โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

จับมือสู้ปลาหมอคางดำบทเรียนสัตว์ต่างถิ่นบนความร่วมมือทุกส่วน

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

การเสวนาเรื่องทางออกที่ยั่งยืนในการแก้ปัญหา “ปลาหมอคางดำ” มีอธิบดีกรมประมงและนักวิจัยของกรม รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านร่วมเวที นับเป็นอีกเวทีคุณภาพที่มุ่งถอดบทเรียนและแก้ปัญหานี้เพื่อประโยชน์ในอนาคตได้อย่างเป็นระบบ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การได้เห็นภาพรวมของมาตรการต่างๆ ที่กรมประมงมุ่งมั่นแก้ปัญหา ตลอดจนความมั่นใจของอธิบดีบัญชา สุขแก้ว ที่บอกว่า “ผมมั่นใจว่าปัญหานี้จะแก้ไขได้แน่นอน บนความร่วมมือของทุกภาคส่วน”

มาตรการคุมปลาหมอคางดำเห็นผล

สถานการณ์การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำจากเดิมพบการระบาดใน 19 จังหวัด ขณะนี้ลดลงมาเหลือ 17 จังหวัด โดยไม่มีพื้นที่ใดเลยที่จัดเป็นพื้นที่สีแดง (ชุกชุมมาก- 100 ตัว/100 ตรม.) ขณะที่มี 11 จังหวัด อยู่ในเกณฑ์ชุกชุมปานกลาง (10-100 ตัว/100 ตรม.) และ อีก 6 จังหวัดอยู่ในเกณฑ์ชุกชุมน้อย (น้อยกว่า 10 ตัว/100 ตรม.)

เป็นผลจากมาตรการต่าง ๆ ที่เข้มข้น ทั้งการเฝ้าระวังพื้นที่กันชนเช่น อ่าวคุ้งกระเบน และ จ.ตราด รวมถึงพื้นที่รอยต่อ เช่น สงขลา-ปัตตานี อย่างเข้มแข็ง โดยตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นมา สามารถกำจัดปลาหมอคางดำได้แล้ว 6.5 ล้านกิโลกรัม

ความเคลื่อนไหวอีกด้านของกรมประมงคือ การปรับปรุงกฎหมายประมง มาตรา 144 ที่ห้ามนำเข้า ห้ามเลี้ยง ซึ่งมีโทษหนักคือจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยเพิ่มข้อความให้ครอบคลุมการนำปลาไปปล่อย หรือปล่อยให้หลุดรอดด้วย โดยให้ผู้ทำหลุดรอด ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่รัฐใช้ไปทั้งหมด ดังนั้น ในอนาคตผู้ใดก่อปัญหา ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐเองหรือเอกชนก็ต้องรับผิดชอบ ซึ่งในอดีตไม่เคยมีกฎหมายข้อนี้

ทช.เตือนป้องกันสำคัญกว่าแก้ไข

ด้าน นายอุกกฤต สตภูมินทร์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เล่าถึงความสำคัญ ปัญหาและผลกระทบของ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น และชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (ชนิดพันธุ์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตซึ่งมีทั้งพืชและสัตว์) อาทิ ปลาซักเกอร์ ปลานิล ปลาหมอเทศ หอยทากยักษ์แอฟริกา หอยเชอรี่ และระบุว่า มาตรการป้องกันสำคัญกว่าการแก้ไข แต่ผู้คนยังไม่ตระหนักรู้

แม้ทุกวันนี้จะมีคณะกรรมการด้านการขอนำเข้า แต่ก็ต้องยอมรับว่า พวกที่ลักลอบนำเข้ายังมีอยู่ ยังตามไล่ล่ากันไม่ได้ อีกทั้งโอกาสที่จะหลุดรอดจากน้ำท่วม จากสึนามิ ไทยเรามีระบบรองรับและป้องกันหรือยัง เรียกได้ว่า ยังมีจุดอ่อนหลายด้านที่ต้องเข้าไปจัดการ

สำหรับผลการสำรวจในระบบนิเวศหญ้าทะเล พบว่า ปลาหมอคางดำไม่ทำร้ายหญ้าทะเล แต่กินแพลงตอนพืช สัตว์ หอย ปลา ซึ่งไม่ได้บ่งชี้ว่าเป็นสัตว์รุกรานรุนแรง เพียงแต่เป็นปลาที่ปรับตัวในการกินอาหารได้หลากหลายมาก
โดยบทสรุปของ ทช. ระบุว่า

1.ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าปลาหมอคางดำจะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ

2.ไม่มีแนวโน้มที่แน่นอนว่าปลาหมอคางดำจะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพรวมทั้งความชุกชุมของสัตว์น้ำ

และ 3.ในปัจจุบันยังคงมีสัตว์น้ำลำดับสูงในห่วงโซ่อาหารและมีชนิดที่ทดแทนกัน นอกจากนี้ ทช.ยังสนับสนุนเทคนิค E- DNA ที่จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายในอนาคต และช่วยวิเคราะห์แหล่งอาหารได้

