โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

จี้คนนั่ง"รมต."ทิ้งเก้าอี้"ส.ส."

สยามรัฐ

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ภูมิธรรม“ เห็นด้วย รมต.ไม่มีบทบาทในสภา ควรทิ้งเก้าอี้สส.บัญชีรายชื่อ เปิดทางเลื่อนลำดับรักษาองค์ประชุมในสภาฯ ยอมรับ “เลขาฯกฤษฎีกา” แจง ครม. อำนาจรักษาการนายกฯ ยุบสภาไม่ได้ ชี้ รบ. ยังไม่ยึดแนวทางไหน เหตุยังไม่เกิด "เลขาฯกฤษฎีกา" แจงชัด "รักษาการนายกฯ" ไม่มีอำนาจ "ยุบสภา-ตั้ง รมต." ชี้เป็นอำนาจเฉพาะตัว "นายกฯ" เท่านั้น ด้าน "สุชาติ" เผยตั้งใจลาออก "สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย" อยู่แล้ว เพราะตำแหน่งรัฐมนตรีต้องทำงานเต็มเวลา ไม่มีเวลาไปช่วยงานสภาฯเต็มที่ ขณะที่ "เอกพร รักความสุข" จ่อเลื่อนลำดับเป็น สส.แทน

เมื่อวันที่ 7 ก.ค.68 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ สส.ภาคอีสานพรรคเพื่อไทยออกมาเรียกร้องให้รัฐมนตรีที่เป็น สส.บัญชีรายชื่อ ลาออกจากตำแหน่ง สส.เพื่อรักษาองค์ประชุมในสภาผู้แทนราษฎร ว่า เป็นข้อเสนอที่น่าพิจารณา
ส่วนจะมีการนำข้อเสนอนี้เข้าหารือในที่ประชุมสสพรรคเพื่อไทยหรือไม่ นายภูมิธรรม ยอมรับว่ามีสิทธิที่จะเสนอได้อยู่แล้ว แต่เรื่องนี้เป็นวิธีปฏิบัติของพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ว่าใครมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับสภาฯมาก คนนั้นก็อาจจะต้องอยู่ 2 แห่ง ส่วนคนที่ไม่ได้มีบทบาทในสภาฯมากการลาออกก็ไม่ได้ช่วย แตาหากมีปัญหา ก็ให้สามารถเลื่อนคนใหม่ขึ้นมา เพื่อจะได้โฟกัสกับงานรัฐมนตรี ทั้งหมดอย่างเต็มที่ ซึ่งตนก็มองว่าเป็นข้อเสนอที่ดี ที่ต้องรับไปพิจารณา
กรณีนี้จะช่วยสามารถแก้ไขปัญหาองค์ประชุมในสภาฯ ได้ใช่หรือไม่ นายภูมิธรรม ระบุว่า ก็หลาย ๆ อย่าง และรัฐมนตรีก็พยายามทำอยู่แล้ว พร้อมอธิบายว่าวันเปิดประชุมสภาวันแรกที่มีความติดขัดเพราะเป็นวันที่เพิ่งเริ่มปฏิบัติงานและตรงกับวันประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ ถึงแม้ไม่มีเรื่องนี้ก็จะเห็นได้ว่าในช่วงแรกมีสส.บัญชีรายชื่อทยอยลาออก และตอนนี้ก็มีการเลื่อนลำดับมาตั้งไกลแล้ว คนไหนที่ยังต้องมีบทบาทในสภาฯ อยู่ ก็ทำหน้าที่ คนไหนที่ไม่มีบทบาทในสภาฯ ตนเองมองว่าก็ควรจะเปิดโอกาสไปทำงานที่ตัวเองรับผิดชอบ เรื่องนี้ไม่น่ามีปัญหา ทั้งนี้เป็นเรื่องที่สส.ทุกคนของพรรคต้องรับฟัง
นายภูมิธรรม ยังกล่าวถึงกรณีการประชุมครม.นัดพิเศษ เมื่อวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีการเสนอเรื่องอำนาจรักษาราชการแทนนายกฯให้ครม. รับทราบหรือไม่หลังเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ระบุว่า อำนาจรักษาราชการแทนนายกฯไม่มีอำนาจยุบสภาฯ ว่า ไม่ใช่สิ่งที่เข้าใจกันนะ เพราะเรื่องที่ประชุมกันเป็นการมอบอำนาจหน้าที่ เลขากฤษฎีกาได้พูดข้อคิดเห็น และแนะนำ แต่ไม่ใช่ข้อที่บันทึกในที่ประชุม เป็นเพียงการยกตัวอย่างการปกครองในระบอบรัฐสภาแบบ Westminster ของประเทศอังกฤษ และได้มีการสอบถามว่าได้มีการพักราชการนายกฯแบบ Westminster ซึ่งไม่มี นั่นคือความเห็น วิชาการอีกแง่มุมหนึ่ง
เมื่อถามว่า แล้วรัฐบาลเชื่อความเห็นของเลขากฤษฎีกาหรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า ก็เป็นหนึ่งความเห็นที่ควรพิจารณา รับฟัง แต่ไม่มีอะไรเป็นที่ยืนยัน ซึ่งความเห็นดังกล่าวนี้ในส่วนของนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯฝ่ายกฎหมาย ก็เคยเสนอความเห็น และหลายท่านเสนอก็เป็นเรื่องที่ควรพิจารณา แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่เราต้องพิจารณา
