โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

แฟชั่น บิวตี้

Attachment Person สไตล์ความรักที่บ่งบอกตัวตนในอดีต ที่เราเองยังไม่รู้

SistaCafe

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • SistaCafe

‘เมื่อมีความรัก ก็มักจะเกิดทุกข์ขึ้นมา’ นั่นเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าไม่ไกลจากความเป็นจริง เพราะเมื่อเราอยู่ในความสัมพันธ์มักจะมีสิ่งต่างๆ เข้ามาทำให้เกิดความกวนใจ และความกังวลใจเกิดขึ้น และมักจะตั้งคำถาม ยิงคำถามบ่อยๆ ในความสัมพันธ์ จนบางครั้งทำให้คู่รักเกิดความอึดอัดได้เสมอ แล้วทำไมถึงเป็นแบบนั้นล่ะ? และเชื่อไหมว่าตัวตนที่เราแสดงออกไปมักจะเกี่ยวข้องกับอดีตที่เราเผชิญเสมอ… ถ้าใครยังไม่เข้าใจ และคิดว่าไม่ใช่เรื่องที่ต้องเคยชินเรามาทำความเข้าใจและเรียนรู้กับ Attachment Person ความสัมพันธ์แต่ละประเภท ที่มีอดีตมาเป็นตัวบ่งบอกนี้กัน จะทำให้ชาวซิสเรียนรู้และเข้าใจอย่างลึกซึ้งอย่างไรบ้างไปดูกัน!

✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿

Attachment Personคืออะไร ?

Attachment Person เกี่ยวข้องกับ ‘ทฤษฎีความผูกพัน (Attachment Theoy)’ ซึ่งเป็นแนวคิดทางจิตวิทยาที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ในวัยเด็กกับคนที่เลี้ยงดูเราในช่วงนั้น ซึ่งเชื่อว่าทฤษฎีนี้เมื่อเราได้รับการเลี้ยงดูแบบไหนที่เคยได้รับในวัยเด็กนั้น จะเป็นตัวกำหนดการแสดงออกและการตอบสนองต่อความสัมพันธ์ในตอนโตนั่นเอง จึงทำให้ Attachment Person หมายถึงบุคคลที่เราผูกพันทางอารมณ์อย่างลึกซึ้งไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ คนรัก หรือเพื่อนสนิท ที่เรารู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ใกล้และมักพึ่งพาอารมณ์เมื่อเผชิญกับความเครียดหรือความกลัว

โดยทฤษฎีความผูกพันนี้มีผู้ริเริ่มคือ ‘จอห์น โบลว์บี’ นักจิตแพทย์เด็กชาวอังกฤษ โดยในช่วงปี 1930 เขาได้สังเกตเห็นเด็กแต่ละคนมีปฏิกิริยาแตกต่างกันไปต่อคนแปลกหน้า จึงได้ทำการทดลองให้เด็กไปอยู่ในห้องใหญ่ห้องหนึ่งโดยให้คนแปลกหน้าเข้ามาในห้อง มาพูดคุยกับแม่ จากนั้นเข้าไปหาเด็ก ระหว่างนั้นก็ให้แม่ออกไปจากห้อง สักพักก็กลับเข้ามาอีกรอบ โดยเขาจะจับสังเกตถึงพฤติกรรมของเด็กๆ เหล่านั้นว่ามีวิธีการรับมืออย่างไร เช่น

  • วิธีที่เด็กสำรวจห้องและเล่นของเล่นในระหว่างการทดสอบ
  • สิ่งที่เด็กทำเมื่อแม่ไม่อยู่
  • เด็กมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อคนแปลกหน้า
  • สิ่งที่เด็กทำเมื่อแม่กลับมา

