โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อภ. ลงนาม 2 องค์กรใหญ่ระดับสากล ขึ้นทะเบียน ‘ยาราวิดาสเวียร์ ‘ รักษาไวรัสตับอักเสบซี ที่มีราคาแพงมาก คาดทำให้ผู้ป่วยในไทย 8 แสนราย ที่เข้าไม่ถึงยา มีโอกาส

ไทยโพสต์

อัพเดต 3 กรกฎาคม 2568 เวลา 22.45 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

3 ก.ค.2568- เมื่อวันที่30 มิถุนายน 2568 ณ เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนดื องค์การเภสัชกรรม บริษัท Pharco Pharmaceuticals จากประเทศอียิปต์ และองค์กรวิจัยทางการแพทย์ไม่แสวงหาผลกำไร Drugs for Neglected Diseases initiative (DNDi) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ เพื่อการขึ้นทะเบียนยาราวิดาสเวียร์ในประเทศไทย

เป้าหมายของความร่วมมือในครั้งนี้ คือการทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาตัวนี้ได้ง่ายขึ้น ผลการทดลองทางคลินิก ในโรงพยาบาลที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ รวมถึงในประเทศมาเลเซีย สามารถยืนยันประสิทธิภาพของ ยาราวิดาสเวียร์ได้เป็นอย่างดี ยาราวิดาสเวียร์ถือเป็นยารักษาไวรัสตับอักเสบซีตัวแรกที่พัฒนา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South collaboration) โดยมีทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันจัดหายาที่มีราคาย่อมเยาให้กับผู้ป่วยที่ต้องการยา

“การลงนามบันทึกข้อตกลงในวันนี้ เป็นมากกว่าความร่วมมือทางวิชาการ แต่ยังเป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นร่วมกันในการสร้างระบบการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนให้กับประชาชน ยังมีผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีในประเทศไทยกว่า 800,000 ราย ที่ยังรอการเข้าถึงยาและการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ” พญ.มิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าว และว่า โรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นโรคที่รักษาได้และใช้เวลาในการรักษาไม่นาน ยาที่ใช้มีประสิทธิภาพสูง สามารถรักษาโรคให้หายขาดมากกว่า 95% ก่อนหน้านี้ ยาที่ใช้ในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีมีราคาแพงมาก แต่ GPO สามารถผลิตให้ได้ต้นทุนที่ลดลง เพิ่มการเข้าถึงยามากขึ้น ความร่วมมือครั้งนี้ จะทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

พญ.มิ่งขวัญ กล่าวเสริม โรคไวรัสตับอักเสบซีสามารถพัฒนาเป็นโรคตับเรื้อรัง ตับแข็ง มะเร็งตับ และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ อีกทั้งยังก่อให้เกิดภาระ ทางเศรษฐกิจ และสังคมต่อบุคคล ครอบครัว และระบบสาธารณสุขของประเทศ ปัจจุบัน โรคไวรัสตับอักเสบซี ยังคงเป็นความท้าทายด้านสาธารณสุขในประเทศไทย มีผู้ป่วยหลายรายยังไม่ได้ รับการวินิจฉัยหรือการรักษา ประเทศไทยวางเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติในการกำจัดไวรัสตับอักเสบซีให้หมดไป ภายในปี พ.ศ. 2573

การรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับไวรัสตับอักเสบซีในปัจจุบันคือ ยากลุ่ม direct-acting antivirals (DAAs) อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านี้มีราคาสูงมาก (ยาตัวแรกที่เริ่มวางจำหน่ายในปี 2556 มีราคาสูงถึง 2.5 ล้านบาท)ทำให้ผู้ป่วยในประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ โรคนี้ส่งผลกระทบ ต่อประชากรราว 50 ล้านคนทั่วโลก แต่มีเพียง 20% เท่านั้นที่ได้รับการรักษา โดยมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ราว 242,000 คนต่อปี ปัจจุบัน ราคายาลดลงมาจากเดิมมาก แต่ยังไม่มากพอให้ทุกคนเข้าถึงได้

ราวิดาสเวียร์เป็นยาที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และราคาย่อมเยา พัฒนาโดยองค์กร DNDi ร่วมกับบริษัท Pharco Pharmaceuticals จากอียิปต์ รวมถึงภาครัฐและหน่วยงานวิชาการในมาเลเซียและไทย เมื่อปี พ.ศ. 2560 มีการดำเนินการทดลองทางคลินิกในไทย 4 แห่ง โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยงานและองค์กรหลายแห่ง ยาชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการลดต้นทุนการรักษาอย่างมาก ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศมาเลเซีย และในปี พ.ศ. 2566 ได้ถูกรวมอยู่ในบัญชียาจำเป็นของ องค์การอนามัยโลก (WHO) อีกด้วย