ปลากะพงคือผู้ล่าตามธรรมชาติ

ขณะที่ น.ส.ทิวารัตน์ เถลิงเกียรติลีลา ผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพด้านการประมงน้ำจืด ได้ยืนยันลักษณะทางชีววิทยาและพฤติกรรมของปลาหมอคางดำว่า ปลาจะกินพืชมากสุดถึง 94% และจากการศึกษาคุณภาพน้ำ และสารอินทรีย์ พบว่า ปลาชนิดนี้จะชุกชุมในน้ำกร่อย ที่มีระดับความเค็มที่ 5-15 ppt และยังชอบบริเวณที่มีปริมาณสารอินทรีย์สูง

เช่น แถบน้ำทิ้งของฟาร์ม ร้านอาหาร ท่าเรือ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เห็นภาพการรวมฝูงกันหนาแน่นในบริเวณดังกล่าว ขณะที่บริเวณอื่นๆ ของแม่น้ำหรือลำคลองปริมาณจะเบาบางกว่า เป็นเหตุผลว่าเวลามีการนำเสนอข้อมูลของกรมประมงกับภาพถ่ายตามสื่อโซเชี่ยล จึงไม่ตรงกัน

นอกจากนี้ ได้อธิบายถึงการวิจัยเครื่องมือจับปลาที่ใช้ในการควบคุมประชากรปลาให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่ กับมาตรการการใช้ปลาผู้ล่า โดยปลากะพงขนาด 5 นิ้ว จะกินปลาหมอคางดำขนาด 2 ซม.ได้ 12 ตัว/วัน นับว่าปลากะพงเป็นปลานักล่าที่เหมาะสม สำหรับการวิจัยเรื่องการเหนี่ยวนำโครโมโซม 4n กรมก็ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อการควบคุมประชากรปลาในระยะยาวต่อไป

แปรรูปเป็นอาหาร-ไม่เน้นชดเชย

ดร.วรัณทัต ดุลยพฤกษ์ อาจารย์คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญการประเมินผลกระทบทางน้ำ กล่าวว่า ประเทศต้นทางของปลาหมอคางดำ คือ กานาและ กัวดิวัวร์ ทั้งสองประเทศยังไม่ overfishing และจับไม่ถึงครึ่งที่จับได้ในไทย แต่จุดอ่อนของปลาชนิดนี้ คือ ไม่เป็นที่นิยม ขณะที่ในประเทศไทยควรช่วยกันแปรรูปเป็นอาหาร

สำหรับกรณีการเรียกร้องค่าชดเชยของผู้ได้รับผลกระทบจะต้องพิจารณาในมุมเศรษฐศาสตร์ ว่าจะชดเชยจากอะไร ชดเชยรายได้ หรือ ชดเชยส่วนต่างรายได้ (กำไร) ซึ่งกรมสรรพากรจะต้องเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบและยืนยันรายได้ด้วย

การถอดบทเรียนครั้งนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อการป้องกันและแก้ปัญหาสัตว์ต่างถิ่นในระยะยาวอย่างรอบด้าน เชื่อว่าราชบัณฑิตสภา ผู้จัดเสวนาในครั้งนี้ จะสามารถรวบรวมและจัดทำเป็นแนวทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนได้ไนไม่ช้า บนความร่วมมือและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมของทุกภาคส่วนเป็นสำคัญ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

'ทักษิณ' มั่นใจพระดีมีอยู่ 99% ขอคนไทยยังคงศรัทธาพระพุทธศาสนา

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เรียกถก ศบ.ทก.ด่วนพรุ่งนี้ รับฟังผลสอบ 'กับระเบิด'ของ ทภ. 2

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่นๆ

ชื่นชมตำรวจน้ำใจงาม! ควักกระเป๋าช่วยผัวเมียถูกนายจ้างเบี้ยว

ข่าวเวิร์คพอยท์ 23
วิดีโอ

กัมพูชาละเมิดอนุสัญญาออตตาวา พบหลักฐานชัดเจน ทุ่นระเบิดที่ช่องบก | ข่าวภาคค่ำ

Ch7HD News - ข่าวช่อง7
วิดีโอ

แจง พระชั้นผู้ใหญ่ใน กทม.ไม่เกี่ยวคดีทุจริต พัวพันเรื่องเงินบริจาคและสีกา | ข่าวภาคค่ำ

Ch7HD News - ข่าวช่อง7
วิดีโอ

ลูกหนี้ กยศ.ร้อง ถูกหักเงิน ทั้งที่จ่ายครบแล้ว หวั่นถูกปรับ เสียเครดิต | ข่าวภาคค่ำ

Ch7HD News - ข่าวช่อง7

แม่ทัพภาคที่2 ชวนพี่น้องคนไทยทุกคน ร่วมกันร้องเพลงชาติให้ดังกึกก้อง

THE ROOM 44 CHANNEL
วิดีโอ

แม่ทัพภาคที่2 ชวนพี่น้องคนไทยทุกคน ร่วมกันร้องเพลงชาติให้ดังกึกก้อง

THE ROOM 44 CHANNEL

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...