โดยเด็กที่เข้ารับการทดสอบจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ Secure, Anxious และ Avoidant ต่อมาในปี 1980 Dr.Philip Shaver และ Dr. Cindy Hazan ได้นำเอาทฤษฎีนี้มาประยุกต์ใช้กับความสัมพันธ์แบบโรแมนติกในรูปแบบคู่รัก เพราะมีแนวคิดที่เชื่อว่าตอนเด็กเราถูกรักมาแบบไหนก็มีแนวโน้มที่ว่ารูปแบบความรักในตอนโตเรานั้นก็จะเป็นแบบนั้นนั่นเอง ซึ่งหากมองในความเป็นจริงก็อาจจะมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาร่วมด้วยแต่ในเชิงของทฤษฎีความสัมพันธ์นั้นเชื่อว่า ความผูกพันที่ได้รับในวัยเด็กหรือช่วงวัย 7-11 เดือน มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อสมองของเด็กในวัยนั้นเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นวัยที่มนุษย์ของเราสามารถส่งสัญญาณแบบอวัจนภาษา เช่น การร้องไห้ การร้องอ้อแอ้ การชี้ หรือการยิ้ม หากคนที่เลี้ยงดูเราสามารถแปลสัญญาณเหล่านี้และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของเด็กได้ความผูกพันและความอบอุ่นก็จะเกิดขึ้นมา ดังนั้นสรุปแล้วสามารถมีผลต่อความสัมพันธ์แบบคู่รักเมื่อโตขึ้นอย่างไรบ้างนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แบบคือ

  • Secure รู้สึกมั่นคง ปลอดภัย
  • Anxious โหยหาทางอารมณ์
  • Avoidant ไม่แบ่งปันความรู้สึก
  • Fearful คาดเดาอารมณ์ได้ยาก

✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿

การทำความเข้าใจ Attachment Person รู้แล้วดียังไง ?

การที่เราทำความเข้าใจตัวเองว่าเราอยู่ในรูปแบบความสัมพันธ์ Attachment Person กับคู่รักในประเภทไหน จะทำให้เราสามารถได้รู้จักถึงความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง ซึ่งสามารถช่วยให้ปรับถึงความสัมพันธ์ของเราได้ และสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ดีมากยิ่งขึ้น มันจะช่วยให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับตัวเองและคนรอบตัว ซึ่งไม่แน่ว่าความเข้าใจตัวเองที่ได้เรียนรู้ในวันนี้อาจช่วยให้เราหันมาฝึกให้ความรักกับตัวเองฝึกอยู่กับตัวเอง ไม่ก็อาจหันมาเปิดใจเพื่อรับการโอบกอดความรักและคำปลอบโยนจากผู้อื่นมากขึ้น

✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿

ประเภทของรูปแบบความสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง ?

Secure รู้สึกมั่นคง ปลอดภัย

เมื่อตอนเด็กได้รับความรักอย่างเต็มที่และผู้ปกครอง หรือคนที่เลี้ยงดูสามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ทันทีแบบรวดเร็วหรือแม่นยำ ในขณะเมื่อเด็กส่งสัญญาณว่าหิว เหนื่อย หรือหงุดหงิด ทำให้เด็กจะได้รับการปกป้องและรู้สึกปลอดภัย หรือได้รับความรักอย่างเต็มที่ ดังนั้นเมื่อโตขึ้นจะไม่ค่อยวิตกกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์อีกอย่างคือ จะมีความซื่อสัตย์และเชื่อใจในคู่รัก มีความรักที่มากล้นจนสามารถแบ่งปันให้กับผู้อื่น และเป็นคนที่ไม่กลัวในการสร้างความสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า ไม่มีปัญหาในการให้ความไว้วางใจกับคู่รักและมักจะได้รับความไว้วางใจจากคู่รักเรียกได้ว่ารู้จักความรักอย่างแท้จริง เมื่อต้องเข้าสังคมก็สามารถที่จะใกล้ชิดกับผู้อื่นได้อย่างสบายๆ ไม่กลัวถึงความสนิทสนม และไม่รู้สึกตื่นตระหนก หากกรณีที่คนรักต้องการเวลาหรือต้องการพื้นที่ส่วนตัวที่อาจจะห่างเหินกันบ้าง ก็สามารถให้ได้และยังสามารถเป็นที่พึ่งทางใจให้กับคนอื่นได้นั่นเอง

