โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

หนุนต้นแบบชมรมคนหัวใจเพชร พื้นที่สงขลา ชวน ช่วย ชมเชียร์

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วันที่ 21 ก.ค. 2568 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ลงพื้นที่ติดตามการรณรงค์ “งดเหล้าเข้าพรรษา” ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา พร้อมร่วมกิจกรรม “ชวน ช่วย ชมเชียร์” โดยชมรมคนหัวใจเพชร และกลุ่มพลังหญิงหัวใจเพชร ที่ร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนปลอดเหล้า ควบคู่กับการสร้างอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 สสส. กล่าวว่า การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ถือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของประชาชน และสร้างพื้นที่ปลอดภัยในชุมชน โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ ถือเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงพลังของ “ชุมชนที่มีชีวิต” ที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่านิยม วัฒนธรรม และพฤติกรรมการดื่ม ผ่านความร่วมมือของภาคีในพื้นที่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

สคล.ร่วม สสส.เสริมพลังต้นแบบงดเหล้าศรีสะเกษ โมเดลสู่ปรับใช้ทั่วประเทศ

สค. 'มุ่งเสริมศักยภาพสตรี-ครอบครัว' ปลดล็อกโอกาสสู่ความยั่งยืนทางสังคม

ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเครื่องมือสร้างพื้นที่ปลอดภัย

ผมขอชื่นชมกลุ่มพลังหญิงหัวใจเพชร ที่ใช้กลไกเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ไม่เพียงจะช่วยลดการพึ่งพาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ยังสร้างโอกาสในการพัฒนาอาชีพของผู้หญิงในพื้นที่ เช่น การแปรรูปขนมพื้นบ้าน ข้าวต้มใบพ้อ พริกแกงใต้ กล้วยฉาบ ซึ่งเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์วัฒนธรรมของถิ่นใต้ได้อย่างงดงาม

ยกย่องกลุ่มเยาวชน “สานศิลป์ถิ่นใต้” ที่นำศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น หนังตะลุง มโนราห์ และดนตรีพื้นบ้าน มาใช้เป็นเครื่องมือสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เยาวชน ห่างไกลอบายมุข และ สสส. ยังคงยึดมั่นในบทบาทจุดประกาย กระตุ้น สาน และเสริมพลังให้ทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันสร้างสังคมไทยที่มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในมิติของการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งต้องอาศัยแนวทางที่เข้าใจมนุษย์ เคารพวิถีชีวิต และสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้ทุกคนมีทางเลือกที่ดี

ส่งเสริมและรณรงค์ให้เลิกดื่มแอลกอฮอล์

นายธีระ วัชรปราณี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2546 โดยใช้พลังศาสนาและวัฒนธรรมเป็นแกนกลางในการเปลี่ยนค่านิยมการดื่มของสังคมไทย ปัจจุบันขยายผลไปตลอดทั้งปี และผลักดันสู่ระดับนโยบาย ทั้งในระดับจังหวัดและประเทศ ตั้งแต่ปี 2565 - 2567 มีภาคีเครือข่ายฯ เข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มขึ้นจาก 2,500 เป็น 3,500 เครือข่าย, ชุมชน

โดยลงนามผ่านโปรแกรม SoBer CHEERs จำนวน 1,010 แห่ง และมีผู้ “บวชใจงดเหล้า” ในจำนวน 32,495 คนในปีล่าสุด, ผู้เลิกเหล้าตลอดชีวิต หรือ “คนหัวใจเพชร” พุ่งจาก 600 เป็นกว่า 12,598 คน ซึ่งในปี 2567 ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการเลิกเหล้ากว่า 93 ล้านบาท

“จากรายงานสถานการณ์ของศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) พบว่า จังหวัดสงขลาในปี 2565 มีดัชนีความเสี่ยงต่อปัญหาแอลกอฮอล์อยู่ที่ร้อยละ 0.430 ติดอันดับที่ 52 ของประเทศ ขณะที่ความชุกของนักดื่มในกลุ่มประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 16.4 โดยร้อยละ 50.9 ดื่มแล้วขับ และพบการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้ามขายสูงถึงร้อยละ 14.1 ซึ่งสูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ” นายธีระ กล่าว

