โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ทำไมสหรัฐฯ เลือกปิดดีลภาษีทรัมป์ (Trump Tariff) กับ "เวียดนาม" ก่อนไทยในอาเซียน ?

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา
วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำไม สหรัฐฯ เลือกปิดดีลภาษีทรัมป์ Trump Tariff กับเวียดนามเป็นชาติแรกในอาเซียน ทั้งที่ GDP ไทยสูงกว่าเวียดนาม วิเคราะห์ปัจจัยหนุน ที่ทำให้เวียดนามเนื้อหอม จนหากไทยยังประมาท อาจทำเวียดนามแซงไทยแบบไม่ติดฝุ่นในอนาคต

ทำไมสหรัฐฯ จึงเลือกปิดดีลเจรจาการค้ากับเวียดนาม เป็นชาติแรกในอาเซียน?

หรือว่านี่คือสัญญาณว่า เวียดนามกำลังจะแซงหน้าไทยไปแล้ว? มาร่วมวิเคราะห์และสรุปประเด็นสำคัญไปพร้อมกัน

Trump Tariff หรือ มาตรการกำแพงภาษีของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังจะถูกบังคับใช้เต็มรูปแบบในวันที่ 9 กรกฎาคมนี้ โดยในปัจจุบันมีเพียง 3 ประเทศที่สามารถบรรลุข้อตกลงกับสหรัฐฯ ได้แล้ว ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป (EU) และล่าสุด เวียดนาม ซึ่งกลายเป็นชาติแรกในอาเซียนที่ปิดดีลภาษีกับสหรัฐฯ ได้สำเร็จ เหลือเพียงขั้นตอนการลงนามอย่างเป็นทางการ

ภายใต้ข้อตกลงนี้ สหรัฐฯ จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเวียดนามที่ 20% แต่ถ้าเป็นสินค้าสวมสิทธิจากประเทศที่สาม (Transshipment) เช่น จีน จะถูกเรียกเก็บภาษีสูงถึง 40% ขณะเดียวกัน สินค้าที่สหรัฐฯ ส่งออกไปเวียดนามจะไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร

ขณะที่ประเทศไทยกำลังเตรียมเข้าสู่การเจรจาในค่ำคืนวันที่ 3 กรกฎาคม หากไม่สามารถตกลงกันได้ ไทยอาจถูกเก็บภาษีนำเข้าสูงถึง 36% ซึ่งถือเป็นความเสียเปรียบอย่างยิ่ง

เหตุใดสหรัฐฯ จึงเลือกเวียดนาม เป็นชาติแรกในอาเซียน
เพราะเวียดนามเนื้อหอม ไทยกำลังถูกแซง หรือ มีปัจจัยมากกว่านั้น?
1.ขาดดุลการค้ากับเวียดนามสูงกว่าไทย

สหรัฐฯ มีการขาดดุลการค้ากับเวียดนามสูงกว่าไทยอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากเวียดนามมากกว่าที่ส่งออกไปยังเวียดนาม ในปี 2024 สหรัฐฯ ขาดดุลกับเวียดนามถึง 123.5 พันล้านดอลลาร์ เป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากจีน สหภาพยุโรป และเม็กซิโก ขณะที่ไทยอยู่ในอันดับที่ 10 ด้วยมูลค่าขาดดุล 41.5 พันล้านดอลลาร์ เมื่อพิจารณาตามลำดับนี้ จึงสมเหตุสมผลที่สหรัฐฯ จะเลือกปิดดีลกับเวียดนามก่อน

2.ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างสหรัฐฯ และเวียดนาม

เวียดนามมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐฯ มาตั้งแต่ยุคของประธานาธิบดีโจ ไบเดน โดยมีการพัฒนาเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุม มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยเฉพาะการลงนาม MOU ให้เวียดนามเป็นฐานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการแข่งขันกับจีนและไต้หวัน และเวียดนามยังส่งเสริมการพัฒนาคน โดยมีนักศึกษาเวียดนามจำนวนเกือบ 25,000 คน ศึกษาในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เน้นด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกอนาคต

3.เวียดนาม: จุดหมายใหม่ของมหาอำนาจ

เวียดนามกำลังกลายเป็นประเทศ “เนื้อหอม” ที่ได้รับความสนใจจากสหรัฐฯ จีน และฝรั่งเศส ภายในเวลาไม่ถึงเดือน ผู้นำของทั้งสามประเทศต่างเดินทางเยือนเวียดนามอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า GDP ของเวียดนามจะอยู่ในอันดับที่ 6 ของอาเซียน แต่กลับกลายเป็นจุดหมายปลายทางของเม็ดเงินลงทุนและความร่วมมือทางยุทธศาสตร์

