โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

วิจัยใหม่ชี้ "ดวงจันทร์ไททัน" อาจมีสิ่งมีชีวิต แต่มวลน้อยจนเท่าพุดเดิ้ลขนาดเล็ก

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา
นักวิทยาศาสตร์เผย ไททัน ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ อาจเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรใต้ดิน แต่ผลวิจัยชี้ว่าชีวมวลรวมอาจหนักไม่เกินสุนัขหนึ่งตัวเท่านั้น

ไททัน (Titan) ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ อาจเป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่ซ่อนอยู่ในมหาสมุทรใต้ดินลึก อย่างไรก็ตาม ข่าวนี้อาจทำให้เหล่านักล่าเอเลี่ยนต้องผิดหวังเล็กน้อย เพราะล่าสุดมีงานวิจัยที่เผยว่า มวลชีวภาพทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรแห่งนี้ รวมแล้วอาจมีน้ำหนักไม่เกิน สุนัขขนาดเล็ก หนึ่งตัว เท่านั้น

แอนโทนิน แอฟโฟลเดอร์ (Antonin Affholder) นักชีววิทยาวิวัฒนาการจากมหาวิทยาลัยแอริโซนา สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า แม้ไททันจะมีศักยภาพในการเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต แต่พลังงานและสารอาหารในระบบนิเวศสมมุติของมัน อาจมีจำกัดจนแทบไม่เพียงพอต่อการดำรงอยู่ของ เซลล์ที่ใช้การหมัก (fermenting cell) เพียงเซลล์เดียวต่อปริมาตรน้ำ 1 ลิตรในมหาสมุทรที่ลึก

ความโดดเด่นของดวงจันทร์ "ไททัน (Titan)"

ดวงจันทร์ไททัน ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ มีความโดดเด่น เมื่อเทียบกับดวงจันทร์น้ำแข็งดวงอื่น ๆ ที่อาจมีมหาสมุทรใต้พื้นผิวซ่อนอยู่เช่นกัน เพราะนักวิจัยเผยว่า ไททัน อุดมไปด้วยสารอินทรีย์นานาชนิด อ้างอิงจากคำกล่าวของแอนโทนิน แอฟโฟลเดอร์ (Antonin Affholder) ระบุว่าไฮโดรคาร์บอนบนพื้นผิวของไททัน จะกลายเป็นของเหลวที่อุณหภูมิเยือกแข็งถึง -179 องศาเซลเซียส และก่อตัวเป็นแม่น้ำและทะเลสาบขนาดใหญ่เทียบเท่ากับทะเลสาบเกรตเลกส์บนโลกของเรา

แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือ ใต้เปลือกน้ำแข็งของไททันมี มหาสมุทรน้ำเค็มขนาดใหญ่ ซ่อนอยู่ลึกใต้พื้นผิว จากข้อมูลของยานแคสสินี-ฮิวเกนส์ (Cassini-Huygens) ไททันที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5,150 กิโลเมตร และอาจมีโครงสร้างเป็นชั้น ๆ คล้ายลูกอมห้าชั้น โดยเริ่มต้นจากแกนหินแข็ง ตามด้วยชั้นของ 'น้ำแข็ง-VI' ซึ่งเป็นน้ำแข็งประหลาดที่พบได้ภายใต้แรงดันสูงมากเท่านั้น เหนือขึ้นไปคือมหาสมุทรน้ำเค็ม และปิดท้ายด้วยเปลือกน้ำแข็งชั้นนอกที่มีความหนาถึง 100 กิโลเมตร เปลือกน้ำแข็งชั้นนอกนี้เป็นเหมือนพื้นผิวของไททัน ซึ่งถูกปกคลุมด้วยโมเลกุลอินทรีย์ที่ตกลงมาจากเมฆมีเทน หรือตกตะกอนจากชั้นบรรยากาศสีเหลืองขุ่นมัวอย่างต่อเนื่อง

ในชั้นบรรยากาศด้านบน โมเลกุลไนโตรเจนและมีเทนจะถูกรังสี UV จากดวงอาทิตย์แยกออกจากกัน แล้วรวมตัวกันเป็น โมเลกุลอินทรีย์หนัก ที่อุดมด้วยคาร์บอนและออกซิเจน เมื่อพวกมันรวมตัวกันบนพื้นผิว ก็จะก่อตัวเป็นเนินทรายสีเข้มสูงตระหง่าน คล้ายกองกากกาแฟ โมเลกุลอินทรีย์จำนวนมหาศาลเหล่านี้อาจซึมลงสู่มหาสมุทรใต้ดินของไททันผ่านบ่อน้ำที่เกิดจาก การพุ่งชนของอุกกาบาต ซึ่งทำให้เปลือกน้ำแข็งแตกและละลาย นอกจากนี้ โมเลกุลอินทรีย์ยังอาจลอยขึ้นสู่มหาสมุทรจากแกนหินของไททันได้อีกด้วย

โมเลกุลอินทรีย์คืออะไร ?

