถ้าอุปกรณ์มันมีเหมือนกัน เมืองไทยก็ต้องทำได้ คนไข้คนไทยที่ต้องการผ่าตัด ถ้าเราทำได้เขาไม่ต้องบินข้ามน้ำข้ามทะเลไปผ่าตัดที่ต่างประเทศ หรือเขาอาจจะมีความเชื่อใจว่ามีการพัฒนาทำให้ครอบครัวเขาอยู่รอดกันไปอีกยาว สิ่งที่ต้องการสื่อก็คือ ถ้าเขาทำได้ ผมว่าผมก็น่าจะทำได้ แล้วถ้าผมทำได้เขาก็สามารถอยู่กับครอบครัวเขาได้อีกยาว สามารถช่วยคนได้เยอะ
ผมมองว่าความฝันต่อไปของผมคือ ผมหวังว่าของทางวชิรพยาบาลของเราจะสามารถเป็นผู้นำหรือว่าการผ่าตัดของการรักษาการผ่าตัดโรคปอด และสามารถสอนแพทย์รุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยในต่างชาติ ให้มาเรียนรู้ แล้วสามารถกลับไปเริ่ม Setting โรงพยาบาลของตนเองในแต่ละที่ ทำให้เขามีระดับการพัฒนา แล้วทำให้ภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยกลับไปฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
ชีวิตในห้องผ่าตัด 24 ชั่วโมง กับคำถามที่เปลี่ยนชีวิต
จริงๆ แล้วบางทีตอนที่เรียนอยู่ตอน 5 ปี ด้วยความที่มันอยู่คนเดียว มันเรียนคนเดียว เราเป็นหัวหน้าทีมคนเดียว ตั้งแต่ตอนเป็นแพทย์ประจำบ้านปีที่ 2 เรามองทั้งซ้ายทั้งขวาไม่มีเพื่อนร่วมทาง งานก็หนักอยู่เวร 24 ชั่วโมงติดต่อกันอยู่ทุกวันๆ แล้วก็มองว่าจริงๆ แล้วมันตอบโจทย์ชีวิตจริงหรือเปล่า
ขณะที่เห็นคนอื่นเขามีเวลากับครอบครัว เขามีเวลาไปรับประทานข้าวกับครอบครัว เราไม่มีเลย ชีวิตของเราคือ การผ่าตัด เราดูคนไข้ เราวนลูปอยู่แค่นี้ 5 ปีเต็มๆ
สิ่งที่ทำให้ผ่านมาได้ก็คือ คนไข้หลายๆ คนที่เขาเหนื่อยอยู่หรือเขามีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือว่าคนไข้ที่เป็นมะเร็งก็สามารถกลับเข้าไป เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกว่ามันคงอยากกลับไปสู่จุดเริ่มต้น แล้วลองคิดกลับไปว่าทำไมเราถึงมาเรียน ก็คือ การที่เราเห็นคนไข้เสียชีวิตต่อหน้าต่อตา เพราะว่าไม่มีคิวผ่าตัด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้รู้สึกว่าเรามีความมุ่งมั่นมาก
ถ้าเราทำได้ก็จะช่วยคนได้อีกหลายพันคนในอนาคต ฉะนั้นจึงเป็นที่มาว่าต้องกัดฟัน ดังนั้นช่วงระยะเวลา 5 ปี ก็ลำบากมันมีอยากลาออกหลายครั้ง แต่สุดท้ายก็กลับมาดูความมุ่งมั่นในตอนเรียน ตอนที่จะสมัครทำให้มันผ่านไปได้
มากกว่าแค่การผ่าตัด: ความร่วมมือของทีมแพทย์ที่เปลี่ยนชีวิตผู้ป่วย
ผมว่ามีคนไข้หลายคนนะ ปัจจุบันมีเยอะมาก มีคนไข้ล่าสุดมาจากภาคตะวันออก คนไข้รายนี้เป็นเด็กหนุ่มอายุ 17 ปี แล้วคนไข้คนนี้มาด้วยอาการเหนื่อยมาก โดยรักษาเป็นโรคหอบหืด ทีนี้เข้าไปในห้องฉุกเฉินก็พบว่ามีภาวะหลอดลมอุดตัน พูดง่ายๆ เวลาหายใจเราเอาลมใช่ไหม