เมื่อถามว่า นายภูมิธรรมจะยังไม่คิดใช้อำนาจยุบสภาใช่หรือไม่หากเกิดสถานการณ์การเมืองคับขัน นายภูมิธรรมกล่าวว่า จะใช้อำนาจอะไรก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมืองแต่ละช่วง ในเมื่อ ยังไม่ถึงสถานการณ์จะไปนั่งคิดทำไม วันนี้ไม่ใช่เวลานั่งคิดว่าเราจะอยู่หรือเราจะไป วันนี้ต้องมานั่งคิดว่าจะทำงานให้เต็มที่ได้อย่างไร เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในการทำงานทั้งหมด ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่จะมาทำให้เกิดความไม่แน่นอน ไปสร้างความไม่มั่นใจอะไรต่างๆ ปัญหาที่ยังไม่เกิดเรายังไม่ควรถาม ควรจะถามในปัญหาที่คิดว่าสำคัญว่าทำต่อไปอย่างไร และยังไม่รู้ว่าเรื่องจะออกบวกหรือลบอย่างไร ไม่ควรมาคิดเรื่องลบอย่างเดียว
ขณะที่ นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “Alex Pakorn” ว่า " อธิบายซ้ำ : ผมอธิบายว่าตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของบ้านเรา การเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรีและการยุบสภา เป็นอำนาจเฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเท่านั้น เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศที่ปกครองในระบอบรัฐสภาแบบ Westminster เป็นไปตาม “หลักความไว้วางใจ”
ประเทศไทยจะเห็นได้ชัดในประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีความสรุปว่า ประธานสภา …. กราบบังคมทูลว่าสภาลงมติไว้วางใจให้ นาย/นางสาว … เป็นนายกรัฐมนตรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ส่วนกรณีประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ก็ชัดเจนว่า บัดนี้นาย/นางสาว … นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรไว้วางใจให้เป็นรัฐมนตรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้เป็นรัฐมนตรี
จะเห็นได้ชัดว่าเป็นความไว้วางใจมาเป็นทอดๆ และพระมหากษัตริย์ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตามที่สภาเสนอและประธานสภานำความกราบบังคมทูล หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามที่นายกรัฐมนตรีกราบบังคมทูลว่าสมควรไว้วางใจ
โดยนัยนี้เอง รองนายกรัฐมนตรี (รนม.) รักษาราชการแทนนายกฯ จึงไม่มีอำนาจเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรี หรือเสนอให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง เพราะ รนม. รักษาราชการแทน นรม. นั้นเป็นเพียงรัฐมนตรีคนหนึ่งซึ่งได้รับความไว้วางใจจาก นรม. เฉกเช่นเดียวกับ รมต. คนอื่น ไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร จึงจะแต่งตั้งหรือปลด รมต. คนอื่นๆ มิได้
หรือยิ่งไปกว่านั้นคือ รนม. รักษาราชการแทน นรม. จะเสนอให้ยุบสภา ถ้ายังมีผู้ดำรงตำแหน่ง นรม. อยู่ ยิ่งไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้ได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร หากเป็นเพียงผู้ซึ่ง นรม. ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ ว่าเป็นผู้สมควรไว้วางใจ ให้แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเท่านั้น การยุบสภาจึงเป็นอำนาจเฉพาะของ นรม. เท่านั้น
