โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ตีแผ่!! พฤติกรรมการเงิน ของคนรุ่นใหม่ วิธีบริหารเงิน ให้สมดุล ‘เหตุผล-อารมณ์’

THE STATES TIMES

อัพเดต 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Hard News Team

(20 ก.ค. 68) ในยุคที่ความรวดเร็วคือความเคยชินโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับบริบททางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่แตกต่างจากยุคก่อนหน้าอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นค่าครองชีพที่สูงขึ้น ความไม่แน่นอนของอาชีพในโลกยุค AI หรืออิทธิพลของโซเชียลมีเดียที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคแบบทันทีทันใด จากรายงานของ Bank of America ในปี 2024 ระบุว่า Gen Z มียอดใช้จ่ายเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับยอดเงินออมเฉลี่ย ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายในการบริหารการเงินที่ต้องเผชิญกับแรงจูงใจจากทั้งเหตุผลและอารมณ์อยู่ตลอดเวลา เคทีซีจึงได้รวบรวม 5 วิธีการบริหารเงินสำหรับคนรุ่นใหม่ ให้ตอบโจทย์ทั้งความต้องการในปัจจุบันและเป้าหมายในอนาคตได้อย่างสมดุล

1.กำหนดงบประมาณอย่างมีขอบเขต
แม้การใช้เงินเพื่อเยียวยาความรู้สึกในวันที่เหนื่อยล้าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่การปล่อยให้การใช้จ่ายถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์โดยไม่มีการวางแผนอาจนำไปสู่ปัญหาการเงินในระยะยาว การตั้งวงเงินสำหรับค่าใช้จ่ายหมวดตามใจที่ชัดเจน จะช่วยควบคุมการตัดสินใจไม่ให้ส่งผลต่อภาพรวมทางการเงินได้ เช่น กำหนดว่าในแต่ละเดือนจะใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง อาหารนอกบ้าน หรือไลฟ์สไตล์ไม่เกิน 10–15% ของรายได้ นอกจากนี้ ควรแยกบัญชีเงินใช้กับเงินเก็บออกจากกันเพื่อป้องกันการใช้เกินแผนโดยไม่รู้ตัว

2.ใช้เครื่องมือให้เห็นภาพรวมการใช้จ่าย
การบริหารเงินอย่างมีเหตุผล เริ่มต้นจากการรู้จักตัวเองผ่านพฤติกรรมการใช้จ่ายจริง การมีตัวช่วยที่ทำให้ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลค่าใช้จ่ายแบบเรียลไทม์ โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เช่น อาหาร ท่องเที่ยว หรือผ่อนสินค้า จะทำให้ทราบว่าตนเองใช้อะไรมากเกินไปและวางแผนล่วงหน้าได้อย่างมีระบบ นอกจากนี้ยังสามารถตั้งเป้าหมายทางการเงินหรือเตือนเมื่อใช้จ่ายเกินงบ ทำให้ควบคุมอารมณ์ขณะตัดสินใจได้ดีขึ้น

3.ใช้สิทธิประโยชน์ของบัตรเครดิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตไม่ได้ก่อให้เกิดภาระเสมอไปหากใช้อย่างเข้าใจและมีวินัย การใช้สิทธิประโยชน์ เช่น สะสมคะแนน KTC FOREVER เพื่อแลกส่วนลดหรือเครดิตเงินคืนจากร้านค้าที่ร่วมรายการ ถือเป็นการได้เพิ่มจากการใช้จ่ายที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว นอกจากนี้บัตรเครดิตยังมีแผนการผ่อนชำระ 0% ที่ช่วยให้วางแผนรายจ่ายก้อนใหญ่ได้โดยไม่ต้องแบกรับดอกเบี้ยเพื่อความคล่องตัวในการบริหารค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายอย่างชาญฉลาด