ลมพวกนี้มันเอาเนื้องอกขวางอยู่ ซึ่งพอมันขวางอยู่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ มันทำให้เขาหายใจไม่ได้ เหมือนคนกำลังจมน้ำ กำลังจะตายเป็นเด็กอยู่ ด้วยความที่ว่าโรคเนื้องอกในหลอดลมเป็นโรคที่ค่อนข้างจะซับซ้อนมากๆ แต่ประเทศไทย มีอยู่แค่ไม่กี่โรงพยาบาลที่รักษาได้
สิ่งที่เกิดก็คือ คนไข้คนนี้เขาเกิดเหตุขึ้นมาที่ไกลมากประมาณ 300-400 กิโลเมตร ทั้งภาคตะวันออกไม่มีใครรักษาได้ อาจจะเป็นการผ่าตัด ทีนี้เขาประสานไปเกือบ 15 ถึง 20 โรงพยาบาลไม่มีใครรับ เนื่องจากว่าเตียงเต็ม ขาดอุปกรณ์ทุกอย่าง โดยเฉพาะคนไข้ก็โทรศัพท์มาหาผม ถามว่าช่วยรับตัวไปได้ไหม
ตอนนั้นผมบรรยายอยู่ผมก็บอกว่าโอเคส่งมาเลย ทีนี้การผ่าตัดซับซ้อนมาก ต้องอาศัยคนเกือบ 30-40 คนในการผ่าตัด เหตุผลที่ใช้ 30-40 คน เพราะว่ามันมีหลายทีมเข้ามาร่วมดูแล มันจะเป็นคุณหมอโรคปอด คุณหมอดมยา เครื่องเทคโนโลยีหัวใจ ซึ่งต้องทำการผ่าตัดโดยการใส่เครื่อง เพราะว่าคนไข้หายใจไม่ได้แล้ว ตอนที่เข้าไปดูผ่าตัดหลอดลมเหลือแค่ 2 มิลลิเมตรเท่านั้นเอง เด็กหนุ่มคนนี้กำลังจะเสียชีวิต
ต่อมาสภาพแย่มาก เลยต้องใส่เครื่องพยุงหัวใจเทียม เพื่อทำให้เขาหายใจได้ หลังผ่าตัดผู้ป่วยก็กลับมาหายใจได้อีกครั้งหนึ่ง ไม่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยใช้ระยะเวลานอนประมาณ 5 วันกลับบ้าน จากคนไข้ที่กำลังจะเสียชีวิต เรารับตัวมาทำการผ่าตัด แล้วคนไข้สามารถกลับไป โดยโรคตัวนี้ที่เขาเป็นโอกาสหายขาดมันสูงมากๆ เพราะว่ามันเป็นตัวเนื้องอกชนิดหนึ่งที่อาการมันรุนแรง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ผ่าตัดออกไปได้หมด โอกาสหายหมดก็จะสูง อันนี้จะเป็นอีกกรณีหนึ่งที่เราเจอ
อีกกรณีหนึ่งก็คือ กลุ่มคนไข้ที่บินมาจากนราธิวาส มีกลุ่มคนไข้หลายคนที่บินมาจากภาคใต้ เช่น กลุ่มคนไข้ที่เป็นโรคปอด หรือโรคตับ ที่บินขึ้นมา เขาบอกว่าการผ่าตัดแบบเปิดยังไม่ค่อยแพร่หลายในภาคใต้ หลายๆ ท่านไม่มีความมั่นใจในการผ่าตัดแบบส่องกล้อง เขาก็เลยบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาเพื่อขึ้นมาผ่าตัดที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล เพราะว่าการผ่าตัดแบบส่องกล้องมันก็จะฟื้นตัวไวกว่า ฉะนั้นก็จะมีกลุ่มคนไข้ที่บินมาเนื่องจากว่ากลัวการผ่าตัด แต่คนไข้อีกกลุ่มหนึ่งก็คือ คนไข้ที่อายุสูง มากๆ 80-90 แล้วแต่ละที่ปฏิเสธผ่าตัดก็คือ อายุมาก โรคประจำตัวเยอะ แต่ว่าครอบครัวเขาก็ต้องการให้คุณพ่อรอด เขาก็จะเข้ามาปรึกษาทีมเราที่จะเข้ามารักษา ฉะนั้นถ้าสมมติเรามีทีมที่ดี มันก็จะสามารถทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ไว ฉะนั้นปัจจุบันมีคนไข้ที่ผ่าตัด 80 ปีขึ้นไป มากกว่า 100 ราย โดยอายุมากที่สุดที่เราผ่าตัดไปก็คือ 100 ปี ซึ่งเราก็ทำการผ่าตัดให้คนไข้สามารถกลับบ้านได้ ฉะนั้นถ้าเราคุยความเสี่ยงทุกอย่างแล้วผู้ป่วยโอเค แล้วมีการผ่าตัดที่ดี ผู้ป่วยก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านได้ ซึ่งจะแตกต่างจากเมื่อประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว
ไม่ใช่แค่ผ่าตัด แต่คือการพัฒนาระบบแพทย์ไทยสู่ระดับนานาชาติ
ตอนนี้เราวางแผนว่า เราเริ่มมีการบรรยายและเราตีพิมพ์ผลงานวิจัยนานาชาติ ปัจจุบันเราตีพิมพ์มากกว่า 20-30 ฉบับ เพื่อให้มีการแพร่หลายในวงการผ่าตัดระดับนานาชาติ อันที่ 2 เราเริ่มเปิดโครงการฝึกอบรมของตัวแพทย์ต่างชาติหรือศัลยแพทย์ต่างชาติที่เข้ามาฝึกอบรมที่วชิรพยาบาลของเรา เป็นระยะสั้น 3 เดือน มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ ตอนนี้ที่เข้ามาก็มีหลายประเทศของทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาดูงาน แล้วนอกจากมีหมอ ฉะนั้นการที่เรามีศูนย์รวมหรือการเปิดพวกนี้ขึ้นมา จะส่งผลให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และเทคนิคต่าง ๆ ซึ่งนอกจากเราจะส่งเสริมเขา เขายังส่งเสริมเราเช่นเดียวกัน เพื่อสร้างพันธมิตร และต่อยอดในอนาคตได้
ความใฝ่ฝันที่ต้องการให้ประเทศไทย กลายเป็นฮับในการรักษาโรคในประเทศไทย ในระดับนานาชาติ โรคใดบ้าง ในระดับอาเซียนเอเชีย และระดับโลก ปกติต้องบอกเลยว่า จริงๆ ทุกครั้งที่ทำการผ่าตัด เราค่อนข้างที่จะแฮปปี้กับมัน แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คนไข้มาอยู่กับเรา แล้วเราผ่าตัดหาย แล้วเขาก็มาตรวจเช็กว่ายังมีชีวิตอยู่กับครอบครัว ก็ทำให้เราอยากจะทำงานด้านนี้ต่อ ยกตัวอย่าง ผมมีคนไข้คนหนึ่งอายุ 82 ปี เพิ่งเสียไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คนนี้ลูกพามาด้วยน้ำท่วมปอด เจอครั้งแรกเป็นมะเร็งระยะที่ 4 ระยะสุดท้ายแล้ว มาถึงปุ๊บ บอกว่าไม่เคยตรวจเลยมันจะเป็นน้ำท่วมปอด พอผมแจ้งข่าวดูจากทุกอย่างปุ๊บนั่งร้องไห้กันทั้งครอบครัวเลย แต่คุณแม่ก็ยังไม่รู้ ฉะนั้นเราก็บอกเลยว่าวิธีการรักษามีอะไรบ้าง
หลักการก็คือ เราก็คงเอาน้ำออกมาทำให้หายเหนื่อย เราเอาชิ้นเนื้อเยื่อหุ้มปอดไปตรวจดูว่าให้ยาพุ่งเป้าได้ไหม ถ้าสมมติว่าให้ยาพุ่งเป้าได้ คนไข้กินยาพุ่งเป้าต่อ ก็ต้องให้ยาคีโมต่อ คนนี้โชคดีมากๆ ที่สามารถผ่าตัดส่องกล้องเรียบร้อยดี อายุ 82 ปี แล้วก็เอาน้ำออก แล้วก็กินยาพุ่งเป้าต่อ ปัจจุบันตอนนี้จากตอนแรกที่เขานั่งร้องไห้ ตอนนี้ 85 ปีแล้วเขาก็ยังแข็งแรงไปเที่ยวใช้ชีวิต แล้วก็กลับมาตรวจเช็กกันอยู่ ครอบครัวก็มีความสุขมากๆ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นระยะ 4 แต่ว่าปัจจุบันนวัตกรรมหรือตัวยามันก็พัฒนาไปมาก ผู้ป่วยก็สามารถมีอายุยืนยาวได้มากขึ้นกว่าเดิม เหลืออีกรายหนึ่งตลกมาก ที่ว่าผู้ป่วยเหมือนกัน เป็นพ่อพยาบาลตรวจเจอเป็นมะเร็งปอด อายุ 93 ปีผมก็ถามว่า 93 ปีแล้ว ยังอยากจะผ่าตัดอีกเหรอ เขาบอกว่าอยากให้คุณพ่อมีอายุยืนยาว คุณพ่อยังเดินเที่ยวเล่นไปต่างจังหวัดได้อยู่ก็เลย โชคดีที่ว่าตอนที่เราผ่าตัดไปเป็นระยะเริ่มต้น ตอนนี้ผู้ป่วย 96 ปีแล้วก็ยังแข็งแรง มาตรวจยังอยู่ ฉะนั้นต้องบอกจริงๆ ว่าสิ่งพวกนี้เป็นสิ่งที่ทำให้พวกเรารู้สึกว่าเรายังคงอยากทำงานเฉพาะทางด้านนี้อยู่ ซึ่งอยากให้ผู้ป่วยอยู่กับครอบครัวเขาไปนานๆ
ปัจจุบันมีโรคที่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการส่องกล้องผ่าตัดปอด มีโรคอะไรบ้าง จริงๆ แล้วต้องบอกเลยว่า การตระหนักสุขภาพมันเป็นสิ่งสำคัญนะ ถ้าเราตรวจสุขภาพได้เร็ว เราจะได้มีโอกาสรักษาหายขาด ทีนี้การรักษาการผ่าตัดในประเทศไทย พัฒนาค่อนข้างมาก
ประเทศไทยเราเป็นศูนย์รวมการรักษาของการแพทย์ ที่เรียกว่าดีมากๆ ในโลก มีหลายประเทศบินเข้ามารักษาในประเทศไทย เนื่องจากว่าประเทศไทยมีจุดเด่นนอกจากจะมีการแพทย์ที่ดี ก็ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวรวมทั้งมีงานวิจัยที่รองรับระดับนานาชาติ ฉะนั้นเราก็จะหวังว่าจริงๆ แล้วในอนาคตเอาไว้แพทย์รุ่นใหม่ที่กำลังจะก้าวเข้ามาสืบสานต่อสิ่งที่ผมทำไว้ ทำให้พาเมืองไทยของเราเข้ามาสู่ระดับนานาชาติ ซึ่งคำว่านานาชาติไม่ใช่เรื่องการรักษา แต่นานาชาติคือ เรารักษาคนไข้ ได้ดีเท่าต่างประเทศ ผลการรักษาได้เทียบเท่าต่างประเทศเพื่อทำให้คนไข้อยู่กับครอบครัวเขาไปได้อีกนาน
อยากฝากอะไรไว้ให้กับแพทย์ ผู้ป่วย และประชาชน
ปัจจุบันก็จะมีชาวต่างชาติ โดยเฉพาะแพทย์จากต่างประเทศเข้ามาศึกษาต่อที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล เนื่องจากว่าค่าใช้จ่ายถูกกว่า มีเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัย แล้วพวกเขาเชื่อมั่นในวงการแพทย์ไทย โดยเฉพาะศัลยแพทย์ที่เป็นหมอผ่าตัดที่อยู่ตามประเทศต่าง ๆ ก็อยากมาฝึกอบรมที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาลเพื่อมาดูเทคนิคการผ่าตัดใหม่ ๆ ว่าทำอย่างไรถึงได้ผลลัพธ์หรือผลการรักษาที่น่าพอใจ แต่ประเด็นก็คือ เขาอยากจะมาดูเทคนิคต่าง ๆ ซึ่งประเทศเราเป็นประเทศที่ค่อนข้างมาง่าย สะดวก และการแพทย์ทันสมัย