สุพรรณบุรี เปิดกิจกรรมเผยแพร่ผลสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารชุมชน
สุพรรณบุรี เปิดกิจกรรมเผยแพร่ผลสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารชุมชน
นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เป็นประธานเปิดกิจกรรมเผยแพร่ผลสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้กิจกรรมยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารชุมชน โดยการใช้เทคโนโลยี เครื่องจักร นวัตกรรมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ประจำถิ่น (ภาคกลางและภาคตะวันตก) โครงการยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และมอบโล่รางวัลแก่สถานประกอบการที่ประสบความสำเร็จ และมอบใบประกาศเกียรติคุณแก่สถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม ณ โรงแรมสองพันบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
โดยมีนายมานะ พุทธิโชติ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน กล่าวรายงาน เพื่อเป็นการมุ่งส่งเสริมวิสาหกิจให้เกิดการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการแปรรูปวัตถุดิบสู่ผลิตภัณฑ์อาหารมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนส่งเสริมให้เกิด Soft Power ด้านอาหาร เช่น การสร้างอัตลักษณ์ให้แก่ผลิตภัณฑ์อาหาร การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การตลาด เช่น การตลาดเนื้อหา (Content Marketing)
ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับวิลาหกิจชุมชน ซึ่ง ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ได้จัดจ้าง บริษัท โพรแอค เน็ตเวิร์ค จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ ให้คำแนะนำผู้ประกอบการ SMES , วิสาหกิจชุมชน / OTOP และผู้ประกอบการชุมชนในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก จำนวน 10 ราย รายละ 12 Man/day เป้าหมายผลผลิต 10 ผลิตภัณฑ์
บัดนี้ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 จึงได้ร่วมกับ บริษัท โพรแอค เน็ตเวิร์ค จำกัด จัดกิจกรรมเผยแพร่ผลสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้กลุ่มเป้าหมายนำผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนามาเผยแพร่ผลสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งทดสอบตลาดเพื่อทดลองจำหน่าย และรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริโภคเพื่อนำไปปรับปรุงสินค้าให้ตอบสนองและตรงกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างโอกาสในการขยายช่องทางตลาด ทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ นำไปสู่การเชื่อมโยงเครือข่ายทางการค้า สามารถสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจระดับชุมชน พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนเกิดการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อไปได้
ซึ่งมีพิธีมอบโล่รางวัลแก่สถานประกอบการที่ประสบความสำเสร็จ และมอบใบประกาศเกียรติคุณแก่สถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมด้วยการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วยผู้ประกอบการ SMEs , วิสาหกิจชุมชน / OTOP และผู้ประกอบการชุมชนในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก ประกอบด้วย 1.บริษัท เพิ่มทรัพย์บุญทวี จำกัด จ.ประจวบคีรีขันธ์ 2. วิสาหกิจชุมชนกลุ่ม 100 พันมะพร้าวไทย จ.ประจวบคีรีขันธ์ 3. ยั่ว ยั่ว น้ำปลาหวาน จ.นครปฐม 4. วิสาหกิจชุมชนพัฒนาอาชีพพลูฟ้า จ.นครปฐม 5. กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปเนียนน่า จ.กาญจนบุรี 6. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรแปรรูปบ้านหมอสอ จ.กาญจนบุรี 7. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรสร้างสรรค์รักษ์จอมบึง จ.ราชบุรี 8. บริษัท ลอดช่องสยาม จำกัด จ.สมุทรสาคร 9. วิสาหกิจชุมชนปลาสลิดแดดเดียว น้าสมหมาย จ.สุพรรณบุรี 10.ห้างหุ้นส่วนจำกัดใต้ร่มบุญ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปเนียนน่า จ.กาญจนบุรี ผลิตจมูกข้าวผสม กล้อยหอมทองอบกรอบ ผ่านการคัดเลือก ได้รับโล่รางวัล โดยมีคุณรัตญาพร บ่อนิล รับโล่รางวัล จากนางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8
ด้านนางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เปิดเผยว่าในกิจกรรมเผยแพร่ผลสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้กิจกรรมยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนโดยการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักร นวัตกรรมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ประจำถิ่น (ภาคกลางและภาคตะวันตก) โครงการยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จัดโดย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการจัดกิจกรรมนับเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ที่ช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารชุมชน โดยส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต การแปรรูป และการบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนที่สอดดคล้องกับอัตลักษณ์ประจำถิ่น มีความน่าสนใจ เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ตลอดจนยกระดับคุณภาพและศักยภาพการผลิตให้สูงขึ้นสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร และสร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจชุมชนและ OTOP ในการแข่งขันด้านการตลาดภายใต้นโยบาย Soft Power ตามนโยบายของภาครัฐ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นโอกาสที่จะเกิดยอดขายเพิ่มขึ้น และเกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ ซึ่งต้องชื่นชมต่อคณะผู้จัดงานทุกฝ่ายที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ โครงการดี ๆ เช่นนี้ และขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการทุกท่านที่ได้รับโอกาสสำคัญในการเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และเครือข่ายความร่วมมือ ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของท่าน ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา นำผลิตภัณฑ์ตัวอย่างมาจัดแสดง ได้รับการตอบรับจากผู้เข้าชมงาน นำไปสู่การตลาดเชิงพาณิชย์ และให้ผู้ประกอบการทุกท่านได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาธุรกิจของตนเองต่อไป