โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

แนะไทยหาจังหวะปรับโครงสร้าง หนุนแข่งขันได้ หวั่นเยียวยาให้เงินไม่ยั่งยืน

เดลินิวส์

อัพเดต 14 กรกฎาคม 2568 เวลา 22.05 น. • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
นักเศรษฐศาสตร์ แนะไทยหาจังหวะปรับโครงสร้าง แข่งขันได้ หวั่นเยียวยาให้เงินไม่ยั่งยืน ต้องช่วยให้ยืนด้วยตัวเอง

วันที่ 14 ก.ค. นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ประเทศไทยต้องหาจังหวะปรับโครงสร้างประเทศ เนื่องจากเครื่องยนต์เศรษฐกิจในเวลานี้มีปัญหาทั้งภาคการท่องเที่ยวและภาคการส่งออก ในขณะที่ความช่วยเหลือออกเงินให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟต์โลน เป็นเรื่องที่น่ากังวลว่าจะมีความยั่งยืนหรือไม่ เพราะเห็นจากในต่างประเทศ เช่น สหรัฐออกซอฟต์โลน 500 ล้านดอลลาร์ แต่ไม่ถึงระยะเวลา 5 ปี ไม่สามารถดำเนินต่อไป ซึ่งมองว่าหากช่วยเหลือแล้ว ในหลายบริษัทอาจไม่แข่งขันได้จริง หรือจะต้องช่วยต่อไปอีกนานเท่าใด

“ประเทศไทยแตกต่าวจากประเทศจีน เนื่องจากที่จีนจะให้บริษัทจีนแข่งขันกันเอง โดยแนะรัฐบาลช่วยอุตสาหกรรมยั่งยืน และแข่งขันได้ ไม่ใช่ช่วยภาคเกษตรไปเรื่อยๆ เหมือนน้ำซึมบ่อทรายไปเรื่อยๆ เพราะเกษตรกรจะยากจน ไม่ออกจากกับดักรายได้ปานกลาง”

นายบุรินทร์ กล่าวว่า ตอนนี้ไทยเสียเปรียบด้านการลงทุน ในส่วนของอัตราภาษีสู้กับประเทศคู่ค้าคู่แข่งไม่ได้ ทำให้ระยะกลางและระยะยาว จะเกิดความไม่มั่นใจทำให้การลงทุนชะงัก โดยไทยต้องปฏิรูปเกษตร และต้องลดพิธีการศุลกากรยุ่งยาก ซ้ำซ้อน ส่งผลให้เกิดคอร์รัปชั่น ขณะเดียวกันหากภาครัฐจะช่วยเหลืออาจมีระยะเวลา เช่น หลังจาก 5 ปีจะต้องยืนด้วยตัวเองให้ได้ แม้จะมีปัจจัยทางการเมืองเข้ามาทำให้ยากก็ตาม

นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่า ขณะนี้ไทยกำลังเจอศึกหนัก เพราะสหรัฐต้องการให้ไทยเปิดอุตสาหกรรมในประเทศไม่ใช่แค่เรื่องภาษี และยังรวมถึงพิธีการต่างๆ พร้อมต้องการให้เข้ามาลงทุนในสหรัฐ ซึ่งสหรัฐเป็นตลาดส่งออกใหญ่สุดของไทย ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ยาง จิวเวลรี่ เป็นต้น

นอกจากนี้ สหรัฐกำลังต้องการให้ไทยเลือกข้างว่าจะอยู่กับสหรัฐหรือกับจีน ทำให้เป็นเรื่องความท้าทาย นอกจากผลกระทบทางเศรษฐกิจเล็กน้อย แต่จะกลายเป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศ ขณะที่ไทยจะต้องคิดว่าทำอย่างไร ใช้เป็นโอกาสเปิดเสรีภาคเกษตร เปิดเสรีภาคบริการ อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อลดผลกระทบ และบรรเทาหรือชดเชยผลกระทบ แต่ถ้าไทยไม่สามารถลดภาษีลงมาได้ จะกระทบกับความสามารถทางการแข่งขันได้

“ไทยต้องกลับมาเพิ่มทักษะของคน ใช้เทคโนโลยีอย่างไร และต้องเพิ่มมูลค่าการผลิต เช่น สิงคโปร์ เกือบทุกคนเป็นภาคบริการใหม่ๆ และแข่งขันกับต่างประเทศได้”

นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ นายกสมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์และอุปนายกสมาคมเซมิคอนดักเตอร์ไทย กล่าวว่า คำว่าเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสเป็นเรื่องสำคัญ เห็นด้วยที่ในระยะสั้นรัฐบาลต้องดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบ แต่ระยะยาวอย่าทิ้งจุดยืนของประเทศ เชื่อว่าจุดยืนของประเทศวันนี้ที่ขาดไม่ได้คือเทคโนโลยี จากข้อมูลของบีโอไอ มีผู้ที่ขอรับการส่งเสริมเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกำลังติดตามว่าจะสามารถขับเคลื่อนได้หรือไม่ หากทำไม่ได้จะเกิดผลกระทบระยะยาวกับประเทศไทยจะสูงมาก และเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือการพัฒนาคนที่ยังทำได้ไม่ดี

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

‘กฎหมายทำอะไรXไม่ได้’ ลูกผู้ใหญ่บ้านกร่าง หัวโจกแว้นป่วนเมืองจนชาวบ้านต้องย้ายหนี

29 นาทีที่แล้ว

15 ก.ค.นี้เขตพระนครปิดจุดแจกอาหาร ‘ตรอกสาเก’ ย้ายไป ‘บ้านอิ่มใจ’

41 นาทีที่แล้ว

‘ธัญญ่า อาร์สยาม’ โบกมือลาบ้านเก่า สิ้นสุดสัญญา 10 ปี เตรียมโบยบินอิสระ ยันไม่ทิ้งนามสกุล!

41 นาทีที่แล้ว

แก๊งมาเฟียชาวจีนสุดโหด อุ้มฆ่านักธุรกิจเพื่อนร่วมชาติ

45 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

เงินบาทไทยพุ่ง แข็งค่าจัดใน 28 ปี ย้อนวิกฤตต้มยำกุ้ง | คุยกับบัญชา | 11 ก.ค. 68

BTimes

YLG เผยครึ่งปีแรก 68 ทองคำพุ่ง 25%

Wealth Me Up

15 ก.ค.ลุ้นชื่อผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ จับตา "วิทัย" ตัวเต็ง

Thai PBS

SC โชว์ยอดบ้านหรูไตรมาส 2 โตแรง 118%

เดลินิวส์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยเงินบาทปิดตลาดที่ 32.40-แข็งค่าสอดคล้องฟันด์โฟลว์-ราคาทองคำ

Manager Online

กรุงศรี ออโต้ โบรคเกอร์ รุกกลยุทธ์ Convergence of Choices

Khaosod

GFT 2025 งานรวมนวัตกรรมเครื่องปัก-เย็บ-พิมพ์ AI ยกระดับอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ฐานเศรษฐกิจ

ค่าเงินบาทปิดตลาดวันที่ 14ก.ค.ที่ระดับ 32.40 บาทต่อดอลลาร์

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...