กล่าวได้ว่าการกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รมต. ก็ดี หรือถวายคำแนะนำให้ยุบสภาก็ดี เป็นเรื่องของ นรม. ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยแท้
ถ้า นรม. พ้นจากตำแหน่ง รนม. รักษาราชการแทน นรม. จะมีอำนาจเช่นนั้นหรือไม่ ต้องทราบว่าถ้า นรม. พ้นจากตำแหน่งไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ผลคือคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และรัฐธรรมนูญบัญญัติรองรับไว้ว่า เมื่อ ครม. พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้ดำเนินการเพื่อให้มี ครม .ขึ้นใหม่ implication จึงชัดเจนว่าสภาต้องดำเนินการเพื่อให้มีการเลือก ครม. ใหม่ขึ้น
ดังนั้น จึงต้องมีสภาอยู่เพื่อดำเนินการดังกล่าว เป็นบทบังคับที่ต้องดำเนินการ สภาจึงไม่อาจถูกยุบได้ในห้วงเวลานี้ และถึงอยากจะทำก็ทำไม่ได้ เพราะไม่มีความชอบธรรมที่จะทำดังกล่าวมาข้างต้น
ถ้า นรม. เกิดป่วยจนปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้โดยสิ้นเชิง รนม .รักษาราชการแทน นรม .จะกราบบังคมทูลเพื่อยุบสภาได้ไหม ต้องบอกว่าในระบบความไว้วางใจนั้น ถ้าผู้ซึ่งสภาให้ความไว้วางใจปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้โดยสิ้นเชิง สภาก็ต้องเรียกประชุมกันเพื่อถอดถอนความไว้วางใจสำหรับท่านเดิม แล้วพิจารณาลงมติกันว่าสมควรไว้วางใจผู้ใดขึ้นแทน เป็นกระบวนการของสภาที่จะต้องปรึกษาหารือตกลงกัน ไม่ใช่กิจของผู้รักษาราชการแทน
ย้ำว่าคำว่า “ไว้วางใจ” ในรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ “แบบ” แต่มันคือ “ระบบ”
ที่เขียนมานี้เพียงเพื่ออธิบายหลักการของรัฐธรรมนูญตามความรู้ที่ร่ำเรียนมาเท่านั้น ถ้าอยากรู้ลึกๆ ให้ไปอ่านตำราประวัติศาสตร์ของระบบรัฐสภาแบบ Westminster ดู เอา ตั้งแต่สมัยพระเจ้า George I ที่เริ่มมี Prime Minister คนแรกคือ Sir Robert Whapole (later : 1st Earl of Oxford) ก็พอ"
วันเดียวกัน นายสุชาติ ตันเจริญ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงธรรมเนียมปฏิบัติของคนที่เป็น สส.ระบบบัญชีรายชื่อ จะลาออกเมื่อเป็นรัฐมนตรี ว่า ที่ผ่านมายังไม่มีการลาออกแต่โดยธรรมเนียมก็ควรจะลาออก เพราะการทำหน้าที่ของรัฐมนตรีก็เป็นเวลาอยู่แล้วก็เต็มเวลาอยู่แล้ว ไม่มีเวลาที่จะไปช่วยงานสภา ซึ่งขณะนี้สภาเสียงปริ่มน้ำ ซึ่งตนมีความตั้งใจที่จะลาออกจาก สส.ระบบบัญชีรายชื่ออยู่แล้ว เพื่อให้ สส.ระบบบัญชีรายชื่อลำดับถัดไปได้เลื่อนขึ้นมา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สส. ลำดับถัดไปที่จะขึ้นมาเป็น สส.แทนนายสุชาติ คือ นายเอกพร รักความสุข บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 38

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

รวบอดีตกรรมการบริษัทฯทวงหนี้ เสนอขายหุ้นกู้ออกใหม่ มูลค่ากว่า 30 ล้าน ฝ่าฝืนกฎหมาย กระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน

13 นาทีที่แล้ว

ตำรวจกองปราบฯ เรียก "ฟิล์ม รัฐภูมิ" เปลี่ยนข้อหาจากพยายามกรรโชกเป็นพยายามฉ้อโกง

19 นาทีที่แล้ว

เซ็กซี่สะท้านคลื่น! “เอื้อย พรสวรรค์” อวดหุ่นเป๊ะในบิกินีสีฟ้า แซ่บสะท้านหาดทราย ที่เกาะเสม็ด

22 นาทีที่แล้ว

เพจดังสรุปปม "แม่แตงโม" ปลดทนายเดชา-ลุยคดีต่อ ไม่ติด Netflix ทำสารคดี

22 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม