โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

ปตท.หนุนใช้ก๊าซฯคู่ลดปล่อยคาร์บอน สู้กีดกันทางการค้า-ภาษี

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยในงานสัมมนา iBusiness Forum Decode 2025: The Mid-Year Signal ถอดสัญญาณเศรษฐกิจโลก พลิกอนาคตเศรษฐกิจไทย ว่า ทิศทางพลังงานโลก ขณะนี้มีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งระยะสั้นและระยะยาวส่งผลกระทบต่อราคาและความมั่นคงด้านพลังงาน โดยปัจจัยระยะสั้น ได้แก่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitic) ความผันผวนทางเศรษฐกิจและแรงกดดันจากเงินเฟ้อ นโยบายและกฎระเบียบที่ไม่แน่นอน และการขยายตัวทางดิจิทัล ส่วนปัจจัยระยะยาวได้แก่ การลดคาร์บอนเป็นความท้าทายหลัก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์( Net Zero),เทคโนโลยีลดคาร์บอน ฯลฯ

ดังนั้นการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดนั้นทิศทางพลังงานจะต้องสมดุลกัน (balance)ใน3 เรื่อง คือ ความมั่นคงพลังงาน ความยั่งยืน และพลังงานมีใช้ในราคาที่เหมาะสม

“ทิศทางวันนี้ มีความไม่แน่นอนสูง สหรัฐฯถอยเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือNet Zero ซึ่งปตท. ได้ติดตามและพูดคุยกับบริษัทพลังงานระดับโลก ทุกคนเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าจะต้องมุ่งสู่ Net Zero แม้ว่าจะขรุขระบ้าง แต่ช้าเร็วก็ต้องทำ ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา ไม่ค่อยมีการพูดถึงความมั่นคงด้านพลังงาน แต่ทุกวันนี้ความไม่แน่นอนมีสูงมากทั้งปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ ปตท.ให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานและความยั่งยืน ควบคู่กับการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก”

ปตท.หนุนใช้ก๊าซฯคู่ลดปล่อยคาร์บอน สู้กีดกันทางการค้า-ภาษี

สำหรับการใช้พลังงานของโลกในปี2566-จนถึงปี 2593 มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าการใช้พลังงานหมุนเวียนจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น แต่ไม่ถึง 20% เนื่องจากยังมีข้อจำกัดเรื่องเสถียรภาพและราคา ดังนั้นก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สะอาด จึงมีความสำคัญอยู่โดยมีสัดส่วนการใช้เพิ่มขึ้นจาก 24%ในปี 2566 เป็น 26% ปี 2593 ส่วนน้ำมันมีการใช้ลดลงจาก 31% เหลือ 28% แต่ถ่านหินการใช้ลดงจาก 25% เหลือเพียง 13%

โดยไทยและในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เห็นพ้องตรงกันว่าใน 20-30 ปีข้างหน้า ก๊าซฯจะยังเป็นเชื้อเพลิงหลักของโลก ซึ่งประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถผลิตก๊าซฯได้เองไม่ว่าจะเป็นไทย ,เมียนมาร์ ,มาเลเซีย ,อินโดนีเซีย ซึ่งตอบโจทย์ความมั่นคงทางพลังงาน แต่ไทยแม้ว่าจะผลิตก๊าซฯเอง แต่ไม่เพียงพอใช้ในประเทศจึงต้องใช้รูปแบบของก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG ) ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางพลังงานโลก ฉะนั้นความมั่นคงทางพลังงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเน้นการใช้ก๊าซฯเป็นพลังงานหลักควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก

ส่วนแนวทางการลดการปล่อยคาร์บอนมีทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน,การใช้พลังงานสะอาด, ,การปลูกป่า และการใช้กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ รวมถึงการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage :CCS)

โดยใน 5 ปีข้างหน้า คาดว่าโครงการCCS จะเพิ่มขึ้น 500 โครงการ ปัจจุบันในสหรัฐฯมีโครงการCCSมากถึง 100โครง รวมถึงการพัฒนาไฮโดรเจน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดแต่มีต้นทุนสูงอยู่ แต่อนาคตเมื่อต้นทุนไฮโดรเจนถูกลงจะมีการนำมาใช้มากขึ้นทั้งในโรงงานอุตสาหกรรมและผสมในเชื้อเพลิงก๊าซฯในโรงไฟฟ้า