คนประเภทนี้เป็นคนที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้สึกปลอดภัยมั่นคง และพึงพอใจในความสำคัญพันธ์ มีขอบเขตของตัวเองที่ชัดเจนและไม่กลัวที่จะอยู่คนเดียวแต่ก็ชอบที่จะใกล้ชิดและมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับผู้อื่น

Anxious โหยหาทางอารมณ์

เด็กที่มักจะเกิดความวิตกกังวลบ่อยในขณะเมื่อแม่ไม่อยู่ใกล้ๆ หรือผู้ปกครอง คนดูแลไม่ได้อยู่ในระยะสายตา ซึ่งทำให้ย้อนมองได้ว่าในช่วงวัยเด็กอาจถูกเลี้ยงดูจากผู้ปกครองที่อาจจะปล่อยประละเลยความรู้สึก โดนบังคับทางร่างกายและจิตใจตามที่ผู้ปกครองต้องการ ผู้ปกครองอาจใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการเติมเต็มเพื่อให้ตัวเองดูเพอร์เฟค จึงทำให้ตอนโตขึ้นมามีความสัมพันธ์แบบรู้สึกหึงหวง หวาดระแวง ต้องการความสนใจ และมีความคาดหวังสูง มักกลัวการถูกปฏิเสธ ซึ่งอาจจะมีความคิดที่อยากอยู่เป็นโสดบ้าง แต่ลึกๆ ก็ยังโหยหาความสัมพันธ์บ่อยครั้ง มักจะคอยหาการสนับสนุนและการตอบสนองจากคนรักอยู่ตลอดเวลา มักจะกังวลว่าจะได้รับไม่เท่ากับที่ให้ความรักแก่คนอื่นไป และยังมีความมั่นใจในตัวเองต่ำ

คนประเภทนี้มักจะถูกมองว่าเรียกร้องความสนใจ พวกเขาต้องการความรักการเอาใจใส่แทบตลอดเวลา ซึ่งนอกจากนั้นยังมักจะเกิดความวิตกกังวล ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ต้องการใกล้ชิดกับคนรักอยู่ตลอด แต่ก็กลัวอยู่ลึกๆ ในใจว่าอีกฝ่ายจะอึดอัดและไม่อยากอยู่ด้วย

Avoidant ไม่แบ่งปันความรู้สึก

ซึ่งตอนเด็กๆ อาจจะถูกเลี้ยงแบบปล่อย ทำให้เหมือนได้รับอิสระในตัวเองสูง หรือบางครั้งก็อาจจะโดนเลี้ยงดูโดยที่ผู้ปกครองมีความเข้มงวดในการจับวางในชีวิตมากเกินไป ซึ่งส่งผลให้เกิดความห่างเหินทางอารมณ์โดยผู้ปกครองหรือคนดูแลมักไม่ตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ให้เด็ก ไม่ช่วยเหลือ ไม่สนใจ ไม่ให้ความรัก และไม่ให้พื้นที่ความปลอดภัยอย่างเต็มที่ เมื่อเด็กร้องไห้อาจจะรู้สึกโกรธ และพยายามบังคับให้เด็กไม่แสดงออกทางความรู้สึก ดังนั้นเมื่อตอนโตขึ้นจึงเป็นคนที่ไม่ชอบอยู่ในความสัมพันธ์ที่แบบนานๆ เพราะเหมือนทำให้ตัวเองต้องพึ่งพาคนอื่น แต่มักจะเข้ากับคนง่าย มีความนับถือในตัวเองสูง แต่ไม่ค่อยที่จะแบ่งปันความรู้สึกให้คนอื่น แตกต่างจาก Anxious แบบคนละขั้ว

คนประเภทนี้จึงไม่ชอบความใกล้ชิด พยายามที่จะหลีกเลี่ยงความรู้สึกลึกซึ้งกับผู้อื่น ไม่ชอบพึ่งพาใครและไม่ชอบให้ใครมาพึ่งพาตัวเอง

