โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

รัฐบาลแจงชัด! มติ ครม.ให้สัญชาติ “กลุ่มชาติพันธุ์ในไทย” ไม่ใช่แรงงานต่างด้าว

สยามรัฐ

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

คนละเรื่อง..!! รัฐบาลยืนยันให้สัญชาติตามมติ ครม. 29 ต.ค. 67 มีเป้าหมายที่ชัดเจน ให้กลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ และเกิดในไทยไม่ได้เป็นการให้สัญชาติแรงงานต่างด้าว หรือคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร

วันที่ 12 ก.ค.68 นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล ย้ำการเร่งรัดแก้ไขปัญหาสัญชาติตามมติ ครม. 29 ต.ค. 67 ซึ่งได้มีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติ และการสั่งให้คนที่เกิดในราชอาณาจักรไทยและไม่ได้รับสัญชาติไทย โดยมีบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย. 68 ที่ผ่านมา ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน คือ ชนกลุ่มน้อย/กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน และได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติและมีข้อมูลในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรไว้แล้ว อาทิ ภาพถ่ายใบหน้า ลายพิมพ์นิ้วมือ ประมาณ 1.4 แสนราย ได้แก่

1. บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรโดยมีบิดาหรือมารดาเป็นชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติกลุ่มต่าง ๆ หรือมีชื่อในทะเบียนบ้าน มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ขึ้นต้นหลักแรกด้วยเลข 6 และเลขหลักที่หกและเจ็ดเป็นเลข 50 ถึงเลข 72 รวมถึงคนถึงคนที่มีบิดาหรือมารดาเป็นชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ มีชื่อในทะเบียนบ้าน มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ขึ้นต้นหลักแรกด้วยเลข 5 หรือเลข 8 ด้วย

2. บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรโดยมีบิดาหรือมารดาได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2548 รวมถึงชาวมอร์แกน โดยคนกลุ่มนี้จะมีชื่อในทะเบียนประวัติ มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักที่ขึ้นต้นหลักแรกด้วยเลข 0 และเลขหลักที่หกและเจ็ดเป็นเลข 89 ซึ่งหมายรวมถึงบิดาหรือมารดาที่ได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติด้วย

รัฐบาลขอยืนยันว่า การดำเนินการตามมติ ครม. วันที่ 29 ตุลาคม 2567 มิใช่การให้สัญชาติแก่แรงงานต่างด้าว ผู้มีสัญชาติอื่น หรือผู้หนีภัยจากการสู้รบที่อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวแต่อย่างใด แต่เป็นการแก้ไขปัญหาความไร้สถานะทางทะเบียนของบุคคลกลุ่มเป้าหมายประมาณ 1.4 แสนราย ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน และผ่านการจัดทำทะเบียนประวัติอย่างเป็นระบบแล้ว โดยรัฐบาลได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เข้มงวด และตรวจสอบได้ เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดช่องโหว่ในการแสวงหาประโยชน์ และที่สำคัญคือ ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีสิทธิอย่างแท้จริงบนหลักของความเป็นธรรมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์“ นางสาวศศิกานต์ กล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

ยุบพรรคเพื่อไทย??? : ความชอบธรรมและความเป็นไปได้ทางกฎหมาย

9 นาทีที่แล้ว

พช.เมืองอ่างทอง ร่วมกิจกรรมงานมหกรรมรวมพลสมาชิก TO BE NUMBER ONE ระดับประเทศ

16 นาทีที่แล้ว

"รมว.ยุติธรรม" ลงพื้นที่ปัตตานี ถกแก้ปัญหายาเสพติด ดันแนวทางศาสนาฟื้นฟูผู้หลุดพ้น

29 นาทีที่แล้ว

"ผู้ว่าเชียงราย พาเที่ยว เพื่อสุขภาพ” เดินหน้าเส้นทาง Wellness Trail 3 อำเภอเชียงราย

37 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

วิดีโอ

แพตลาดน้ำ "วัดไทรใหญ่" ล่ม โชคดีไม่มีนักท่องเที่ยวบาดเจ็บ วัดอยู่ระหว่างเร่งกู้

สวพ.FM91

จาก่าน่า : ดินแดนลับกลางขุนเขา ที่เที่ยวหน้าร้อนยวนใจในกานซู่

Xinhua

สุนัขหายจากบริเวณแยกวรจักร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ผู้ใดพบเห็นแจ้ง JS100 โทร *1808 หรือ 1137

JS100 - Lost&Found

หนุ่มไทยเครียดจัด ติดด่านปอยเปตวีซ่าหมด-ไม่มีเงินจ่ายค่าปรับ ซดน้ำยาล้างห้องน้ำหวังจบชีวิต

มุมข่าว

นาทีชีวิต ช่วยชาวบ้านติดเกาะ หลังน้ำป่าหลากท่วมหมู่บ้าน เหตุจากฝนตกลงมาอย่างหนัก พาขึ้นมาได้เฮลั่น

Khaosod

‘เทศกาลเพลง-เต้นรำเยาวชน’ สุดยิ่งใหญ่ในลัตเวีย

Xinhua

เพจร้านทองชื่อดังเตือน มิจฉาชีพ ปลอมเพจผู้ติดตาม 8 แสนคน

Khaosod

‘หูซินถิง’ โรงน้ำชาอันดับหนึ่งแห่งเซี่ยงไฮ้ หวนเปิดรับแขกแล้ว

Xinhua

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...