สำหรับทิศทางพลังงานไทย ยังมีทั้งโอกาสและความท้าทาย ขณะที่นโยบายภาครัฐ คือ กระทรวงพลังงาน ก็วางทิศทางส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น แต่ยังต้องใช้เวลาเนื่องจากยังมีข้อจำกัดทั้งความเสถียรในการผลิต และต้นทุนราคาค่าไฟสูงจึงสะท้อนผ่านไปยังอัตราค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น แต่การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นของไทยเป็นเรื่องที่ดี ดังนั้น ก๊าซฯ จึงยังมีบทบาทสำคัญและมีสัดส่วนการใช้ไม่ได้ลดลงในระยะยาว โดยไทยมีการผลิตก๊าซฯในอ่าวไทยคิดเป็นสัดส่วน 50%ของการใช้ นำเข้าจากเมียนมา 15% และนำเข้าLNG ถึง 30% ดังนั้น ภาครัฐควรเร่งส่งเสริมให้เกิดการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งในประเทศเพิ่มขึ้น เพราะมีราคาถูก และช่วยลดความเสี่ยงจากการนำเข้าLNG ในช่วงที่เกิดสงครามจากต่างประเทศที่มีราคาสูง

“เราต้องให้ความสำคัญกับก๊าซฯ เพราะเป็นเชื้อเพลิงที่ไทยผลิตใช้เองส่วนใหญ่ นำเข้าบ้าง ควบคู่ไปกับการลดการเรือนกระจก เพราะถึงจุดหนึ่งการลดการปล่อยคาร์บอนจะถูกนำมาเป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้า และมีการเก็บภาษี”

ดังนั้น ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทย ควรจะต้องส่งเสริมและเร่งการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแหล่งใหม่ๆ ,ปลดล็อกข้อจำกัดด้านกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับไฮโดรเจน และCCS ,การสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการลดระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization)

ปตท.ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ มีบทบาทสำคัญในฐานะรัฐวิสาหกิจที่ดูแลความมั่นคงทางพลังงาน ส่งภาษีและรายได้ให้กับประเทศ อีกด้านก็เป็น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีรายได้และกำไรจากธุรกิจในประเทศเพียง 20% ส่วนใหญ่มีการลงทุนและเติบโตในต่างประเทศ เช่น ปตท.สผ.ซึ่งเป็นบริษัทลูก แม้จะมีการลงทุนผ่านธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (E&P) ในประเทศส่วนหนึ่ง แต่ก็มีการออกไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อทำกำไรและสร้างความมั่นคงทางพลังงานในกับประเทศ

ปัจจุบัน ปตท.มีการดำเนินธุรกิจที่หลักผ่าน E&P ,ธุรกิจก๊าซฯครบวงจรและลงทุนคลังรับ-จ่ายLNG 3 แห่งเพื่อรองรับการนำเข้าLNG ,ธุรกิจเทรดดิ้ง ,ธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่น ,ธุรกิจค่าปลีกน้ำมัน ,ธุรกิจไฟฟ้า และการมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ตลท. ดับร้อน DV8 ขึ้นมาตรการระดับ 2 ซื้อขายต้องใช้ Cash Balance-Auction

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ฮุนได เปิดตัว All-new Hyundai SANTA FE ราคาเริ่มต้น 1.599 ล้านบาท

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ลุยลงพื้นที่ เตรียมความพร้อมรับมือฤดูกาลผลิตลำไยภาคเหนือ

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เปิดตัว NEW YAMAHA GRAND FILANO HYBRID 2025 ราคาเริ่มต้น 64,700 บาท

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่นๆ

จตช. ยังตอบไม่ได้ 2 แพทย์ รพ.ตร. ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่

THE ROOM 44 CHANNEL

"เจ้าคุณประสิทธิ์" ยังไม่ลาสิกขา ขอพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ปมโยง "สีกากอล์ฟ"

Thai PBS

"บิ๊กหวาน" ประสานอินเตอร์โพลออกหมายแดง 'ก๊ก อาน' เร่งล่าตัวไส้ศึกคนไทย

THE ROOM 44 CHANNEL

MRT สายสีน้ำเงิน อาณัติสัญญาณขัดข้อง ส่งผลให้บางสถานีมีความล่าช้าสะสมประมาณ 10 นาที โปรดเผื่อเวลาเดินทาง

สวพ.FM91

เช็กรายชื่อพระสงฆ์ 81 รูป ยกเลิกสถาปนา-ตั้งสมณศักดิ์

Thai PBS

ลุยลงพื้นที่ เตรียมความพร้อมรับมือฤดูกาลผลิตลำไยภาคเหนือ

ฐานเศรษฐกิจ
วิดีโอ

เหลืออด! "แพรรี่" ขอฝากตรงๆ ถึง "ลูกศิษย์" ปิดบังความผิด "พระผู้ใหญ่" หลังแห่ลาสิกขา!

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

เส้นทางการเงิน สีกากอล์ฟ รวย 385 ล้าน เหลือติดบัญชี 8,000 บาท

สยามนิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...