ฝรั่งเศสเลือกเวียดนามเป็นประเทศแรกในเอเชียเพื่อย้ำบทบาทยุโรป ขณะที่จีนเองก็รีบเดินหน้าสานสัมพันธ์เช่นกัน เพื่อลดอิทธิพลของสหรัฐฯ ล่าสุด ลูกชายโดนัลด์ ทรัมป์อย่าง อิริค ทรัมป์ เจ้าของโครงการก่อสร้างรีสอร์ตและสนามกอล์ฟหรูใกล้กรุงฮานอย มูลค่ากว่า 1,500 ล้านดอลลาร์ เดินทางมายังเวียดนามด้วยตัวเอง และ ทราบว่าโครงการของเขานั้นได้รับอนุมัติจากรัฐบาลเวียดนามเป็นที่เรียบร้อย และเขาถึงกลับประกาศว่ามันกำลังจะกลายเป็นต้นแบบโครงการที่เอเชียและทั่วโลกจับตามอง แสดงถึงความร่วมมือระหว่างเอกชนสองชาติอย่างชัดเจนและสื่อเป็นนัยว่า เวียดนามอยู่ในสายตาของสหรัฐฯ ตลอดเวลา ไม่เพียงเท่านั้น เวียดนามยังดึงดูดการลงทุนจากบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ทั้ง Samsung, Intel และ Nvidia ซึ่งเตรียมจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) ในประเทศอีกด้วย ทั้งหมดนี้สะท้อนว่า เวียดนามไม่ได้ต้องการเป็นเพียงฐานการผลิตอีกต่อไป แต่กำลังจะก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งอาเซียน ในอนาคตแบบไม่ไกลเกินจริงได้สำเร็จ

ไทยอยู่จุดไหนในกระแสโลก ?

ในขณะที่เวียดนามเดินหน้าเต็มสูบเพื่อดึงดูดมหาอำนาจและนักลงทุนทั่วโลก ประเทศไทยกลับยังเผชิญปัญหาภายในประเทศเองที่แก้ไขไม่สำเร็จ เพราะการเมืองไทย ทำให้สถานการณ์เดินหน้าติดหล่ม หยุดชะงัก ไม่พัฒนา ทั้งความไม่แน่นอนทางการเมือง การขาดเสถียรภาพ และภาวะสูญญากาศในการบริหารประเทศ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ แทนที่จะเทมาไทย เขาไปเวียดนาม สงบกว่า แรงงานมีฝีมือ ราคาไม่แรง แถมยังได้รับนโยบายที่ดึงดูดใจนักลงทุนไม่แพ้กัน
จึงไม่แปลกใจ หากจะกล่าวว่าวันนี้ แม้ GDP ไทยจะสูงกว่าเวียดนาม แต่เวียดนามถือเป็น ม้ามืดแห่งอาเซียน ที่เนื้อหอม และ น่าเข้าไปลงทุนมากกว่า ทำให้ประเทศไทยในอนาคต อาจไม่สามารถกินบุญเก่าที่เราเคย ภาคภูมิใจ ได้อีกต่อไป หากไร้ซึ่ง ผู้นำเข้มแข็ง ขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาให้ประชาชนอย่างจริงจังและจริงใจ ไม่ใช่ทำแบบสะดุด ติดหล่ม เอื้อโต๊ะ เอื้อเก้าอี้ เอื้อพวกพ้องกันดั่งเช่นทุกวันนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

รวมเมนูอาหารไทยถูกใจ "ลิซ่า" สร้างปรากฏการณ์ครัวไทยดังไกลไปทั่วโลก

43 นาทีที่แล้ว

ปภ. ทดสอบระบบเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast เดินหน้าพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นิหน่า สุฐิตา ร่วมอาลัย ดิโอโก้ โชต้า เสียชีวิต โพสต์ภาพลูกชายเคยจูงมือลงสนาม

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เตือนอย่าหลงเชื่อข่าวลือ 2 จังหวัดภาคใต้จะเกิดสึนามิ วันที่ 5 ก.ค. 68

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

มทภ.2 ขอบคุณคนไทยมาเที่ยวชม 3 ปราสาท จ.สุรินทร์

สำนักข่าวไทย Online

โอกาสมาแล้ว! กทม. เปิดรับ "ครูผู้ช่วย" 150 อัตรา

สยามรัฐ

"หมูเด้ง" ฮิปโปแคระขวัญใจมหาชน ฉลอง 1 ขวบ สวนสัตว์เขาเขียวจัดใหญ่ เด็กเข้าฟรี 4 วันรวด!

Manager Online

“บิ๊กโจ๊ก” ลุยร้องตุลาการปกครอง เอนเอียง ไม่เป็นธรรม ปมให้ออกราชการ

PPTV HD 36

ตีปีก! ทรัมป์คุยบรรลุข้อตกลงภาษีกับ‘เวียดนาม’ ด้านจีนประกาศต้าน‘ดีลที่จ้องทำลายชาติอื่น’

Manager Online

ผู้บริหารกทม.ร่วมเล่นเกมส์ กระโดดเชือก ‘โกโกวา-ชอลซู’ ลานคนเมือง

เดลินิวส์

ผู้ตรวจฯ กระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่นครปฐม ติดตาม '5 เสือแรงงาน

Manager Online

"กงสุลใหญ่ฟูกูโอกะ" เตือนหลังหมู่เกาะโทคาระ "แผ่นดินไหว" มากกว่า 1 พันครั้ง

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

ข่าวและบทความยอดนิยม

"หุ้นเวียดนาม" นิวไฮ รอบ 3 ปี ตีปีกรับข่าว ปิดดีล "ภาษีสหรัฐฯ" ทันก่อนเส้นตาย

TNN ช่อง16

เวียดนามแซงไทย บรรลุดีลภาษีทรัมป์ หั่นจาก 46% เหลือ 20% แล้วภาษีสินค้าสวมสิทธิคืออะไร?

TNN ช่อง16

สหรัฐฯ ลงนามข้อตกลงการค้ากับเวียดนามแล้ว ลดภาษีจากร้อยละ 46 เหลือร้อยละ 20

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...