เอชไพโลไร (H.pylori) ต้นตอมะเร็งกระเพาะอาหาร เผยสาเหตุและการรักษา
เชื้อเฮลโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) หรือ เอชไพโลไร (H.Pylori) เป็นแบคทีเรียที่มีผลกระทบกับโรคกระเพาะอาหารเป็นอย่างมาก หากตรวจพบเชื้อและไม่รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนสามารถกำจัดเชื้อได้หมดจะทำให้ไม่สามารถรักษาโรคกระเพาะให้หายขาด ยังเพิ่มโอกาสเป็นแผลในกระเพาะอาหาร และเชื้อชนิดนี้ยังเพิ่มโอกาสให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร หนึ่งในมะเร็งทางเดินอาหารได้อีกด้วย
หมอเตือน! ตู้เย็นแหล่งเพาะเชื้อ H.pylori ต้นตอ “มะเร็งกระเพาะอาหาร”
สัญญาณอันตรายเสี่ยง “มะเร็งทางเดินอาหาร” ต้องรีบพบแพทย์
เอชไพโลไร คืออะไร?
ในปี พ.ศ. 2526 แพทย์ชาวออสเตรเลีย Barry Marshall และ Robin Warren สามารถเพาะเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรได้ และพบว่าเชื้อสัมพันธ์กับการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ สำหรับเรื่องของเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร นั้นมีการศึกษามาโดยตลอดหลายปีจนถึงปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรเป็นสาเหตุให้เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร
อาการหลังติดเชื้อเอชไพโลไร
คนส่วนใหญ่แล้วการติดเชื้อชนิดนี้จะไม่ได้มีอาการแสดงออก แต่บางกรณีจะมีอาการไม่แตกต่างจากโรคกระเพาะอาหาร เช่น ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย จุก แน่นท้อง เป็นต้น สำหรับกรณีที่อักเสบมากเกิดมีแผลในกระเพาะอาหารหรือในลำไส้เล็กส่วนต้น ด้านของผู้ที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารที่มีสาเหตุจากเชื้อเอชไพโรไลนั้นอาการของกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังและรุนแรงมากขึ้น
ทราบได้อย่างไรว่าติดเชื้อเอชไพโลไร
- การส่องกล้องตัดเนื้อเยื่อบริเวณกระเพาะอาหารเพื่อส่งตรวจหาเชื้อทางพยาธิวิทยา
- การนำชิ้นเนื้อจากกระเพาะอาหารเพาะเชื้อ
- ตรวจทางลมหายใจด้วยวิธีการ Urea Breath Test การทดสอบยูเรีย โดยให้ผู้ป่วยดื่มสารยูเรียที่มีกัมมันตภาพรังสี เพื่อทดสอบการเชื้อเอชไพโลไร
- วิธีการเจาะเลือดตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อ
- เก็บอุจจาระหาเชื้อ
การติดเชื้อเอชไพโลไรมีการถ่ายทอดจากคนสู่คน จากการรับประทานอาหาร เชื้อจะเข้าสู่กระเพาะอาหารและเลื่อนเข้าสู่เซลล์เยื่อบุผิว โดยเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มีกระบวนการที่สามารถทำให้อยู่รอดในกระเพาะอาหารโดยไม่ถูกขับออกมาได้โดยธรรมชาติตามกลไกของร่างกาย
เชื้อเอชไพโลไร รักษาด้วยการรับประทานยา ด้วยยาลดการหลั่งกรดร่วมกับยาปฏิชีวนะ หลังจากหยุดยาแล้วประมาณ 1 เดือน แพทย์จะนัดตรวจติดตามผล
นอกจากนี้ยังปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันเชื้อเอชไพโลไร ได้ด้วยการ ดูแลสุขภาพร่างกายให้สะอาดปลอดภัย ล้างมือบ่อยๆรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ใช้ช้อนกลาง รับประทานทานอาหารมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารปรุงแต่ง แน่นอนว่ารวมถึงการไม่สูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากตรวจพบเชื้อเอชไพโลไรควรรักษาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์แนะนำ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 3