ในการศึกษาใหม่ นักวิจัยได้ใช้แบบจำลองพลังงานชีวภาพเพื่อตรวจสอบว่าโมเลกุลอินทรีย์เหล่านี้สามารถให้พลังงานเพื่อหล่อเลี้ยงกลุ่มจุลินทรีย์ในมหาสมุทรของไททันได้หรือไม่ โดยจุลินทรีย์เหล่านี้อาจวิวัฒนาการมาเพื่อผลิตพลังงานโดยการสลาย ไกลซีน (Glycine) ซึ่งคล้ายคลึงกับแบคทีเรียกลุ่มแบคทีเรียแกรมบวก (Clostridia) บนโลก

นักวิจัยชี้ว่า หากสิ่งมีชีวิตบนไททันขาดธาตุสำคัญอย่างออกซิเจน พวกมันก็อาจใช้กระบวนการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจนที่คล้ายคลึงกับ การหมัก (Fermentation) ซึ่งเป็นกระบวนการทางชีวภาพที่ง่ายที่สุด นอกจากนี้ การหมักยังเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วบนโลก แล้วว่าเป็นกระบวนการที่แพร่หลายและเก่าแก่ที่ทำให้เกิดอาหารยอดนิยมอย่างขนมปังซาวเออร์ โยเกิร์ต และเบียร์ ยิ่งไปกว่านั้น ไกลซีนและสารตั้งต้นของมันยังพบได้ทั่วไปในจักรวาล โดยฝังอยู่ในดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และเมฆแก๊สและฝุ่นที่ก่อตัวเป็นดาวและดาวเคราะห์

ค้นหาสิ่งมีชีวิต

แม้ว่าโมเลกุลอินทรีย์อย่างไกลซีนจะเสริมสร้างมหาสมุทรของไททันมาเป็นเวลานานทางธรณีวิทยา แต่สารอินทรีย์เหล่านี้เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจเหมาะสำหรับการบริโภคของจุลินทรีย์ แอนโทนิน แอฟโฟลเดอร์ (Antonin Affholder) อธิบายว่า สิ่งนี้อาจหมายความว่า ทั่วทั้งมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ของไททัน มวลรวมของสิ่งมีชีวิต อาจมีเพียงไม่กี่กิโลกรัม เทียบเท่ากับมวลของสุนัขตัวเล็ก เช่น พุดเดิ้ลจิ๋ว (miniature poodle) นักวิจัยยังกล่าวเสริมว่า ระบบชีวภาพของไททันอาจมีปริมาณเฉลี่ย น้อยกว่า 1 เซลล์ต่อน้ำ 1 กิโลกรัม ทั่วทั้งมหาสมุทร หรือเทียบเท่ากับปริมาณคาร์บอนของมนุษย์เพียงคนเดียว

การศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Planetary Science Journal แสดงให้เห็นถึงความท้าทายในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก และทำให้เราตระหนักว่าแม้จักรวาลจะกว้างใหญ่ไพศาล แต่การค้นพบสิ่งมีชีวิตก็ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมหาศาล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

ร่างนิรโทษกรรมยังติดเงื่อนไข สภาฯ นัดอภิปรายต่อ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จับตาโควิดสายพันธุ์ XFG แพร่เร็ว หลบภูมิคุ้มได้ดี

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ลุ้นต่อ! โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศจะส่งจดหมายเรียกเก็บภาษีอีก 7 ประเทศ

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

อัศจรรย์เมืองโบราณ อายุกว่า 3,800 ปี เปรูเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอทีอื่น ๆ

พรีวิว Samsung Galaxy Z Flip7 พลิกโฉมจอพับ ดีไซน์ใหม่เต็มตา แค่ถือก็เท่แล้ว

Siamphone

พาชม Galaxy Watch 8/ Watch8 Classic / Watch Ultra2 ใหม่พร้อมฟีเจอร์เต็มพิกัด

sanook.com

Nvidia สร้างประวัติศาสตร์ ! บริษัทแรกมูลค่าทะลุ 4 ล้านล้านเหรียญ รวยที่สุดในโลก

BT Beartai

เผยสเปก Honor X70 ก่อนเปิดตัว 15 ก.ค. นี้: มาพร้อมแบตเตอรี่ 'ใหญ่ที่สุด' ถึง 8,300 mAh

BT Beartai

สัมผัสแรก Samsung Galaxy Z Flip7 / Z Fold7 สู่พับได้ทีบางลงและมีเรื่องเซอร์ไพรส์

sanook.com

พรีวิว Samsung Galaxy Z Fold7 กางความล้ำที่บางและเบาที่สุดของ Galaxy Z

Siamphone

BIG Camera ผนึกกำลัง Leica เปิดตัว Leica Store Siam Paragon คอนเซ็ปต์ใหม่แห่งแรกในไทย

Insight Daily

Motorola เปิดระดับกลาง Moto G96 : จอ 144 Hz และชิป Snapdragon 7s Gen 2 ในราคาเริ่มต้น 6,900 บาท

BT Beartai

ข่าวและบทความยอดนิยม

“FLEXHab” นวัตกรรม “ที่อยู่อาศัยบนดวงจันทร์” ผสานความสบายสไตล์สแกนดิเนเวีย

TNN ช่อง16

เฮลิคอปเตอร์พลังงานนิวเคลียร์ Dragonfly ของ NASA ผ่านการทดสอบขั้นสุดท้าย

TNN ช่อง16

สรุป 8 ความลับของดาวเสาร์ (Saturn) ที่คุณอาจไม่เคยรู้

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...