นายชัยรัตน์ สุขสมคิด นายอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา กล่าวว่า บริบทพื้นที่อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา มีความเป็นชุมชนกึ่งชนบทและกึ่งชุมชนเมือง ส่งผลให้กรณีงานบุญประเพณีหรือเทศกาลต่าง ๆ ยังมักมีการดื่มสังสรรค์ และตั้งวงดื่มในช่วงเย็น ทำให้เห็นชัดเจนถึงผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

ดังนั้นการเข้ามาขับเคลื่อนของ สสส. ร่วมกับภาคีและชุมชนในการเดินหน้าส่งเสริมและรณรงค์ให้เลิกดื่มแอลกอฮอล์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ตามบริบทและวิถีชีวิตของชาวชุมชนพื้นที่ภาคใต้ส่งผลให้เกิดครอบครัวเลิกเหล้า ชุมชนหันมาเห็นความสำคัญของการเลิกเหล้ามากขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษาที่เป็นโมเดลสำคัญต่อการสร้างสังคมสุขภาวะยั่งยืน

นายณัฐวัฒน์ กิตติธนาชูพันธ์ ผู้จัดการเครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนล่าง กล่าวว่า จังหวัดสงขลามีโรงกลั่นและโรงแช่สุราที่ได้รับอนุญาตถึง 72 แห่งมากที่สุดในภาคใต้ โดยเฉพาะในพื้นที่บ้านควนเหนือและบ้านหัวนอนวัด ที่เคยมีการผลิตสุราชุมชนจำนวนมาก ปัจจุบันมีการขับเคลื่อน “ชุมชนคนสู้เหล้า” ผ่านกิจกรรมหลากหลาย

(1) ชมรมคนหัวใจเพชร ก่อตั้งเมื่อปี 2564 เริ่มจากการเลิกเหล้าด้วยตนเองและชวนชุมชนร่วมงดเหล้าเข้าพรรษา

(2) กลุ่มพลังหญิงหัวใจเพชร เริ่มดำเนินการปี 2566 ต่อยอดจากกลุ่มแปรรูปอาหารในชุมชน มุ่งส่งเสริมอาชีพให้ผู้หญิงที่เลิกเหล้า โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตสินค้า เช่น พริกแกงใต้ กล้วยฉาบ ข้าวต้มใบพ้อ และขายในตลาดนัด เพิ่มรายได้และความมั่นคงในครัวเรือน

(3) กลุ่มเยาวชน "สานศิลป์ถิ่นใต้" ภายใต้การสนับสนุนของ “ศูนย์ฝึกศิลปินพื้นบ้าน” สร้างพื้นที่เรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม สะท้อนถึงพลังของชุมชนในการรวมพลังเพื่อพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ ด้วยแนวทางที่ผสาน “การงดเหล้า” เข้ากับการสร้างอาชีพ ฟื้นฟูวัฒนธรรม

“เรายังชวนร้านค้าหยุดขาย สร้างอาชีพทางเลือก รวมถึงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการลงนาม MOU กับหน่วยงานภาครัฐและวัฒนธรรม จัดงานบุญปลอดเหล้า พัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ และขยายต้นแบบ CBTx เพื่อฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติด พร้อมเตรียมจัดเวทีเชิดชู “คนหัวใจหิน เหล็ก เพชร” หลังออกพรรษา” นายณัฐวัฒน์ กล่าว

นางจวน อินทรีย์ คนหัวใจเพชรบ้านควนเหนือ อ.บางกล่ำ จ.สงขลา กล่าวว่า สามีเคยติดแอลกอฮอล์อย่างหนักถึงขั้นมีอาการลงแดง แต่ก็พยายามหยุดดื่ม ทำให้เกิดอาการหยุดเหล้าแบบทันทีจนส่งผลต่อร่างกายขาดสารอาหารที่เคยได้รับจนเกิดอาการสั่น หงุดหงิด อาละวาด หรือเห็นภาพหลอน ขณะที่ลูกชายผ่านการเสพยาเสพติดและได้สมัครเข้าร่วมโครงการ CBTx ชุมชนล้อมรักษ์ ส่วนตัวเองก็เคยติดแอลกอฮอล์เช่นกัน แต่มีจุดเปลี่ยนชีวิตที่คิดแค่อยากจะลดเหล้าจนเลิกเหล้าเด็ดขาดแล้วตอนนี้