4.สร้างระบบการออมแบบอัตโนมัติ
การตั้งระบบโอนเงินอัตโนมัติจากบัญชีรายรับไปยังบัญชีเงินออมทันทีเมื่อเงินเดือนเข้า เป็นวิธีที่ช่วยให้การออมเกิดขึ้นได้จริงโดยไม่ต้องพึ่งพาแรงจูงใจ เช่น โอนเข้าบัญชีเงินฝากประจำ หรือบัญชีเงินเก็บทันทีหลังเงินเดือนเข้า จะช่วยสร้างวินัยโดยไม่ต้องตัดสินใจทุกเดือน และลดความเสี่ยงที่เงินจะหมดก่อนออม นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดเป้าหมายรายเดือน เช่น ออม 20% ของรายได้ หรือตั้งเป้าสำหรับเป้าหมายระยะกลาง เช่น เที่ยวต่างประเทศ ซื้อคอร์สเรียน หรือสร้างกองทุนฉุกเฉิน

5.ให้รางวัลตัวเองอย่างมีหลักการ
การให้รางวัลตนเองไม่ใช่เรื่องผิดเมื่อมาพร้อมกับการกำหนดขอบเขตและเงื่อนไข เช่น หากสามารถออมได้ครบตามเป้าหมายจะซื้อของที่อยากได้ 1 ชิ้น หรือพาตัวเองไปเที่ยวพักผ่อนเล็ก ๆ จะช่วยให้ไม่รู้สึกว่าการบริหารการเงินเป็นเรื่องที่กดดันเกินไป แนวคิดนี้ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทางการเงินที่ยั่งยืน เพราะความรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จและให้รางวัลกับความพยายามจะช่วยให้มีแรงจูงใจในระยะยาวได้

ในโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งเร้าและความเปลี่ยนแปลง คนรุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องเลือกข้างระหว่างการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในปัจจุบัน หรือการวางแผนอนาคตอย่างรอบคอบ หากมีระบบคิดและเครื่องมือที่เหมาะสม การใช้จ่ายอย่างรู้คุณค่าและการออมอย่างมีเป้าหมายสามารถเกิดขึ้นควบคู่กันได้

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE 02 123 5000 หรือติดตามโปรโมชันของเคทีซีได้ที่ https://www.ktc.co.th สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ https://ktc.today/apply-card หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ 

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STATES TIMES

‘อรรถกร’ เดินหน้า!! โครงการสวนยางอารยเกษตร ส่งเสริมใช้ แก๊สเอทธิลีน ตั้งเป้าหมาย!! ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้ชาวสวน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

59 นาทีที่แล้ว

เผย!! บทสนทนา ถาม-ตอบ ‘ชายชุดดำ’ ที่กัมพูชา ‘ฮุนเซน’ ให้อาวุธสงคราม สนับสนุน ให้ก่อความวุ่นวาย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘แมนนี่ ปาเกียว’ ขึ้นสังเวียนเสมอ!! ‘มาริโอ บาร์ริออส’ ทำให้ ‘นักรบแอซแทค’ ป้องกันแชมป์โลก เอาไว้ได้

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ปราสาทตาเมือนธม ใช้อักษร ปัลลวะ ไม่ใช่!! ‘เขมร’ อย่างที่บางคนเข้าใจ

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

สวยใส ไม่ไร้สมอง! รีวิว 'HONOR 400 Pro' มือถือกล้องเทพ จัดเต็ม AI

กรุงเทพธุรกิจ

‘ดีบีเอส วิคเคอร์ส’ มองหุ้นไทย-หุ้นโลก

ข่าวหุ้นธุรกิจ

“กรมอุตุ” เตือนฉบับ 3! พายุ “วิภา” ถล่มไทย ฝนหนักทั่วประเทศ

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ผงะ! งบกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.57 แสนล้าน เปิดทางยื่นประมูลรายเดียว

The Bangkok Insight

TIDLOR กำไรเติบโต คุณภาพสินทรัพย์ดี

ข่าวหุ้นธุรกิจ

“ศาลแพ่ง” สั่งคืนเงิน 11 โบรก 4.5 พันลบ. – ยึดหุ้น MORE เข้ารัฐเหตุครอบครองไม่สุจริต

ข่าวหุ้นธุรกิจ

HL เดินหน้าขยายสาขาร้านขายยาแบรนด์ "ซุปเปอร์ดรัก"แห่งใหม่ ในโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

สยามรัฐ

MyFintech Week 2025 งานฟินเทคระดับอาเซียน ขับเคลื่อนนวัตกรรม และความร่วมมือผลักดันอนาคตการเงินที่เชื่อมโยงถึงกัน

สยามรัฐ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...