โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

จะเป็นอย่างไร หาก EU กดปุ่มนิวเคลียร์เศรษฐกิจ ตอบโต้ภาษีทรัมป์

THE STANDARD

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
จะเป็นอย่างไร หาก EU กดปุ่มนิวเคลียร์เศรษฐกิจ ตอบโต้ภาษีทรัมป์

บรรดาประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) หลายประเทศ ซึ่งรวมถึงฝรั่งเศสและเยอรมนี กำลังพิจารณาการใช้มาตรการ ‘ต่อต้านการบีบบังคับ’ (Anti-Coercion Instrument: ACI) ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น ‘ปุ่มนิวเคลียร์’ ของ EU เพื่อตอบโต้นโยบายทางด้านภาษีของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา หากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถบรรลุข้อตกลงที่ยอมรับได้ก่อนเดดไลน์ 1 สิงหาคมนี้ หลังทรัมป์ประกาศเตรียมเก็บภาษีสินค้านำเข้าจาก EU สูงถึง 30%

ประเด็นนี้ถูกหยิบยกหารือในการประชุมรัฐมนตรีการค้าของ EU เมื่อวานนี้ (21 กรกฎาคม) โดย เบนจามิน ฮัดแดด รัฐมนตรีกิจการยุโรปของฝรั่งเศสกล่าวว่า EU ควรพิจารณาการใช้มาตรการ ACI ตอบโต้มาตรการภาษีทรัมป์ ขณะที่ อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ชี้ว่า “ACI ถูกออกแบบมาสำหรับสถานการณ์พิเศษ และตอนนี้เรายังไปไม่ถึงจุดนั้น” และ การใช้ ACI อาจเป็นเรื่องที่เร็วเกินไป เนื่องจากการเจรจากับสหรัฐฯ ยังดำเนินอยู่ในขณะนี้

‘ACI’ คืออะไร ทำไมถึงถูกมองว่าเป็น ‘Nuclear Option’

มาตรการ ‘ต่อต้านการบีบบังคับ’ หรือ ACI ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่รุนแรงสูงสุดของ EU ที่จะใช้ตอบโต้กับข้อจำกัดหรือนโยบายทางเศรษฐกิจที่บีบบังคับจากประเทศอื่นๆ โดยกลไกนี้ถูกเสนอขึ้นในปี 2021 เพื่อตอบรับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า สหรัฐฯ ในยุคทรัมป์ 1.0 และจีนใช้ ‘การค้า’ เป็นเครื่องมือทางการเมือง ตัวอย่างเช่น กรณีจีนกดดันลิทัวเนีย หลังให้ไต้หวันตั้งสำนักงานผู้แทนในกรุงวิลนีอุส เมืองหลวงของลิทัวเนีย เมื่อปลายปี 2021 โดยจีนยังคงระงับความร่วมมือและลดการส่งออกสินค้าไปยังลิทัวเนียจนถึงปัจจุบัน

ACI ให้อำนาจสมาชิก EU ทั้ง 27 ประเทศ ตอบโต้ประเทศที่ใช้แรงกดดันทางเศรษฐกิจเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายของประเทศสมาชิก โดยเปิดช่องให้ใช้ ‘มาตรการที่หลากหลายกว่า’ การตั้งภาษีตอบโต้สินค้าสหรัฐฯ เพียงอย่างเดียว

นอกจากการตั้งกำแพงภาษีแล้ว ACI ยังเปิดทางให้ EU ขึ้นภาษีศุลกากร, จำกัดการนำเข้าหรือส่งออกผ่านโควตาหรือใบอนุญาต, กีดกันสหรัฐฯ จากการประมูลสาธารณะของ EU, หักคะแนนการประมูลของบริษัทอเมริกัน, จำกัดบริการดิจิทัลจากบริษัทอเมริกัน เช่น Amazon, Microsoft, Netflix และ Uber รวมถึงสกัดกั้นการลงทุนโดยตรงจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดใน EU และจำกัดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา, การเข้าถึงตลาดบริการทางการเงิน หรือการขายสารเคมีและอาหารใน EU เป็นต้น

ACI ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปลายปี 2023 นี้ ยังไม่เคยถูกนำมาใช้มาก่อน โดยมักถูกมองว่าเป็น ‘เครื่องมือขู่ปราม’ (Deterrence) เพื่อไม่ให้เกิดปัญหามากกว่าการใช้จริง

