เสียงจากผู้อพยพ กับความหวังที่รอการปะทะสงบ
เสียงจากผู้อพยพ กับความหวังที่รอการปะทะสงบ
เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2568 ที่จ.สุรินทร์ ผู้สื่อข่าว The Room 44 ได้ลงพื้นที่ศูนย์ อพยพแห่งหนึ่ง ซึ่งมีผู้อพยพอยู่จำนวนหลักพันคน โดยเป็นผู้อพยพในอำเภอพนมดงรัก อำเภอกาบเชิง และอำเภออื่นๆ ที่อยู่บริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งอพยพกันมาตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค. ที่ผ่านมาโดยแบ่งเป็นชาวบ้านจากแต่ละหมู่บ้านนั่งรถกันมารวมถึงบางส่วนก็ขับรถยนต์กันมา
โดยนางณี ชาวบ้านจากอำเภอกาบเชิง เผยว่า ต้นอยู่ที่นี่ไม่ลำบากมีอาหารให้ทานทุกมื้อ มีของใช้ให้ครบแต่บางทีก็กินไม่ลงเพราะห่วงสัตว์เลี้ยงห่วงบ้าน เพราะตนได้ล้อมคอกไว้ตั้งแต่วันที่อพยพออกมาโดยทิ้งไว้ให้แค่ฟางหนึ่งกองเท่านั้นรวมถึงสุนัขและแมวอีกเจ็ดถึงแปดตัวที่อยู่ในบ้านก็กลัวจะไม่ได้กินอะไร เพราะตั้งแต่ออกมาก็ไม่ได้กลับมาดูบ้านอีกเลยเพราะทางการยังไม่ให้เข้า
ส่วนเรื่อง เงินนั้นเพราะอพยพมาไม่มีงานทำก็ทำให้ไม่มีเงินนั้นติดขัดหรือไม่ นางณีเผยว่า ตอนอยู่ที่หมู่บ้านก็ทำไร่ไถนาไปเป็นปกติแต่พอมาศูนย์อพยพก็ไม่มีรายได้ก็ จำกัดใช้เงินบางทีก็ไม่ได้ใช้จ่ายมากนักเพราะสิ่งของที่ทางการเตรียมเอาไว้ให้ก็มีเพียงพอไม่ว่าจะเป็นอุปโภคบริโภคเสื้อผ้าหรือยาสีฟัน ส่วนหลานหลานก็ไม่ได้อยากกินขนมมากนักเพราะมีของกินอยู่เพียงพอก็เลยไม่ได้ใช้เงินเท่าไหร่นัก ซึ่งสิ่งที่กังวลที่สุดคือการย้ายที่อยู่เพราะหากอพยพอีกก็ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหนแล้วเพราะที่นี่ก็สะดวกสบายมีทุกอย่างครบแล้ว
เมื่อถามถึงบรรยากาศตอนที่อพยพออกมานั้นรู้สึกอย่างไร นางบัว ซึ่งอยู่ในอำเภอกาบเชิง เผยว่าตอนที่ได้ยินเสียงระเบิดและมีคำสั่งให้อพยพนั้นตนได้รีบพาหลานหลานออกมาและวิ่งร้องไห้กันออกมาจากหมู่บ้านบางคนก็ขับรถกันมาซึ่งตนไม่มีรถใหญ่ก็ได้ขับรถสามล้อกันมาพักอยู่ที่อำเภอปราสาท ก่อนที่จะย้ายมาในอีกอำเภอหนึ่งในศูนย์อพยพปัจจุบัน เพราะก็ยังใกล้ในจุดที่มีการประทะกันอยู่ตน มองว่าจะมีพิกัดสู้รบกัน ในเร็วเร็วนี้เพราะมีการเตรียมอาวุธของทหารฝั่งไทยเอาไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว ซึ่งหลานหลานของตนก็อยู่ด้วยส่วนลูกลูกนั้นอยู่อีกอาคารหนึ่งที่ไม่ไกลกันมากนักก็มาเยี่ยมบ่อยบ่อยเพราะในจุดพักพิงจุดนี้มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก
ซึ่งบรรยากาศที่ศูนย์พักพิงแห่งนี้พบว่าส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุและเด็กเนื่องจากเป็นชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนบริเวณชายแดน ซึ่งบางคนก็มาเป็นครอบครัวหรือบางคนก็มาเพียง2คน ส่วนผู้ป่วยที่อพยพมาด้วยนั้นจะอยู่ในอีกตึกหนึ่งซึ่งเป็นตึกพยาบาล โดยชาวบ้านทุกคนเฝ้ารออย่างมีความหวังว่าจะได้กลับบ้านไปในเร็วเร็วนี้เพราะที่อพยพมานั้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีพ.ศ. 2554 ที่มีการประทะกันซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าครั้งนี้ก็ได้กลับบ้านภายใน 1-2 สัปดาห์ เท่านั้น