ก่อนหน้านี้ไม่ว่าจะงานบุญหรือเทศกาลต่าง ๆ ในหมู่บ้านจะร่วมจ่ายเงิน 500 บาท เพื่อให้ดื่มได้ตลอดงาน ตั้งวงดื่ม 5-6 คนซึ่งวิถีการปฏิบัติของคนในหมู่บ้านคือ มางานต้องเลี้ยงเหล้า ทำให้มีอาการลักษณะเดียวกับสามีคือติดเหล้า เลิกไม่ได้ เคยหยุดแต่ลงแดงและอาละวาด กระทั่งปี 2564 ผู้ใหญ่บ้านมาชวนร่วมกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา ด้วยความเกรงใจจึงเข้าร่วมพองดได้ 3 เดือน

หลังจากนั้นก็กลับไปดื่มหนักอีกจนเกิดอาการหลับในขณะขับรถจักรยานยนต์กลับบ้าน จากนั้นจึงเลิกดื่มแอลกอฮอล์ทันที จนได้มาเป็นหนึ่งในทีมงานกลุ่มพลังหญิงหัวใจเพชร ที่ชักชวนให้คนในชุมชนเลิกดื่มแอลกอฮอล์

“ผลกระทบหนักสุดจากการดื่มแอลกอฮอล์ ปี พ.ศ.2565 เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตที่เลิกเหล้าอย่างถาวร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อดื่มเหล้าอย่างหนัก กลับบ้านไม่ได้นอนเพราะกลับมาจากงานเลี้ยง ก็ออกไปกรีดยางทันที เวลา 23:00 น. เพราะใช้คติว่างานบ้านไม่ให้ขาด งานราษฎร์ไม่ให้เสีย กรีดยางวันละ 10–12 ไร่ โดยขี่รถมอเตอร์ไซค์ไปทำงานคนเดียว หลังจากกรีดยางเสร็จรู้สึกเพลีย เพราะฤทธิ์เหล้ายังไม่สร่าง ขับรถจะกลับบ้าน เวลา 05:00 น. ขณะขับรถไปตามเส้นทางกลับบ้าน เกิดหลับใน รถมอเตอร์ไซค์ไหลไปข้างทาง ส่งผลให้นางจวนหมดสติ ไม่รู้สึกตัว มีคนเรียกรถโรงพยาบาลฉุกเฉินมารับ พอฟื้นอีกทีรู้สึกตัวตอนอยู่ที่โรงพยาบาลบางกล่ำแล้ว มีแผลบนใบหน้าและฟันหัก 1-2 ซี่ เหมือนตายแล้วเกิดใหม่ หลังจากนั้นมาก็เลยเลิกดื่มแบบเด็ดขาดใครชวนดื่มก็จะปฏิเสธ” นางจวน กล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

เหลี่ยมสภาสูง ‘น้ำเงิน’แผลงฤทธิ์ ‘1 ตุลาการ-1 กกต.’ บ่วงร้อน 2 สี

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เอสซี กางยุทธศาสตร์ ‘3B’ ฝ่าวิกฤติอสังหาไร้สัญญาณฟื้น

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สัมพันธ์'บ้านโล่สถาพรพิพิธ-บิ๊กเนมภท.' ไม่ใช่คนอื่นไกล?

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘ทักษิณ’ ประกาศ กลางวง พรรคร่วมฯ ‘เลือกตั้ง’ แล้ว จับมือกันต่อ

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

เปิดโปรไฟล์ (ว่าที่) เลขาฯ อย.-อธิบดีกรมการแพทย์-กรมวิทย์ คนใหม่

ฐานเศรษฐกิจ

เตือนระวัง! แมลงก้นกระดก พบคนป่วยโรคเบาหวานถูกกัด แผลบวมแดง ใจสั่น ถึงขั้นช็อก

TNN ช่อง16

"ปล่อยห้องรก" แค่ความขี้เกียจ หรือสัญญาณเตือน! ปัญหาสุขภาพจิต

TNN ช่อง16

10 สิทธิประโยชน์ใหม่ 'บัตรทอง 30 บาท' ปี' 2569 พร้อมปรับแนวจัดสรรเงิน

กรุงเทพธุรกิจ

"สมศักดิ์" กางแผน 3 ระยะพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์

ฐานเศรษฐกิจ

โชว์ผลงานสุดปัง '404 Error' เปิดมุมคิดนักออกแบบมืออาชีพ

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...