Fearful คาดเดาอารมณ์ได้ยาก

เด็กที่โดนเลี้ยงโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือคนดูแลที่อารมณ์ไม่คงที่ เช่น เด็กมีการทำพฤติกรรมแบบเดิมซ้ำๆ บางครั้งอาจจะหัวเราะหรือทำโทษในพฤติกรรม ทำให้เด็กไม่รู้ว่าจะต้องตอบสนองความต้องการผู้ปกครองยังไง ทำให้เด็กรู้สึกกลัวและหวาดระแวง มีความมั่นใจในตัวเองต่ำ ไม่ไว้ใจเพราะอาจจะเคยโดนล่วงละเมิด หรือเห็นผู้ปกครองโดนล่วงละเมิดทั้งร่างกาย และจิตใจ ผู้ปกครองไม่สามารถเป็นที่พึ่งพาและเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้แก่เด็กได้ จึงทำให้ตอนโตมาไม่ค่อยใส่ใจความรู้สึกของคนรัก มีความคิดที่คลุมเครือ ถ้ามีอารมณ์ที่ไม่สามารถจัดการได้ก็อาจจะเฟดตัวเองออกมาเงียบๆ เรียกได้ว่าเป็นการผสมผสานระหว่างรูปแบบความสัมพัน Anxious และ Avoidant จึงไม่ชอบที่จะพัฒนาความสัมพันธ์แบบโรแมนติกและใกล้ชิด แต่ในขณะเดียวกันก็อยากที่จะได้รับความรัก

คนประเภทนี้จึงถือว่าเป็นคนที่ได้รับหรือต้องเผชิญกับความบอบช้ำทางจิตใจหรือร่างกาย ถูกละเลย ถูกทอดทิ้ง หรือถูกทำร้ายมาช่วงวัยเด็กอย่างมาก

✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿

มาเช็กลิสต์ทีละข้อกันว่า เราเป็นคนประเภทนี้กันไหม ?

Secure รู้สึกมั่นคง ปลอดภัย

  • เห็นคุณค่าในตัวเอง มองตัวเองในแง่ดี ทั้งยังรักตัวเองและรักคนอื่นไปพร้อมๆ กัน
  • ไม่กลัวที่จะเป็นตัวของตัวเองความสัมพันธ์
  • กล้าแสดงออกถึงความรู้สึก ความหวัง ความต้องการ และความอ่อนไหว
  • พึงพอใจที่ได้ใช้เวลากับอีกฝ่าย
  • ไม่กลัวที่จะขอกำลังใจหรือคำปลอบโยนจากคนรัก
  • สามารถเรียนรู้และเติบโตไปพร้อมพร้อมกับคนรักได้
  • ไม่กังวลมากมายเมื่อต้องอยู่ห่างกัน
  • เชื่อใจผู้อื่น
  • ยินดีให้อีกฝ่ายพึ่งพาและขอกำลังใจ
  • เวลามีอุปสรรคก็มักจะปรึกษาคนรักและเผชิญหน้ากับอุปสรรคได้ดีสามารถร่วมมือกันฝ่าฟันไปได้
  • มักจะไม่ชอบมีความสัมพันธ์แบบ One Night Stand หรือการใช้เซ็กส์เป็นเครื่องมือในการจัดการคนอื่น หรือทำให้ตัวเองรู้สึกว่ามีอำนาจ
  • หากเจอเรื่องผิดหวังในความสัมพันธ์ แม้จะเสียใจแต่ก็ไม่เสียศูนย์ กลับมาเป็นตัวเองและรักใหม่ได้เสมอ

