โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

ชีวิตติด TECH – AI กับการยกระดับกฎหมายไทย

เดลินิวส์

อัพเดต 12 กรกฎาคม 2568 เวลา 19.01 น. • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
โลกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความก้าวหน้า ได้ถูกนำมายกระดับในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะเทคโนโลยีปัญญาประดิษ

โลกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความก้าวหน้า ได้ถูกนำมายกระดับในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI

แต่หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ว่าในเรื่องของกฏหมาย ก็สามารถนำ AI มาช่วยในการเข้าถึง และ ยกระดับระบบกฎหมายของประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยเฉพาะ ก้าวเข้าสู่การเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD ชองไทย

วันนี้ คอลัมน์ “ชีวิตติด TECH” มีเรื่องนี้มาบอกเล่า เมื่อทาง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ในฐานะหน่วยงานที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลไทย เดินหน้าขับเคลื่อนการเข้าถึงข้อมูลกฎหมายด้วยเทคโนโลยีคลาวด์และ AI โดยจับมือกับไมโครซอฟท์ ยักษ์ไอทีระดับโลก

โดยทาง สคก. ซึ่งมีหน้าที่ดูแลโครงสร้างกฎหมายของประเทศมากว่าศตวรรษ กำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการยกระดับการยกร่าง ปรับปรุง และเข้าถึงกฎหมาย เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับประเทศไทยบนเวทีโลก

“ปกรณ์ นิลประพันธ์” เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา บอกว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี แต่คือเรื่องของคน และการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้บริการประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการร่วมมือกับไมโครซอฟท์ สคก. ได้นำศักยภาพของคลาวด์และ AI ในใช้ในการบริหารจัดการเอกสารกฎหมายจำนวนมหาศาล ลดความซับซ้อนของการเปรียบเทียบกฎหมาย เพื่อเร่งผลักดันเป้าหมายของไทยในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OECD ให้เป็นรูปธรรม

“ระบบกฎหมายไทยในปัจจุบันเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก จากจำนวนกฎหมายที่มีอยู่มากกว่า 70,000 ฉบับ ซึ่งรวมถึงพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง พระราชกฤษฎีกา ประกาศ และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ทำให้เกิดความซับซ้อนทั้งในเชิงโครงสร้างและเนื้อหา เอกสารทางกฎหมายเหล่านี้มีจำนวนมากและมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างยิ่ง กฎหมายแต่ละฉบับอาจมีผลต่อหรือถูกจำกัดโดยกฎหมายอื่น ๆ อีก และทุกฉบับต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ รวมถึงมาตรฐานสากล การดูแลให้ทุกอย่างเชื่อมโยงและสอดคล้องกันจึงเป็นภารกิจที่สำคัญมาก” ปกรณ์ นิลประพันธ์ ระบุ

อย่างไรก็ตามในอดีต ทางบุคลากรของสคก. ต้องอาศัยเอกสารฉบับพิมพ์และองค์ความรู้ภายในองค์กรเป็นหลัก แม้จะมีการพัฒนาฐานข้อมูลกฎหมายมาตั้งแต่ปี 2537 แต่ยังคงมีข้อจำกัดด้านการสืบค้น การจัดโครงสร้าง และการเข้าถึงข้อมูล

การแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วย โดยการนำ ระบบ “TH2OECD “ มาพลิกโฉมการเปรียบเทียบกฎหมายด้วย AI โดยทาง สคก.พัฒนาร่วมกับ STelligence พันธมิตรของไมโครซอฟท์ โดยระบบ AI นี้สร้างบนแพลตฟอร์ม Microsoft Azure OpenAI ซึ่งสามารถวิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายไทยกว่า 70,000 ฉบับ กับข้อกำหนดของ OECD กว่า 270 ฉบับ ได้แบบเรียลไทม์ ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ

โดยที่ผ่านมาเรื่องภาษา ถือเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญของการทำให้กฎหมายไทยสอดคล้องกับมาตรฐานสากล แต่ ด้วยเครื่องมือแปลภาษาและเปรียบเทียบที่ขับเคลื่อนด้วย AI ช่วยสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้นได้ สำหรับขั้นตอนใช้งานนั้นระบบ AI ที่พัฒนาขึ้น จะช่วยแปลกฎหมายไทยเป็นภาษาอังกฤษ และแปลข้อกำหนดของ OECD เป็นภาษาไทยโดยอัตโนมัติ

จากนั้นใช้เทคโนโลยีประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) เพื่อเปรียบเทียบและไฮไลต์ความแตกต่าง ทำให้เจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายสามารถประเมินความสอดคล้อง และแนะนำแนวทางปรับปรุงได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

สำหรับระบบทั้งหมดจะทำงานบน Microsoft Azure ซึ่งทำให้ สคก. สามารถเปลี่ยนจากการเก็บข้อมูลกฎหมายในรูปแบบ PDF ที่ไม่สามารถสืบค้นได้ ไปสู่การจัดเก็บในรูปแบบที่เป็นโครงสร้าง พร้อมค้นหาได้ทันที นอกจากนี้ Microsoft 365 และ Copilot ยังช่วยให้ทีมงานสามารถทำงานร่วมกัน ในการอัปเดตเอกสาร และวิเคราะห์เชิงนโยบายได้จากทุกที่ทั่วประเทศ

“การปรับปรุงระบบกฎหมายของไทยไม่ใช่เพียงการปฏิรูประดับชาติ แต่ยังเป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็นสมาชิก OECD ซึ่งจะเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้ประเทศไทยในด้านการค้า การลงทุน และความร่วมมือระดับโลกด้วย ซึ่งการเป็นสมาชิก OECD ไม่ใช่เพียงการได้เครื่องหมายรับรอง แต่เป็นคำมั่นสัญญาว่าเราจะยึดมั่นในมาตรฐานสากล ความโปร่งใส และขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ปกรณ์ นิลประพันธ์ ระบุ

ขณะที่ “ไมค์ เย” รองประธานภูมิภาคฝ่ายกิจการองค์กรภายนอกและกฎหมาย บอกว่า การนำ AI มาใช้เพื่อปรับกฎหมายไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐาน OECD ในการเปรียบเทียบกฎหมายไทยกว่า 70,000 ฉบับกับเครื่องมือทางกฎหมายของ OECD กว่า 276 รายการภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายประเทศต้องใช้เวลาหลายปีในการดำเนินการ

สุดท้าย “ปกรณ์ นิลประพันธ์” บอกว่า ในอนาคต สคก. มีแผนขยายการใช้งานระบบนี้ไปยังหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ รวมถึงเชื่อมต่อฐานข้อมูลจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ พร้อมพัฒนา ศูนย์รวมข้อมูลกฎหมายส่วนกลาง” ที่ให้ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ โดยมี AI สนับสนุน

ถือเป็นจุดเริ่มต้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อระบบกฎหมาย ช่วยให้ทุกกฎหมายไม่ใช่แค่มีอยู่ในเล่ม แต่สามารถให้ทุกคนเข้าถึงและใช้ปกป้องทุกคนได้จริง.

Cyber Daily

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

KNLA บุกยึดสำเร็จ! ฐานอุเกรทะแตกพ่าย ทหารเมียนมาหนีข้ามฝั่งไทยนับร้อย

34 นาทีที่แล้ว

‘ทิดประดิษฐ์’ ส่งมอบเอกสารสำคัญคืนวัด ลั่นออกมาเกือบจะตัวเปล่า ป้องคนว่า ‘หอบเงินหนี’

35 นาทีที่แล้ว

ราชดำเนินระอุ! “ขุนศึกเล็ก” ล็อกเป้ากระชากแชมป์ 122 ปอนด์ จาก “เพชรสมาน”

35 นาทีที่แล้ว

เวียดนามสั่งจำคุกอดีตเจ้าหน้าที่รัฐ 30 คน ในคดีทุจริตมูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาท

35 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอทีอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...