ด้วยระดับความรุนแรงของผลลัพธ์และความครอบคลุมของมาตรการเหล่านี้ ทำให้ ACI ถูกมองในฐานะ ‘อาวุธนิวเคลียร์’ ของ EU เพราะนอกจากจะทำลายผลประโยชน์ทางการค้าของคู่กรณีอย่างมหาศาลแล้ว ยังสามารถส่งผลกระทบอย่างหนักต่อธุรกิจและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในวงกว้างหากถูกนำมาใช้จริง ถือเป็น ‘มาตรการขั้นสูงสุด’ ของ EU ในสงครามทางการค้าและการตอบโต้ทางเศรษฐกิจสมัยใหม่

EU จะเลือกใช้มาตรการที่ ‘มีประสิทธิผลสูงสุด’ ในการหยุดยั้งพฤติกรรมบีบบังคับของประเทศที่สาม โดยจะเยียวยาและฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด

กฎหมายกำหนดให้คณะกรรมาธิการยุโรปมีเวลาสูงสุด 4 เดือนในการพิจารณาเหตุการณ์ที่อาจเข้าข่ายการบีบบังคับ หากพบว่ามีมูล คณะกรรมาธิการจะเสนอเรื่องนี้ต่อสมาชิก EU โดยจะมีเวลาอีกราว 8-10 สัปดาห์ เพื่อยืนยันการใช้มาตรการ ACI

การยืนยันจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติด้วยระบบ ‘เสียงข้างมากแบบพิเศษ’ (Qualified Majority Voting – QMV) ซึ่งกำหนดให้ต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 15 ประเทศ จากทั้งหมด 27 ประเทศ หรือคิดเป็น 55% ของจำนวนสมาชิก พร้อมกับสมาชิกกลุ่มนี้จะต้องมีประชากรรวมกันไม่น้อยกว่า 65% ของประชากรทั้งหมดใน EU นั่นหมายความว่า การผ่านมาตรการใดๆ ต้องได้เสียงสนับสนุนจากประเทศที่มีประชากรมากเพียงพอ ไม่ใช่แค่จำนวนประเทศเท่านั้น

จากนั้นคณะกรรมาธิการยุโรปจะปรึกษาหารือกับประเทศต้นเหตุเพื่อยุติการบีบบังคับ หากไม่สำเร็จ ภายใน 6 เดือน EU สามารถใช้มาตรการ ACI เพื่อตอบโต้ได้ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากบรรดาสมาชิก EU อีกครั้ง และจะมีผลบังคับใช้ภายใน 3 เดือน โดยกระบวนการทั้งหมดอาจใช้เวลาประมาณ 1 ปี แต่กรณีจำเป็นสามารถเร่งรัดให้เร็วขึ้นได้

ผลกระทบจะเป็นอย่างไร หาก EU ใช้ ACI โต้ภาษีทรัมป์

ดร. ปิยศักดิ์ มานะสันต์ หัวหน้านักวิจัยเศรษฐกิจ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ InnovestX ระบุว่า Anti-Coercion Instrument (ACI) ของ EU ที่เรียกกันว่า ‘Trade Bazooka’ เป็นเครื่องมือทางการค้าที่ทรงพลังซึ่งสามารถจำกัดการเข้าถึงตลาดจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะมูลค่า 2 ล้านล้านดอลลาร์และตลาดเทคโนโลยียุโรปของบริษัทอเมริกัน

หาก EU ใช้ ACI เป็น ‘Nuclear Option’ ตอบโต้ภาษีทรัมป์ อาจส่งผลให้เกิดสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น ซึ่งจะกระทบไทยทั้งในแง่ลบจากการเบี่ยงเบนการค้าและความไม่แน่นอนของตลาดโลก โดยสินค้าจากทั้งสหรัฐฯ และยุโรปอาจหลั่งไหลเข้าตลาดไทยและภูมิภาคอื่นมากขึ้น ส่งผลให้เกิดแรงกดดันด้านราคาและการแข่งขัน

แต่ในขณะเดียวกันก็เป็น ‘โอกาสสำคัญ’ สำหรับไทยในการเร่งเจรจา FTA ระหว่าง EU-ไทยให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2025 เพื่อใช้ประโยชน์จากการที่ EU ต้องการหาพันธมิตรการค้าที่เชื่อถือได้ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมากขึ้น และเพื่อยกระดับสถานะของไทยให้เป็น ‘Friend-Shoring Destination’ ที่สำคัญในห่วงโซ่อุปทานโลก ซึ่งจะช่วยเพิ่มสัดส่วนการส่งออกของตลาดยุโรปจากประมาณ 10-15% ของการส่งออกทั้งหมด (จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 8%) ทดแทนตลาดสหรัฐฯ ที่จะลดลง

ส่วนประเด็นที่น่าจับตามองในช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนเดดไลน์ภาษีทรัมป์ 1 สิงหาคมจะมาถึง ดร. ปิยศักดิ์ ระบุว่า มีอย่างน้อย 3 ประเด็นสำคัญคือ (1) การเจรจาการค้าระหว่างไทยกับ EU ว่าพัฒนาการอยู่ที่จุดใดแล้ว มีประเด็นใดที่ติดขัดบ้าง และสามารถจบได้ภายในสิ้นปีนี้ตามคาดหรือไม่

(2) พัฒนาการเจรจาการค้ายุโรป-สหรัฐ ว่าจะจบที่อัตราภาษีเท่าไร รวมถึงยุโรปจะนำประเด็นเรื่องการที่ผู้ประกอบการสหรัฐฯ ผูกขาดเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่

และ (3) ประเด็นเจรจาการค้าไทย-สหรัฐฯ ซึ่งทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับทิศทางเศรษฐกิจการค้า-การลงทุนของไทยในอนาคต ท่ามกลางโลกที่เต็มไปด้วยความผันผวนและความไม่แน่นอนในยุคทรัมป์ 2.0

ภาพ: Getty Images / Shutterstock

อ้างอิง:

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

แพทองธารมั่นใจเอกภาพพรรคร่วม ยันเจตนาบริสุทธิ์-มีหวังกลับมารับใช้ประชาชน-สถาบัน ด้านทักษิณมั่นใจเลือกตั้งครั้งหน้าจับมือพรรคเดิม

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กัมพูชา ขอโทษแล้วหลังใช้โลโก้ ซีเกมส์ 2025 ผิดพลาด

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

โคคา-โคล่า เตรียมเปิดตัวเครื่องดื่มใหม่ใช้น้ำตาลอ้อย ตามการผลักดันของทรัมป์

JS100

อุบัติเหตุรถพ่วงชนรถตู้รับส่งนักเรียน มีผู้บาดเจ็บหลายราย จ.นครศรีธรรมราช

สวพ.FM91

ทลายเครือข่ายค้ายา ไอ้มุ้ย มือบงการอุ้มฆ่าดีเจเตเต้ ยึดทรัพย์ 408 ล้านบาท

Khaosod

รถนั่งส่วนบุคคลชนกับรถบรรทุกน้ำ ถนนบรมราชชนนี ก่อนถึงต่างระดับฉิมพลี อาสากู้ภัยเร่งนำผู้บาดเจ็บส่ง รพ.

สวพ.FM91

หลายเมืองในฝรั่งเศสประกาศเคอร์ฟิวสำหรับเด็กๆ ป้องกันความรุนแรงจากยาเสพติด

JS100

อเมริกาอ้างเน้นคุณภาพ-ไม่รีบปิดดีลการค้า ถึงแม้ใกล้เส้นตาย1ส.ค.แต่เจรจาหลายปท.ไม่คืบ

Manager Online

สภาพอากาศวันนี้ -28 ก.ค.ไทยฝนตกหนักหลายพื้นที่ ลมแรง คลื่นสูง

ฐานเศรษฐกิจ

ประท้วง! นักเรียนเรียกร้องความยุติธรรม หลังเครื่องบินฝึกกองทัพบังกลาเทศตกใส่โรงเรียน ตายอย่างน้อย31คน ส่วนใหญ่เป็น นร.

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

สามกระทิงกับสิงโต ในตลาดการเงินครึ่งปีหลัง

THE STANDARD

ผู้นำฟิลิปปินส์บินตรงวอชิงตัน จ่อพบทรัมป์วันนี้ หารือดีลลดภาษี

THE STANDARD

บลจ. อีสท์สปริง จับตา 2 ปมร้อน ภาษีทรัมป์-การเมือง ตัวแปรชี้ชะตาเศรษฐกิจ – ตลาดหุ้นไทยปี 2568

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...