“ราวิดาสเวียร์เป็นตัวอย่างความสำเร็จที่น่าประทับใจของการพัฒนายาโดยไม่แสวงผลกำไรภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างประเทศกำลังพัฒนา โดยมุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ต้องขอบคุณความเป็นผู้นำของประเทศไทย และมาเลเซีย ที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศรายได้น้อยและปานกลางสามารถพัฒนายาที่ตรงกับความต้องการ ของประชากรของตนเองได้” นพ.หลุยส์ ปิซาร์โร ผู้อำนวยการบริหารขององค์กร DNDi กล่าวและว่า บันทึกความเข้าใจกับองค์การเภสัชกรรมฉบับนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการผลักดัน ให้ราวิดาสเวียร์สามารถ เข้าถึงได้ง่ายขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่ร่วมพัฒนายาตัวนี้

องค์การเภสัชกรรมจะเป็นผู้นำในการยื่นขอขึ้นทะเบียนยากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยมีองค์กร DNDi และ บริษัท Pharco ให้การสนับสนุนด้านเทคนิค และเอกสารประกอบที่จำเป็น

“ภารกิจของเราคือการทำให้ยาที่มีคุณภาพสูงเข้าถึงได้ในราคาที่ประชาชนสามารถซื้อได้ บริษัท Pharco ภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง ของความร่วมมือครั้งนี้ และเรายังคงมุ่งมั่นที่จะทำให้โลกปลอดจาก ไวรัสตับอักเสบซี ตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกภายในปี 2573 เรารู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับองค์กร DNDi และ องค์การเภสัชกรรม เพื่อเดินไปสู่เป้าหมายนี้ร่วมกัน” นพ.เชอรีน ฮัสซัน อับบาส เฮลมี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท Pharco Pharmaceuticals กล่าว

การทดลองทางคลินิกที่นำไปสู่การพัฒนายาราวิดาสเวียร์ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากโครงการ Transformational Investment Capacity ขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Médecins Sans Frontières/Doctors Without Borders) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการรักษาสำหรับผู้ป่วย โรคไวรัสตับอักเสบซี ในประเทศรายได้น้อยและปานกลาง.

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

‘นิพิฏฐ์’ ฟาดเดือด ‘พรรคประชาชน’ ทำนิติสงครามครึ่งซีก!

31 นาทีที่แล้ว

กองทุน ‘คริสตินา อากีล่าร์’ ส่งมอบเงินบริจาคให้ UNFPA

46 นาทีที่แล้ว

ร่องมรสุมกำลังแรง! กรมอุตุฯ เปิดพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักในอีก 24 ชม.ข้างหน้า

59 นาทีที่แล้ว

เสียงปริ่มน้ำอันตราย! ‘ชูศักดิ์’ รับนับองค์ประชุมคืออุทาหรณ์ โบ้ยพรรคร่วมฯมาน้อย

59 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

รถกระบะแต่งซิ่ง ชนประสานงากับรถกระบะอีกคัน มีผู้เสียชีวิต 2 บาดเจ็บ 4 ราย

มุมข่าว

เพาะพันธุ์เชิงเศรษฐกิจ กรมอุทยานฯ ขาย "เหี้ย" ตัวละ 500 บาท

Thai PBS

DSI ทลายขบวนการรีดหัวคิวแรงงานต่างด้าว โยงฟอกเงินกัมพูชา : 3 กรกฎาคม 2568

สวพ.FM91

9 ทันโลก : ติมอร์-เลสเต ท้าชนทหารเมียนมา จุดเปลี่ยนอาเซียน?

สำนักข่าวไทย Online

ส่องรัฐมนตรี Gen Y ในครม. แพทองธาร มีใครบ้าง

THE STANDARD

สสจ.กาฬสินธุ์เชิญชวนประชาชนลงทะเบียนร่วมกิจกรรม เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 11

77kaoded

กยศ.เตือนผู้กู้ยืม 3.5 ล้านบัญชี มอบอนาคตให้รุ่นน้อง ชำระเงินคืนภายใน 5 ก.ค.นี้

Khaosod
วิดีโอ

โรงเรียนเพิ่ม 3 มาตรการ คุมเข้มความปลอดภัย

Thai PBS

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...