ครอบครัว น้องเมย ยืนยันสู้ต่อศาลพลเรือน | ข่าวเย็นประเด็นร้อน
2 ดูข่าวเย็นประเด็นร้อน - ถูกต้องตามหลักกฎหมายทหาร แต่ค้านความรู้สึกคนส่วนใหญ่ สำหรับคดีน้องเมย อดีตนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ 1 ถูกรุ่นพี่เตรียมทหาร ลงโทษจนเสียชีวิต และบทลงโทษยังให้รอลงอาญาไว้ก่อน ครอบครัว น้องเมย ยืนยันสู้ต่อศาลพลเรือน แม้คำตัดสินศาลทหารสูงสุด ชั้นฎีกา จะไม่เป็นอย่างที่หวัง แต่ครอบครัว ก็ยังยืนยัน จะสู้ต่อในศาลพลเรือน โดยเฉพาะคุณแม่ที่บอกว่ายังไงก็ไม่หยุดเดิน และไปต่อให้สุดทางเพื่อลูก คดีนี้ย้อนไป 8 ปี ก่อนน้องเมยเข้าเรียนเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ 1 เมื่อพฤษภาคม 2560 จากนั้น 23 สิงหาคมปีเดียวกัน น้องเมยบอกครอบครัวว่า เจ็บศีรษะ เพราะรุ่นพี่สั่งธำรงวินัย ด้วยการเอาหัวปักพื้นห้องน้ำกลางดึก และอีก 7 วันต่อมา 30 ส.ค. ก็ถูกสั่งซ่อมอีกทั้ง ๆ ที่อาการเดิมยังไม่ดีขึ้น 16 ตุลาคม 2560 น้องเมย ก็ถูกสั่งพุ่งหลัง 1-2 นาที ก่อนฟุบลงคล้ายคนเป็นโรคหอบ และเช้าวันที่ 17 ตุลาคม ก็ถูกสั่งซ่อมธำรงวินัย จากนั้นไม่กี่ชั่วโมงต่อมาก็หมดสติ ต้องนำตัวส่งห้องพยาบาลโรงเรียนเตรียมทหาร เเละเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน กมธ.การทหาร เดินหน้า แก้กฎหมายลงโทษเหมือนกัน ด้าน คณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ยอมรับโทษที่เกิดขึ้นไม่ได้สัดส่วน และตามกระบวนการยุติธรรมที่ครอบครัว ของผู้เสียชีวิตไม่ได้รับความเป็นธรรม ที่ศาลทหารไม่เปิดสิทธิให้ประชาชนผู้เสียหายสามารถฟ้องทหารได้ ต้องไปฟ้องผ่านอัยการทหาร ดังนั้นในส่วนกรรมาธิการการทหาร และพรรคประชาชน ได้เตรียมเสนอกฎหมาย เปิดสิทธิให้ผู้เสียหายที่สามารถจะเข้าเป็นโจทก์ในคดีของศาลทหาร เพื่อให้ศาลทหาร และศาลพลเรือนใช้มาตรฐานเดียวกัน นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ประธานกมธ.การทหาร ขอฝากไปยังนายกรัฐมนตรี การลงสัตยาบัน ในพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน ก็จะทำให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สามารถเข้ามาสุ่มตรวจกองทัพในเรื่องของการซ้อมทรมานได้ โดยที่ไม่ต้องแจ้งกองทัพทราบล่วงหน้า และยังมีคณะอนุกรรมการจากองคการสหประชาชาติ เข้ามาสุ่มตรวจสอบได้ด้วย ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง เพราะมาสุ่มตรวจสอบเฉพาะการสอบทรมานเท่านั้น ก็หวังว่านายกรัฐมนตรีจะลงนามสัตยาบันในเร็ววันนี้ ผบ.ตร. อยากเคลียร์ปมคู่กรณี น้องเมย เป็นตำรวจ ด้าน พลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ บอกว่า ตนเองอยากพบพ่อและแม่น้องเมย เป็นการส่วนตัว หลังคู่กรณีได้เข้ารับราชการเป็นตำรวจ โดยให้แยกเป็น 2 กรณี คือ ขณะเกิดเหตุคู่กรณีไม่ได้อยู่ในสถานะตำรวจ อยู่ภายใต้กองบัญชาการกองทัพไทย จึงทำให้ พ.ร.บ.ตำรวจปี 2565 ไม่สามารถดำเนินการทางวินัยได้ ส่วนกรณีที่คู่กรณีของน้องเมย ทำคนอื่นเสียชีวิตก่อนเข้ารับราชการตำรวจ จะทำให้ประชาชนเคลือบแคลงใจหรือไม่ ผบ.ตร. บอกว่า ตำรวจมีหลักจริยธรรมกำหนดไว้ โดยจเรตำรวจแห่งชาติต้องนำข้อมูลที่รอบด้านมาพิจารณา รวมถึงกรณีครอบครัวน้องเมย แจ้งดำเนินคดีกับแพทย์นิติเวชที่ชันสูตรรายแรก และทำอวัยวะน้องเมยสูญหาย ที่ สน.พญาไท ด้วย กดติดตามช่อง CH7HD News ได้ที่ : https://cutt.ly/YTch7hdnews ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : https://news.ch7.com #ข่าวเย็นประเด็นร้อน #ข่าวช่อง7 #CH7HDNEWS ติดตาม CH7HD News และ TERO Digital ได้ที่ : https://linktr.ee/ch7hdnews_tero
เล่นอัตโนมัติ