Anxious โหยหาทางอารมณ์

  • ต้องการความใกล้ชิดและต้องการมีความรู้สึกลึกซึ้งกับคนรัก
  • มีปัญหาเรื่องความเชื่อใจ รู้สึกเป็นกังวลอย่างมากเมื่อไม่ได้อยู่ด้วยกัน
  • เอาความสุขไปผูกกับอีกฝ่ายมากเกินไป จนลืมความรักด้านอื่นๆ ในชีวิต
  • ไม่สามารถให้เวลาส่วนตัวกับอีกฝ่ายได้ และจะรู้สึกเป็นกังวล โกรธ หรือกลัวว่าอีกฝ่ายจะทิ้ง
  • ไม่ค่อยเห็นคุณค่าในตัวเอง
  • เอาคุณค่าตัวเองไปผูกกับความสัมพันธ์ หากไม่ได้ความรักมากพอก็จะรู้สึกไม่มีค่า
  • มักจะใช้เซ็กส์เพื่อความใกล้ชิดและยืนยันความมั่นใจของตัวเอง
  • กังวลและหึงหวงเวลาต้องอยู่ห่างกัน จนทำให้อีกฝ่ายรู้สึกผิด
  • มักจะถูกคนอื่นมองว่าเรียกร้องความสนใจเกินไป หรือติดแฟนมากเกินไป

Avoidant ไม่แบ่งปันความรู้สึก

  • ดูแลตัวเองได้และอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องการพึ่งพาคนอื่น
  • ยิ่งเมื่ออีกฝ่ายพยายามใกล้ชิดมากเท่าไหร่ จะยิ่งพยายามตีตัวออกห่างมากเท่านั้น
  • ไม่ค่อยแสดงออกทางอารมณ์ มักจะถูกมองว่าเย็นชา จนเกิดความสัมพันธ์ที่ทำให้รู้สึกอึดอัด
  • มองว่าคนอื่นที่ชอบแสดงอารมณ์นั้นอ่อนแอ อ่อนไหว หรือไม่ก็เรียกร้องความสนใจ
  • โฟกัสที่ความรู้สึกและความต้องการของตัวเองมาก่อน จนละเลยความรู้สึกของอีกฝ่าย
  • กลัวการสูญเสียตัวเองในความสัมพันธ์
  • สามารถเลิกหรือยุติความสัมพันธ์เพื่อให้ตัวเองได้รับความอิสระคืนมา
  • มักมีความสัมพันธ์แบบผิวเผินและระยะสั้น
  • มาตรฐานสูงทั้งต่อตนเองและคนอื่น
  • มักรักษาระยะห่างจากคนรักและไม่อินในความสัมพันธ์

Fearful คาดเดาอารมณ์ได้ยาก

  • เชื่อว่าตนเองไม่สมควรได้รับความรัก
  • สับสนและรู้สึกไม่สบายใจเมื่ออยู่ในความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด
  • ไม่ใส่ใจความรู้สึกของอีกฝ่าย
  • อาจอาจไม่เชื่อใจและพยายามควบคุมอีกฝ่าย
  • ใจร้ายใจร้ายกับตัวเองพอๆ กับที่ใจร้ายกับคนอื่น
  • แม้ว่าอยากมีความรักแต่ก็เชื่อว่าตัวเองไม่เหมาะสมและกลัวว่าจะต้องเสียใจอีกครั้ง
  • ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง
  • กลัวความใกล้ชิด
  • อย่าพึ่งพาคนอื่น แต่ก็ไม่เชื่อใจและกลัวการถูกปฏิเสธ
  • เมื่ออยู่ในความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง หรือมีเซ็กส์ก็จะปราศจากความรัก และมีโอกาสสูงที่จะติดเซ็กส์

✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿

ทริคสำหรับAttachment Person เพื่อให้มีความรักที่ดีขึ้น

แน่นอนว่าการเปลี่ยน Attachment Person ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ถือว่าเป็นการเดินทางที่เรียกได้ว่าคุ้มค่า เพราะหลายคนที่เคยชินกับ Toxic Relationship หรือรู้สึกหวาดระแวงไม่ปลอดภัยในความรัก ก็อาจจะทำให้รู้สึกยาก ดังนั้นเรามาดูถึงทริคที่จะช่วยให้มีความรักที่ดีขึ้นได้กัน

  • ฝึก Self-Awareness สังเกตความคิดและพฤติกรรมของตัวเองในความสัมพันธ์ เช่นคุณมักกลัวการถูกทอดทิ้งหรือหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดหรือไม่?
  • สะท้อนอดีตอย่างเข้าใจ ลองทบทวนความสัมพันธ์กับพ่อแม่หรือผู้ดูแลในวัยเด็ก เพื่อเข้าใจว่าประสบการณ์เหล่านั้นส่งผลต่อความรู้สึกในปัจจุบันอย่างไร
  • เรียนรู้การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา ฝึกพูดความรู้สึกและความต้องการของตัวเองอย่างชัดเจน โดยไม่ใช้อารมณ์หรือการกล่าวโทษ
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ใช้เวลาอยู่กับคนที่มี Secure Attachment เพื่อเรียนรู้รูปแบบความสัมพันธ์ที่มั่นคงและไว้วางใจได้
  • ฝึกการรักตัวเอง (Self-Compassion) เรียนรู้ที่จะโอบกอด เห็นคุณค่า รัก และดูแลตัวเองก่อน ถ้าไม่สามารถเข้าใจได้ว่าการรักตัวเองเป็นอย่างไร เพราะเคยถูกทอดทิ้ง ถูกทารุณ แต่สุดท้ายทุกคนสมควรที่จะได้รับความรักที่ดีและมีคุณค่าในตัวเอง ไม่ใช่การคาดหวังจากคนอื่น แต่เป็นการเริ่มต้นที่ตัวเอง
  • อย่ากลัวที่จะรับการปรึกษาและการบำบัดจากผู้เชี่ยวชาญ เพราะผู้เชี่ยวชาญสามารถทำให้เราเข้าใจตัวเองได้มากยิ่งขึ้น การได้รับคำปรึกษาที่ดีและเหมาะสมจะช่วยทำให้สามารถเข้าใจถึงความสัมพันธ์ บาดแผลในอดีต และสามารถเป็นข้อกำหนดขอบเขตที่เหมาะสมในการพัฒนาตัวเอง ทั้งยังช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีต่อคนรอบข้างได้อีกด้วย

✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿ ✿

สรุป

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับการเรียนรู้ความสัมพันธ์แบบ Attachment Person ในแต่ละประเภท ซึ่งที่เราเข้าใจความสัมพันธ์แบบมั่นคงหรือ Secure จะถือเป็นความสัมพันธ์ที่ดีที่สุดแต่บอกเลยว่าไม่ได้หมายความว่าเราสมบูรณ์แบบหรือไม่เคยมีปัญหาในความสัมพันธ์ เพียงแต่หมายความว่าเรามีความมั่นคงหรือมั่นใจมากพอในการรับผิดเมื่อเกิดข้อผิดพลาด และกล้าขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเมื่อต้องการนั่นเอง แต่อีกสามประเภทก็ไม่ใช่ว่าเราจะเป็นแบบนั้นเสมอไป เราสามารถเข้าใจและพัฒนาให้มันดีขึ้นได้ เพราะเมื่อเราก้าวอีกก้าวเมื่อไรย่อมมีความเปลี่ยนแปลงที่ดีเข้ามาเสมอ นั่นหมายความว่าทุกอย่างย่อมมีเวลาเพราะการติดหรือการฝั่งใจจากอดีต แต่อดีตไม่สามารถเป็นตัวกำหนดเราในอนาคตได้ตลอดไป ดังนั้นแล้วการเห็นคุณค่าตัวเอง และรักตัวเองก่อนจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเรารักตัวเองมากพอความรักก็สามารถเผยแผ่ให้คนรัก คนรอบข้างได้เสมอ

ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : missiontothemoon, wongnai

บทความอื่นๆ ที่แนะนำ

อ่านบทความต้นฉบับได้ที่: SistaCafe.com ครบเครื่องเรื่องบิวตี้

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก SistaCafe

Racing Girl เทรนด์แฟชั่นสาวซิ่ง แต่งตัวแบบสิงห์นักแข่งสุดเท่

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Dirty talk วิธีชวนคุยเสียว 101 Quiz เราเป็นแมวไทป์ไหนในการคุยแชทเสียว

12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความแฟชั่น บิวตี้อื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...