โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นักสิทธิมนุษยชน ถูกทหารฟ้องข้อหาหมิ่นประมาท และ พ.ร.บ.คอมฯ จากการช่วยชาวบ้าน ‘ทวงเงินจากค่ายทหาร’

The MATTER

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Brief

อัญชนา หีมมิหน๊ะ นายกสมาคมด้วยใจเพื่อการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และนักสิทธิมนุษยชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำลังเผชิญคดีความที่ถูกมองว่าเป็นการ ฟ้องปิดปาก (SLAPP) จากกรณีโพสต์เฟซบุ๊กเพื่อทวงเงินค่าน้ำประปาจำนวน 20,000 บาท ที่มัสยิดแห่งหนึ่งยังไม่ได้รับจากหน่วยทหาร แม้จะแก้ไขข้อมูลพื้นที่แล้วก็ตาม

เรื่องเริ่มต้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 ที่อัญชนาได้รับแจ้งว่ามัสยิดในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ไม่ได้รับเงินค่าน้ำประปาจากค่ายทหารที่มาใช้น้ำ เธอจึงโพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวเพื่อกระจายข่าวและขอคำแนะนำ

ในวันถัดมา อัญชนาก็ได้แก้ไขข้อมูลที่อยู่ของมัสยิดให้ถูกต้อง เป็น ตำบลบือเระ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี และหลังจากนั้นไม่นาน กรมทหารพรานที่ 44 ก็ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นใต้โพสต์เพื่อชี้แจงว่ามีการค้างชำระจริง แต่มีการทำข้อตกลงและมีการผ่อนชำระให้มัสยิดอยู่ พร้อมชี้แจงตัวเลขโดยคร่าว

แต่แทนที่เรื่องจะจบลงเพียงเท่านั้น วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องค่าน้ำประปา แต่ตั้งอยู่ในพื้นที่ อำเภอบาเจาะ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ถูกกล่าวถึงในโพสต์ครั้งแรก ได้แจ้งความกล่าวโทษอัญชนาในข้อหา ‘กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา’ โดยอ้างว่าการโพสต์ดังกล่าวสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของกองทัพเรือ

จนวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 อัญชนาได้รับแจ้งข้อหาเพิ่มเติมตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดินและไม่สามารถยอมความได้ ทำให้ต้องเดินทางเข้ารายงานตัวต่ออัยการจังหวัดนราธิวาสอย่างต่อเนื่องถึง 5 เดือน และล่าสุดในวันที่ 17 มิถุนายน 2568 อัยการมีความเห็นสั่งฟ้อง และมีกำหนดส่งฟ้องศาลในวันที่ 15 กรกฎาคม 2568

เมื่อกรณีที่เกิดขึ้น เป็นคดีความระหว่างนักสิทธิมนุษยชน กับเจ้าหน้าที่รัฐ จึงทำให้คนตั้งข้อสังเกตว่า คดีความครั้งนี้ไม่ใช่เพียงคดีความทั่วไป แต่อาจเป็นการฟ้องปิดปาก (SLAPP) ซึ่งหมายถึงการนำกระบวนการยุติธรรมมาเป็นเครื่องมือเพื่อข่มขู่และสร้างภาระให้แก่ประชาชนหรือองค์กรที่ออกมาตรวจสอบ แสดงความคิดเห็น หรือตั้งคำถามต่อการทำงานของภาครัฐหรือผู้มีอำนาจ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความยุ่งยาก เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย และบั่นทอนกำลังใจในการเคลื่อนไหวเพื่อประโยชน์สาธารณะ

มีความกังวลด้วยว่า คดีนี้ไม่ใช่เพียงเรื่องส่วนตัว แต่เป็นสัญญาณอันตรายต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ผู้ติดตามคดีนี้จึงเรียกร้องให้สาธารณชนให้ความสนใจ ติดตามข่าว และยืนหยัดเคียงข้างอัญชนา เพื่อยืนยันหลักการที่ว่า "ประชาชนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและตั้งคำถามต่อรัฐ"

อ้างอิงจาก

crcfthailand.org

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The MATTER

เห็นด้วยไหม? รัฐบาลอินเดียออกนโยบายจำกัดการลดอุณหภูมิแอร์ไม่ให้ต่ำกว่า 20 องศาฯ เพื่อประหยัดพลังงาน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Data Center ที่ออสเตรเลีย ต้องใช้น้ำในระดับเดียวกับที่ประชาชน 330,000 คนบริโภคต่อปี

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

กองทัพอากาศไทย–สิงคโปร์ ซ้อมรบทางอากาศ Air ThaiSing 2025 ฉลอง 60 ปีทางการทูต!! ส่งสัญญาณร่วมปกป้องอธิปไตยของชาติ

THE STATES TIMES
วิดีโอ

ชายแดนเดือด? แม่ทัพภาค 2 ย้ำ “ทุกอย่างยังปกติ” แม้มีเหตุคนไทยทำร้ายทหารเขมร

BRIGHTTV.CO.TH

ตร.หารือทีม Chat GPT เตรียมนำ AI ช่วยงานด้านข้อมูลเพิ่มความรวดเร็วในกระบวนการปราบโจรออนไลน์

สยามรัฐ

สปสช. เตือน! ประชาชนอย่าหลงเชื่อ "ข่าวปลอม" ค่ารักษาประเทศเพื่อนบ้านที่เรียกเก็บไม่ได้เกือบแสนล้านบาท

สวพ.FM91

ก.วัฒนธรรม แถลง กัมพูชาไม่ได้เคลม วรรณกรรมไทย 22 เรื่อง ชี้ เป็นการเข้าใจผิด

Thaiger

คลิปนาทีหญิงกัมพูชา ตะโกนด่า ทหารไทย ต้นเหตุหวิดปะทะเดือด ปราสาทตาเมือนธม

Thaiger

“ฝนตกหนัก” ช่วงกลาง - ปลาย ก.ค. 68 จับตาพายุลูกใหม่ก่อตัวแปซิฟิก

TNN ช่อง16

ดส.ลุยจับสาวไทย-เมียนมา ลักลอบขายบุหรี่ต่างประเทศที่ไม่เสียภาษี

สยามรัฐ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ลดกระหน่ำซัมเมอร์แซล! 19-20 ก.ค. นี้ มาเจอกันที่งาน ‘เทศกาลมหแบหนังสือแห่งชาติ’

The MATTER

นักวิชาการบางกลุ่มซ่อน prompts ให้ AI อ่านแล้วรีวิวเชิงบวก ย้ำความกังวลต่อบทบาท AI ในแวดวงวิชาการ

The MATTER

คดีนักเทนนิสหญิงชาวอินเดีย ถูกพ่อสังหาร เพราะ ‘ศักดิ์ศรีความเป็นพ่อ’ สะท้อนภาพปัญหาอะไรในสังคมอินเดีย?

The MATTER
ดูเพิ่ม
Loading...